พาลูกเที่ยวอย่างไร....ให้ปลอดภัยไร้โรค

ศุกร์ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๘ ๑๐:๕๓
วันเด็กแห่งชาติและวันตรุษจีนกำลังจะมาถึงนี้ หลายครอบครัวอาจจะเริ่มวางแผนพาเด็ก ๆ เที่ยวกันอยู่แน่ ๆเลย การเดินทางไปเที่ยวไม่ว่าจะใกล้ ๆ หรือการไปต่างจังหวัด แม้กระทั่งไปต่างประเทศ คุณพ่อคุณแม่ย่อมมีความกังวลทั้งการเตรียมตัว การเตรียมสิ่งของที่มีความจำเป็นสำหรับลูกน้อย ดังนั้นสิ่งที่จะต้องเตรียมมีอะไรบ้าง เพื่อให้การพาลูกเที่ยวกับครอบครัว ปลอดภัยไร้โรค บทความให้ความรู้โดย พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ (ว 34129) กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา ศูนย์สุขภาพเด็ก (Children's Health Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ นำไปสู่การเตรียมตัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพราะการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสุขภาพใจที่มีความพร้อม จะทำให้เราเที่ยวได้สนุกมากยิ่งขึ้น
พาลูกเที่ยวอย่างไร.ให้ปลอดภัยไร้โรค

การเตรียมสุขภาพ การเตรียมร่างกาย คือสิ่งสำคัญที่สุดของการไปเที่ยว

  • แนะนำให้เริ่มการเดินทางได้หลังเด็กอายุ 1 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มรู้เรื่อง และได้รับวัคซีนป้องกันโรคอย่างครบถ้วนเหมาะสมบ้างแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัคซีนไอพีดี ป้องกันปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ , วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ รวมถึงวัคซีนป้องกันโควิด เป็นต้น
  • การเดินทาง
  1. การเดินทางด้วยรถยนต์ นอกจากการตรวจเช็คสภาพยานพาหนะแล้ว เด็กจำเป็นต้องนั่ง Car seat เพื่อความปลอดภัยสูงสุด การเดินทางที่ต้องใช้เวลานาน ๆ หากมีการแวะพักระหว่างทางได้ จะช่วยลดความเหนื่อยล้า ทั้งของคุณพ่อคุณแม่ และ ลูกน้อยได้
  2. การเดินทางด้วยเครื่องบิน โดยเฉพาะแบบ Long Flight ควรเลือกเวลาเดินทางที่ครอบคลุมช่วงเวลาการนอนของลูกน้อย เพื่อให้เด็กและคุณพ่อคุณแม่ ได้รับการพักผ่อนไปพร้อม ๆ กัน (อาจพิจารณาการใช้ยาหยอดหรือยาน้ำที่ช่วยลดอาการคัดแน่นจมูก แน่นหูได้ในการเดินทางด้วยเครื่องบิน)

หากมีสมาชิกในครอบครัวสงสัยว่ามีความเจ็บป่วยไม่สบาย ควรไปพบแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างเหมาะ และคำแนะนำเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติ ข้อควรระวังของการเดินทางเพิ่มเติม

การเตรียมความพร้อมของลูก และผู้ปกครอง

  • ตรวจสอบสภาพอากาศของสถานีปลายทางที่จะไป เพื่อให้แน่ใจว่าจะมี ฝนตกฟ้าคะนอง อากาศร้อน หรืออากาศหนาว จะได้เตรียมเสื้อผ้าของคุณพ่อคุณแม่ และลูกน้อยให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ในปัจจุบันมีลักษณะเสื้อผ้าเด็กที่สามารถใส่ได้ในทุกสภาพอากาศ ทั้งควบคุมอุณหภูมิและระบายอากาศลดความอับชื้นไปได้พร้อม ๆ กันได้ ซึ่งเหมาะสมสำหรับการใส่เดินทางในทุกโอกาส

ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็ก โดยเฉพาะเด็กทารก ไปในสถานที่แออัดหรือสถานที่ที่มีฝุ่นเยอะ ๆ ดังนั้นจึงควรเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่แออัด ผู้คนไม่เยอะ เน้นที่ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี หรือสถานที่กลางแจ้ง

  • หากการไปเที่ยวของเราเป็นสถานที่กลางแจ้งที่มีทุ่งหญ้า สวนดอกไม้ หรือป่าเขา น้ำตก อาจจะมีเรื่องของแมลงรบกวน แมลงสัตว์กัดต่อย ผึ่ง ต่อ แตน มด ไปจนถึงยุง ซึ่งอาจทั้งก่อความรำคาญ และทำให้เกิดอาการแพ้ อาการแพ้รุนแรงได้ พึงควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
  • แนะนำให้มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี สำหรับเด็ก ๆ มักจะได้รับการตรวจสุขภาพและพัฒนาการไปควบคู่กับการรับวัคซีนเป็นประจำอยู่แล้ว ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจ และอาจขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความพร้อมในการเดินทางของลูกจากกุมารแพทย์ได้ด้วย

