สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย ร่วมประชุมผู้บริหารระดับสูง (OIC Meets CEO 2025) ครั้งที่ 1 เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยปี 2568

พฤหัส ๑๖ มกราคม ๒๕๖๘ ๑๗:๑๓
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย (OIC Meets CEO 2025) ครั้งที่ 1/2568 ร่วมกับนายสาระ ล่ำซำ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย พร้อมด้วย ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ผู้บริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ผู้บริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทย และผู้บริหารบริษัทประกันภัย เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมมัฆวานรังสรรค์ ชั้น 3 สโมสรทหารบก (วิภาวดีรังสิต) กรุงเทพมหานคร
สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย ร่วมประชุมผู้บริหารระดับสูง (OIC Meets CEO 2025) ครั้งที่ 1 เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยปี 2568

โดยเริ่มต้นในช่วงเช้าผู้บริหารสำนักงาน คปภ. และผู้บริหารภาคธุรกิจประกันภัย เข้าสู่เวทีการประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย (OIC Meets CEO 2025) ครั้งที่ 1/2568 โดยมีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน ตามข้อสรุปที่ประชุม (OIC Meets CEO 2024) ครั้งที่ 2/2567 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ณ ศูนย์การประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยมีความคืบหน้าของการดำเนินการทั้ง 9 ประเด็น ดังนี้ 1.ความคืบหน้าการจัดทำ Examination Form โดยมีการสื่อสารกรอบระยะเวลาการดำเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อทำความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมในการจัดทำ Examination Form และกำหนดกรอบระยะเวลาการประชุมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับรองการตอบและการนำส่ง Examination Form ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด 2. ความคืบหน้าโครงการ Ignite Finance การจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงิน ที่จะดึงดูดผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน เข้ามาในประเทศไทย ส่งผลให้มีทรัพยากรด้านการเงินเพิ่มขึ้น และเกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยสำนักงาน คปภ. ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายและยกร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงินแล้วว่าบริษัทประกันภัยหรือบริษัทประกันภัยต่อที่จัดตั้งในโครงการ สามารถโอนความเสี่ยงหรือทำสัญญาประกันภัยต่อกับบริษัทประกันภัยในประเทศได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจสำหรับธุรกิจประกันภัยในประเทศ 3. การประสานความร่วมมือส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยให้แก่ประชาชนและภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยจัดทำแนวทางการส่งเสริมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์/การจัดกิจกรรม รวมถึงการจัดทำสื่อให้ความรู้ด้านการประกันภัย เพื่อคณะทำงานจะได้ดำเนินการกำหนดเนื้อหาและรูปแบบของคอนเทนต์ (Content) และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันและ/หรือแบ่งสรรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อไป

4. การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีบทบาทในการปรับปรุงและพัฒนาข้อสอบและการยกระดับมาตรฐานความรู้และหลักสูตรการอบรม โดยสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทยนำเสนอแผนงานและความคืบหน้าในการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาข้อสอบ ในส่วนของการยกระดับมาตรฐานความรู้และหลักสูตรการอบรม โดยสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทยนำเสนอแผนงานและความคืบหน้าในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการอบรม 5. การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขอรับ/ขอต่อใบอนุญาตตัวแทนและนายหน้าประกันภัยมีการพัฒนากระบวนการดำเนินงานและศึกษาแนวทางที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาตามข้อเสนอภาคธุรกิจ อาทิ การพัฒนากระบวนการออกใบอนุญาตฯ ให้สามารถได้รับใบอนุญาตฯ ได้ทันทีหลังจากผ่านการสอบและการอบรมและการเปลี่ยนสถานะใบอนุญาตสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตนายหน้าประกันภัยเป็นใบอนุญาตตัวแทนประกันภัย 6. ความคืบหน้าการนำส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ IBS Non-Life และ IBS Life มีการตรวจสอบและควบคุมความถูกต้อง ครบถ้วน ของคุณภาพข้อมูลที่นำส่งเข้ายังระบบ IBS เพื่อร่วมกันยกระดับการใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมประกันภัยอย่างต่อเนื่อง

7. ความคืบหน้าการพัฒนาการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับภาคการเงิน (Open Data for Consumer Empowerment) มีแผนการพัฒนาการให้บริการการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เริ่มจากการเชื่อมโยงข้อมูลภายในภาคประกันภัย (Open Insurance) ในปี 2568 จากนั้นจึงจะขยายการเชื่อมโยงใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีในภาคส่วนอื่น ๆ (Open Data) ในปี 2569 ต่อไป ในขณะเดียวกันภาคธุรกิจร่วมกับสำนักงาน คปภ. ในการกำหนดรายละเอียดในด้านต่าง ๆ เช่น ด้าน Use Case ด้านชุดข้อมูล เป็นต้น สำหรับการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจประกันภัย โดยสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทยจะมีการจัดประชุมหารือภายในเป็นประจำทุกเดือนและจะมีการประชุมหารือร่วมกับสำนักงาน คปภ. เป็นประจำทุกสองเดือน 8. การแก้ไขประกาศ คปภ. ว่าด้วยการประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย/ชีวิต ทั้งนี้มีการแก้ไขประกาศ คปภ. ว่าด้วยการประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย/ชีวิต และ 9. กรณีมีกลุ่มบุคคลหรือบุคคลเสนอขายประกันภัยให้กับบริษัทประกันภัยต่างประเทศที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย ทั้งนี้ให้บริษัทประกันภัยกำกับดูแลตัวแทน/นายหน้าประกันภัย กรณีชักชวน แนะนำ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยในต่างประเทศหรือกับบุคคลใด ๆ นอกจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต/วินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และมีโทษทางอาญา รวมถึงหากพบการกระทำความผิด ให้บริษัทประกันภัยสอบสวนข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ก่อนจะนำส่งให้สำนักงาน คปภ. เพื่อดำเนินการต่อไป

