รวมถึงแรงกดดันในการดำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนมากขึ้นทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถเลื่อนแผนงานในการสร้างความยั่งยืนได้อีกต่อไป อาทิ การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงาน รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้และการลงทุนในแหล่งพลังงานทดแทน แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาดเหล่านี้ ทำให้ช่องว่างทางดิจิทัลขยายกว้างขึ้นส่งผลให้การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมกลายเป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับธุรกิจ บริษัทที่เคยลงทุนในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลมาก่อนสามารถบริหารจัดการการทำงานจากระยะไกลได้ดีกว่า ในขณะที่บริษัทอื่นๆ ต่างกำลังเร่งปรับสู่ดิจิทัลเพื่อตามให้ทันทำให้การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลกลายเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นสำหรับธุรกิจ เพราะ "องค์กรเหล่านี้กำลังหาโซลูชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมาใช้รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและผลการดำเนินธุรกิจ แม้การเข้าถึงข้อมูลจะเป็นเรื่องสำคัญมาโดยตลอดแต่ปริมาณและความซับซ้อนในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรงงานที่กระจายอยู่ในหลายพื้นที่และมีอุตสาหกรรมหลายประเภท"วิจัยโดย OMDIA และ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
อุปสรรคในการทรานส์ฟอร์ม
แม้การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ จะช่วยเพิ่มผลลัพธ์ทางธุรกิจ ให้ประสิทธิภาพด้านการใช้ทรัพยากร และให้คุณภาพที่ดีขึ้นก็ตาม แต่ยังมีอุปสรรคที่ขัดขวางความก้าวหน้าก่อนจะได้มาซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้ ในหลายประเด็นด้วยกัน
- ความเข้าใจในเทคโนโลยี
- ต้นทุน ทั้งในส่วนของตัวเทคโนโลยีเองและการนำไปใช้งาน
- การเลือกพันธมิตรจากภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญ
- การได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากทั้งองค์กร
เข้าใจถึงลำดับความสำคัญทางธุรกิจ
ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยแผนงาน ในการพัฒนากลยุทธ์การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลผู้ใช้งานควรต้องระบุให้ได้ว่าโครงการนั้นนำด้วยอะไร การดำเนินงานหรือเทคโนโลยี จากนั้นค่อยมองหาพันธมิตรที่เหมาะสมและพัฒนาแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนว่าตัวเอง (หรือระบบนิเวศของพันธมิตร) จะสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของผู้ผลิตด้วยโซลูชั่นเทคโนโลยีอย่างไรผู้นำต้องกำหนดความต้องการที่เร่งด่วนที่สุดขององค์กรและมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจให้ตรงจุดก่อนเป็นอันดับแรกก่อนที่จะพิจารณาเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากนั้นจึงเริ่มเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการแยกแต่ละส่วนเพื่อสร้างความยืดหยุ่น สร้างผลผลิตที่ดี และลดการปล่อยมลพิษสร้างทีมเพื่อเป็นผู้นำและดูแลการทรานส์ฟอร์ม ในโลกแบบไฮบริดทุกวันนี้ แต่ละแผนกในองค์กรมักไม่ค่อยเข้าใจความท้าทายของแผนกอื่นๆการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างแผนก (เช่น แผนก IT, แผนกปฏิบัติการ,ผู้บริหารระดับสูง, และฝ่ายทรัพยากรบุคคล)
การสื่อสารที่ชัดเจน การฝึกอบรมและการให้การสนับสนุนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นให้แก่พนักงานและต้องเชื่อมั่นในเทคโนโลยีใหม่ๆ'คน' สำคัญกว่าเทคโนโลยี ซึ่งทีมงานต้องมีความเชื่อมั่นและมุ่งมั่นในการใช้โซลูชั่นดิจิทัล แม้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)ในช่วงแรกอาจจะยังไม่สูงนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป และมีประสบการณ์มากขึ้น การทรานส์ฟอร์มจะมีประสิทธิภาพและสร้างนวัตกรรมได้มากขึ้นส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนที่เร็วขึ้นปัจจัยความสำเร็จที่เหนือกว่า ROIโครงการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลหลายโครงการอาจเกิดขึ้นพร้อมกันในช่วงเวลาใดก็ได้ คุณสามารถติดตาม จัดการ และสื่อสารผลลัพธ์ของแต่ละโครงการได้อย่างชัดเจนโดยให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดด้านการปฏิบัติงานสองหรือสามประการ เช่น จำนวนสินทรัพย์ที่เชื่อมต่อกัน หรือจำนวนผู้ที่ผู้ใช้งานสม่ำเสมอตัวชี้วัดทางการเงินก็มีความสำคัญ แต่ต้องพิจารณาผลกระทบเชิงคุณภาพด้วยเช่นกัน โครงการต่างๆสามารถส่งผลกระทบต่อความยั่งยืน ความยืดหยุ่นและความปลอดภัยทางไซเบอร์ของคุณ ในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
- เพิ่มความสามารถในการมองเห็นที่มากขึ้น
- ต้นทุนด้านไอที
- ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากองค์กร
- การบริหารจัดการระบบเดิม
- การยกระดับทักษะของพนักงาน (เพื่อดึงดูดบุคลากรใหม่)
ตัวชี้วัดที่ชัดเจนและเรียบง่าย จะช่วยให้องค์กรของคุณติดตามต้นทุนและข้อมูลต่างๆ เพื่อให้เข้าใจความก้าวหน้าของงานได้อย่างเต็มที่พิจารณาทิศทางและการสนับสนุนจากภายนอก
โครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสำหรับอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จมักเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพทีละน้อยและมอบผลประโยชน์ที่ต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าโดยรวม ผู้นำควรหลีกเลี่ยงการปรับปรุงง่ายๆ เพียงเพื่อผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)หรือการยึดติดกับกรอบเวลาที่เข้มงวดเกินไป แนะนำให้ใช้แนวทางแบบ 'แพลตฟอร์ม' ซึ่งเริ่มจากขนาดเล็กและขยายเพิ่มเติมได้พร้อมกับการทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง ให้การสนับสนุน และให้ความยืดหยุ่น แม้ว่าบริษัทจะเข้าใจการดำเนินงานในองค์กรแต่บ่อยครั้งขาดมุมมองจากภายนอกในเรื่องของศักยภาพ การสร้างแผนธุรกิจต้องมีการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรและความร่วมมือกับผู้จำหน่าย การเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีตและมาตรฐานอุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเดินทางสู่การเปลี่ยนแปลง ที่ปรึกษาสามารถให้มาตรฐานและโมเดลการปฏิบัติงานที่มีประโยชน์ซึ่งช่วยเปลี่ยนความก้าวหน้า ให้กลายเป็นการประหยัดเงินได้การร่วมมือกับพันธมิตรและผู้จำหน่ายที่ให้แผนงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับเป้าหมายเฉพาะของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรมเป็นสิ่งสำคัญ นี่คือวิธีการเริ่มต้นในการสร้างแผนธุรกิจ เพื่อให้การทรานส์ฟอร์มประสบความสำเร็จ และช่วยลดความเสี่ยงหากต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเริ่มต้นกับกลยุทธ์ของคุณสามารถดาวน์โหลดเอกสารไวท์เปเปอร์ของเราเรื่อง'การเปลี่ยนแปลงดิจิทัลในอุตสาหกรรม—มุมมองเกี่ยวกับกลยุทธ์ความสำเร็จและความท้าทายที่พบบ่อย'
ที่มา: เอพีพีอาร์ มีเดีย