จากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงแรงงาน พบว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยมีแรงงานข้ามชาติ ประมาณ 700,000 คน เกือบร้อยละ 40 เป็นแรงงานหญิง[1] ที่อาศัยอยู่ในที่พักชั่วคราวหรือที่เรียกกันว่าแคมป์คนงานก่อสร้าง โดยครอบครัวส่วนมากมักมีเด็กที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะพื้นฐานที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองเด็ก การศึกษา หรือบริการด้านสาธารณสุข
"การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับชุมชนคือแรงผลักดันที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของ DKSH โดยเราเชื่อว่าเด็กทุกคนสมควรได้รับการสนับสนุนและโอกาสเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเหมาะสม เรารู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิบ้านเด็กในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมสร้างโอกาสที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับเด็กและครอบครัว" นางสาวมธุกร ศัลยพงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายทรัพยากรบุคคล DKSH ประเทศไทย กล่าว
ความร่วมมือระหว่าง DKSH และมูลนิธิบ้านเด็ก ไม่เพียงมอบเงินสนับสนุนมูลค่ามากกว่า 8,100,000 บาท และบริจาคสิ่งของจำเป็นให้แก่เด็กและครอบครัวในชุมชนแออัดและแคมป์ก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยในการสนับสนุนโครงการและบริการของมูลนิธิฯ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชนตลอดระยะเวลา 1 ปี
เพื่อผลักดันให้ความมุ่งมั่นนี้ให้เป็นจริง พันธมิตรของ DKSH จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว "เราขอขอบคุณพันธมิตรที่ร่วมส่งมอบสิ่งของจำเป็นเพื่อสนับสนุนโครงการนี้เป็นอย่างยิ่ง ทุกการสนับสนุนของท่านถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับเด็กและครอบครัว ร่วมกัน เราจะยังคงเดินหน้าส่งต่อความช่วยเหลือและพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ต่อไป" นายสหชัย วิบูลย์อุทัย รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกฎหมาย DKSH ประเทศไทย กล่าว
กิจกรรมเพื่อสังคมของ DKSH ยังสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอันยาวนานของบริษัทฯ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นกำลังสนับสนุนให้กับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น อาทิ โครงการ 'Right to Play' ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กผ่านกีฬาและการเล่น รวมถึงโครงการบริจาคหนังสือเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเพิ่มความสามารถในการอ่านเขียน อันล้วนเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างสรรค์อนาคตที่สดใสให้กับชุมชนทั้งสิ้น
"ความร่วมมือนี้ นับเป็นสัญลักษณ์ของการผนึกกำลังระหว่างองค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กในชุมชนเปราะบางจะได้รับการสนับสนุนที่จำเป็นต่อการมีชีวิตที่ดีและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยการสนับสนุนจาก DKSH เราจึงสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต มอบโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับเด็กเหล่านี้ได้" นายเซบาสเตียน มอร์ เชอร์วาลิเย่ร์ ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก กล่าว
DKSH เตรียมเดินหน้าขยายความร่วมมือกับมูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก ผ่านการนำเสนอโครงการใหม่ ๆ ที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและสามารถเข้าถึงได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนท้องถิ่นให้ดีขึ้นอย่างแท้จริง
[1] Bolstering the efforts to ensure decent working conditions for women migrants in Thai construction sector
ที่มา: Vero