การเตรียมอาหาร อาหารว่าง น้ำ และยารักษาโรค ตามความเหมาะสม

  • ในเด็กทารก ที่กินนมแม่ กินนมเป็นหลักนั้น ต้องพกพาอุปกรณ์เก็บนม และภาชนะที่สะอาดพกพาได้ง่าย อาจต้องเตรียมนมมากกว่าปกติ เผื่อฉุกเฉินไว้ด้วย
  • สำหรับเด็กที่มีประวัติการแพ้อาหาร อาจจำเป็นต้องพกพาอาหาร อาหารสำเร็จรูป หรือ เครื่องปรุงติดตัวไปเอง
  • หากจำเป็นต้องรับประทานอาหารนอกสถานที่ ควรเลือกร้านอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัย (ในปัจจุบัน ร้านอาหารหลายร้าน มีเมนูอาหารแจ้งรายการอาหารที่แพ้)
  • ในเด็กเล็ก หากสามารถลดความเสี่ยงเรื่องการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นได้ เช่น การพกกระติกน้ำ ช้อนส้อม ส่วนตัว ได้จะดีที่สุด
  • ยารักษาโรคกลุ่มยาสามัญ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ น้ำเกลือล้างจมูก ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง ยาทาภายนอก และยารักษาโรคประจำตัว จำเป็นต้องพกพาในการเดินทาง

คำแนะนำจากคุณหมอ

  1. 1. ก่อนออกจากบ้าน เตรียมเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
  2. 2. เขียนเบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลการติดต่อผู้ปกครอง ใส่ไว้กระเป๋าเสื้อหรือติดไว้กับเสื้อผ้าของเด็ก ในกรณีสุดวิสัย ที่เกิดเหตุพลัดหลงกันขณะเที่ยวงาน เจ้าหน้าที่หรือผู้พบเจอ เด็กจะได้ ติดต่อผู้ปกครองได้
  3. 3. ขณะไปเที่ยว แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ระวังไม่ให้เด็ก หยิบจับของตามพื้นที่ต่าง ๆ แล้วใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก เพราะมือเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน การรับประทานอาหาร โดยไม่ใช้ช้อนกลาง ดังนั้นจึงควรพกกระติกน้ำส่วนตัวของเด็กทุกครั้ง
  4. 4. ทุกคนควรล้างมือบ่อย ๆ ก่อนและหลังกินอาหาร ด้วยน้ำและสบู่ อาจพกเจลแอลกอฮอลล์ หรือสเปรย์ทำหสความสะอาดมือติดตัวไปด้วยทุกครั้ง
  5. 5. จูงลูกไว้ตลอดเวลา เมื่อไปในสถานที่ที่มีคนหนาแน่น เช่น ศูนย์การค้า หรือแหล่งท่องเที่ยวให้ลูกใส่เสื้อผ้า

ง่าย ๆ สบาย ๆ อย่าให้ใส่เครื่องประดับ หรืออย่าถือของมีค่า เช่น โทรศัพท์หรือไอแพด

  1. 6. เมื่อกลับถึงบ้านหรือที่พัก ควรอาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เพื่อสุขอนามัยที่ดีของทุกคนในครอบครัว

สุดท้าย...หมอขอให้ ทุก ๆ ครอบครัวได้มีช่วงเวลาของการท่องเที่ยวที่มีความสุขสนุกสนาน ปลอดภัยเดินโดยมีสวัสดิภาพ และมีความทรงจำดี ๆ ร่วมกันเยอะๆ กับคนในครอบครัวตลอดช่วงวันเด็กแห่งชาติ และวันตรุษจีนนี้ กรณีหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Children's Health Center) โรงพยาบาลนวเวช โทร. 1507 Line: @navavej

ที่มา: โรงพยาบาลนวเวช

พาลูกเที่ยวอย่างไร.ให้ปลอดภัยไร้โรค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๐ อินโฟเพอร์เซ็ปต์แต่งตั้ง บริษัท ที เอ อินฟินิตี้ จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทย
๑๔:๐๕ 5 เทคนิคสร้างเครือข่ายอาชีพเพื่อเพิ่มโอกาสงานในฝัน
๑๓:๐๗ QTC ส่ง บ.ย่อย QTCGP ร่วมมือ MOVE EV X ลุยเปิดสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
๑๓:๐๐ มทร.ล้านนา ปลื้มบัณฑิตมีงานทำร้อยละ 73.38
๑๓:๐๒ SAM ชูไฮไลท์นำที่ดินแปลงใหญ่ปทุมธานี เกือบ 60 ไร่ มูลค่ากว่า 500 ล. ให้นักลงทุนที่สนใจและผู้ที่ต้องการทรัพย์เพื่ออยู่อาศัย ร่วมประมูลเดือน
๑๓:๔๐ Harley-Davidson(R) เผยโฉมรถมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ Street Glide(R) Ultra Pan America(R) 1250 ST และตระกูล Cruiser โฉมใหม่ 6
๑๒:๕๖ เพลิดเพลินกับช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายและจิตใจที่สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก
๑๒:๑๔ ท๊อป จิรายุส ร่วมประชุม World Economic Forum 2025 ถกอนาคตการเงินโลกสู่รูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล-โทเคนดิจิทัล
๑๒:๒๑ ดีป้า เปิดบ้านหลังใหม่ พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทย 'depa of the Future' ในงาน The 8th Founding Anniversary of
๑๒:๓๘ SNPS เปิดบ้านโชว์นวัตกรรม คณะกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 'ตอบรับนโยบายการใช้ยาสมุนไพร'