ทั้งนี้ รายงาน BTR1 ของประเทศไทย มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย 1) สภาวการณ์ของประเทศ 2) บัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยนำเสนอปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ระหว่างปี ค.ศ. 2000-2022 ซึ่งปี ค.ศ. 2022 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวม 278,039.73 ktCO2eq (รวมภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน) และมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 385,941.14 ktCO2eq (ไม่รวมภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน) 3) ความก้าวหน้าของการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย NDC ในปี ค.ศ. 2021 - 2022 ประเทศไทยมีการลดก๊าซเรือนกระจก รวม 60.33 MtCO2eq และ 65.23 MtCO2eq ตามลำดับ สำหรับความก้าวหน้าในการดำเนินงานตาม NDC ภายใต้มาตรา 4 ของความตกลงปารีส ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานที่ร้อยละ 30.46 เมื่อเทียบกับ BAU และการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศทั้งสิ้น 1,916 tCO2eq ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ 4) ผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และนำร่องด้านการปรับตัว 6 สาขา จำนวน 6 จังหวัด และ 5) การเงิน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และข้อจำกัด ช่องว่าง ความต้องการและการสนับสนุนที่ได้รับ วงเงินประมาณ 38,668.47 ล้านบาท หรือ 1,102.92 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม