นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า "กระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้ประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เพื่อคุ้มครองสินค้าท้องถิ่นชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าในแต่ละท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ตลอดจนส่งเสริมการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค และขยายช่องทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้า GI เป็นสินค้าสำคัญที่ขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาล ล่าสุด กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียน "หอยนางรมท่าโสม" เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 4 ของจังหวัดตราด ต่อจากสับปะรดตราดสีทอง ทุเรียนชะนีเกาะช้าง และทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้"
"หอยนางรมท่าโสม" เดิมพบในแหล่งน้ำอ่าวท่าโสมบริเวณชายฝั่งป่าชายเลนจังหวัดตราด เกาะติดกับรากไม้โกงกาง และก้อนหิน ต่อมาได้มีการนำท่อซีเมนต์ปักลงในดินเลนแถบพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดตราด พบว่ามีลูกหอยนางรมเกาะอาศัยเป็นจำนวนมาก รวมกับสภาพน้ำบริเวณปากแม่น้ำเวฬุที่มีทั้งน้ำทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย ไหลมาบรรจบกัน ทำให้มีระบบการไหลเวียนน้ำที่ดี อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแพลงก์ตอน จึงทำให้หอยนางรมท่าโสมมีคุณภาพดี เนื้อสีขาวครีม อวบอ้วน และเนื้อแน่นคงรูปเต็มฝาหอย รสสัมผัสนุ่ม หวานฉ่ำ มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ จึงทำให้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค โดยพื้นที่การเลี้ยงหอยนางรมท่าโสมที่ขึ้นทะเบียน GI ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านท่าโสม บ้านละมีบ บ้านสลัก และบ้านอ่างกระป่อง ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
นายนภินทร กล่าวทิ้งท้าย หลังจากประกาศขึ้นทะเบียน GI แล้ว กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญายังคงเดินหน้าส่งเสริม และสนับสนุนสินค้า GI แบบครบวงจรผ่านการควบคุมคุณภาพสินค้า เพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าหอยนางรมท่าโสม รวมทั้งส่งเสริมการตลาด เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน และเกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป
"พาณิชย์" เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ตัวใหม่ "หอยนางรมท่าโสม" สินค้าคุณภาพดี เนื้อแน่น อวบอ้วน รสสัมผัสนุ่ม หวานฉ่ำ เป็นที่นิยมและรู้จักกันอย่างกว้างขวาง สร้างชื่อเสียงและรายได้ให้ชุมชนในจังหวัดกว่า 190 ล้านบาทต่อปี
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า "กระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้ประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เพื่อคุ้มครองสินค้าท้องถิ่นชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าในแต่ละท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ตลอดจนส่งเสริมการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค และขยายช่องทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้า GI เป็นสินค้าสำคัญที่ขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาล ล่าสุด กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียน "หอยนางรมท่าโสม" เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 4 ของจังหวัดตราด ต่อจากสับปะรดตราดสีทอง ทุเรียนชะนีเกาะช้าง และทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้"
"หอยนางรมท่าโสม" เดิมพบในแหล่งน้ำอ่าวท่าโสมบริเวณชายฝั่งป่าชายเลนจังหวัดตราด เกาะติดกับรากไม้โกงกาง และก้อนหิน ต่อมาได้มีการนำท่อซีเมนต์ปักลงในดินเลนแถบพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดตราด พบว่ามีลูกหอยนางรมเกาะอาศัยเป็นจำนวนมาก รวมกับสภาพน้ำบริเวณปากแม่น้ำเวฬุที่มีทั้งน้ำทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย ไหลมาบรรจบกัน ทำให้มีระบบการไหลเวียนน้ำที่ดี อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแพลงก์ตอน จึงทำให้หอยนางรมท่าโสมมีคุณภาพดี เนื้อสีขาวครีม อวบอ้วน และเนื้อแน่นคงรูปเต็มฝาหอย รสสัมผัสนุ่ม หวานฉ่ำ มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ จึงทำให้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค โดยพื้นที่การเลี้ยงหอยนางรมท่าโสมที่ขึ้นทะเบียน GI ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านท่าโสม บ้านละมีบ บ้านสลัก และบ้านอ่างกระป่อง ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
นายนภินทร กล่าวทิ้งท้าย หลังจากประกาศขึ้นทะเบียน GI แล้ว กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญายังคงเดินหน้าส่งเสริม และสนับสนุนสินค้า GI แบบครบวงจรผ่านการควบคุมคุณภาพสินค้า เพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าหอยนางรมท่าโสม รวมทั้งส่งเสริมการตลาด เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน และเกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป
ที่มา: กรมทรัพย์สินทางปัญญา