นอกจากนี้ ได้กำหนดรูปแบบและกำหนดรายการประกอบแบบที่เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยง เพื่อยกระดับมาตรฐานการก่อสร้างและการออกแบบ เช่น การสำรวจเก็บข้อมูลและก่อสร้างพื้นผิวผิวจราจรของถนนและสะพานในรูปแบบกลุ่มเมฆใน 3 มิติ (3D Point Cloud) ด้วยเทคโนโลยี LiDAR, กำหนดให้ทดสอบวัดค่าดัชนีความขรุขระสากล (International Roughness Index, IRI) หลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ, การจัดทำ Asbuilt drawing ด้วยระบบ BIM และจัดทำคู่มือบำรุงรักษา ตรวจสอบ สะพานตามวงรอบ เป็นต้น ศึกษาติดตั้งอุปกรณ์สำหรับเฝ้าระวังรถน้ำหนักบรรทุกบนสะพาน พร้อมระบบตรวจวัดสุขภาพสะพานเบื้องต้น เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันความเสียหายของถนนและสะพานที่เกิดจากการบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด สำรวจทรัพย์สินที่เป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของ กทม. เช่น ถนน สะพาน สำหรับใช้ตรวจสอบสภาพโครงสร้างถนนและสะพาน เป็นต้น กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตหน่วยงานสาธารณูปโภคที่ขออนุญาตก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยการก่อสร้างต้องมีมาตรฐานการก่อสร้างและมีความปลอดภัย จัดซ่อมเชิงลาดคอสะพานที่มีการทรุดตัว เนื่องจากโครงสร้างสะพานวางอยู่บนเสาเข็ม ส่วนถนนจะทรุดตัวตามอัตราการทรุดตัวปกติของชั้นดินเหนียว นอกจากนี้ ได้จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางที่มีความเสี่ยง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ถนนที่ปลอดภัยผ่านเพจเฟซบุ๊ก "สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร" รวมทั้งเพิ่มช่องทาง การแจ้งเหตุการณ์ หรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน Traffy Fondue
ที่มา: กรุงเทพมหานคร