ต่อมาที่ประชุมได้ร่วมหารือโดยแบ่งประเด็นการประชุมออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการหารือโดยมองย้อนกลับไป (Backward Looking) ว่าที่ผ่านมามีประเด็นที่ยังต้องดำเนินการและติดตามความคืบหน้าต่อไป ซึ่งมี 2 ประเด็น คือ 1. ความคืบหน้าการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าด้วยระบบ EWS รวมถึงการเปิดเผยผลการจัดกลุ่มบริษัทประกันภัยตามความเสี่ยง และ 2. การจัดทำมาตรฐานกรอบระยะเวลาสำหรับการให้บริการ Service Level Agreement (SLA) ของธุรกิจประกันภัย

ส่วนที่สอง เป็นการหารือในประเด็นที่เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน (Current Situation) โดยมี 3 ประเด็นที่ต้องติดตามคือ 1. ความคืบหน้าแนวทางการปรับปรุงประกาศ คปภ. ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่น 2.การยกระดับประสิทธิภาพกลไกการทำงานของระบบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และ 3. ระบบฐานข้อมูลฉ้อฉลประกันภัยหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีลักษณะเป็นการฉ้อฉลประกันภัย

ส่วนที่สาม เป็นการหารือในประเด็นที่มองไปข้างหน้า (Forward Looking) โดยมี 8 ประเด็นที่สำนักงานคปภ. และภาคเอกชนร่วมกันหารือ ประกอบด้วย 1. การกำกับบริษัทประกันภัยแบบร่วมกลุ่ม (Group Wide Supervision) ระดับ Solo Consolidation ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติกรรมการ แนวทางการติดตามการถือหุ้นธรรมาภิบาลการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน 2. แผนการทบทวนหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย 3. การยกระดับการกำกับดูแลและการตรวจสอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง Enterprise Risk Management and Own Risk Solvency Assessment (ERM-ORSA) 4. แนวทางการพัฒนาบุคลากรประกันภัย งานวิจัย และการพัฒนานวัตกรรมของอุตสาหกรรมประกันภัยไทยประจำปี 2568 และการบูรณาการความร่วมมือกับภาคธุรกิจประกันภัย สมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5.แนวทางการแก้ไขปัญหาค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ 6. ยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของสาขาบริษัทประกันภัยในส่วนภูมิภาค สร้างความมั่นใจที่ยั่งยืนด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม 7. การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อร้องเรียนและระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัย และ8. การเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินผลการตรวจสอบความเสี่ยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและกรอบการประเมินความพร้อมด้านการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ (CRAF)

สำหรับการประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย OIC Meets CEO 2025 ครั้งที่ 1 ในปีนี้ สำเร็จลุล่วง และได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจประกันภัยเป็นอย่างดี ถือเป็นเวทีระดมความคิดเห็นและความร่วมมือระหว่างสำนักงาน คปภ. กับ ภาคธุรกิจประกันภัย เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัยไทยในปี 2568 อันจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและการเติบโตอย่างยั่งยืนของระบบประกันภัยไทยอย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ ม.ค. วว. ร่วมกับพันธมิตรเปิดศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ต.เหมืองแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
๑๗ ม.ค. กระแสดีเกินคาด! WOW Festival 2025 ปรากฏการณ์ใหม่ ปลุกพลังคน เติมเต็มพลังเมือง พร้อมขนเซอร์ไพรส์รอทุกคนถึง 19 ม.ค.
๑๗ ม.ค. นั่งชิลๆ จิบน้ำชายามบ่ายพร้อมขนมเลิศรส ณ ที แอนด์ ทิปเปิ้ล ชั้น 23
๑๗ ม.ค. CPW จัดโปรเด็ด!! ช้อปสินค้าไอทีลดหย่อนภาษีสูงสุด 30,000 บาท
๑๗ ม.ค. LDC เดินหน้าปี 2568 บุกตลาดภาคใต้ เตรียมเปิด 3 สาขาใหม่ ย้ำมาตรฐานศูนย์ทันตกรรม โมเดลโรงพยาบาลขนาดเล็ก
๑๗ ม.ค. เชอร์วู้ดฯ ร่วมกับ มูลนิธิคุณแม่ลี้กิมเกียวฯ แจกนมฮอกไกโด ถั่วมารูโจ้ ส่งความสุข ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2568
๑๗ ม.ค. ขายบัตรแล้ว! นิตยสารแพรว พร้อมเสิร์ฟความน่ารักของ เก่ง น้ำปิง ในงาน Praew Meet Read Into The Wild with Keng
๑๗ ม.ค. ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ สุขสมหวัง ร่ำรวย เฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกับอาหารจีนเลิศรส ณ ห้องอาหารจีนแทพเพสทรี ใน 3 โรงแรมชั้นนำเครือเคป แอนด์
๑๗ ม.ค. เตรียมจองซื้อ หุ้นกู้ดิจิทัลบางจาก อายุ 4 ปี ดอกเบี้ย 3.15% บนแอปฯ เป๋าตัง ครั้งแรกกับการให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นกู้ดิจิทัลบางจากจองซื้อก่อน ดีเดย์ 7-13 ก.พ. 68
๑๗ ม.ค. วิลล่า เทวา รีสอร์ท โฮเทล กรุงเทพฯ ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม: ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 5 จาก 1,257 โรงแรมในกรุงเทพฯ บนเว็บไซต์