โดยทีมโรงไฟฟ้าบางปะกง ได้นำเสนอปัญหาและโจทย์วิจัย ที่ต้องการให้ วว. เข้าไปช่วยแก้ไข เกี่ยวกับการสะสมของดินตะกอนจากแม่น้ำบางปะกงในบ่อพักน้ำก่อนนำไปใช้ในระบบหล่อเย็นของการผลิตไฟฟ้า โดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ไม่อนุญาตให้ปล่อยน้ำที่ผ่านระบบการผลิตไฟฟ้าลงสู่แม่น้ำ และไม่อนุญาตขนย้ายหรือนำดินตะกอนออกนอกพื้นที่โรงไฟฟ้า (แม้ทำการทดสอบแล้วว่าไม่มีสารอันตราย)
จากปัญหาดังกล่าวจึงทำให้เกิดโจทย์วิจัยของโรงไฟฟ้า ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- การใช้ประโยชน์จากตะกอนดินโคลน ที่ดูดมาแล้วและนำมาตากทิ้งไว้
- การป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมตะกอนดินโคลน ที่ปากทางเข้าสู่บ่อพักน้ำ
- 3. การดูดตะกอนดินโคลนออกจากบ่อพักน้ำ ที่เกิดการสะสมอยู่สูงถึง 2-4 เมตร
ในส่วนคณะนักวิจัย วว. ได้นำเสนอแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาตามโจทย์ของโรงไฟฟ้าดังกล่าว คือ
- ศนว. นำเสนอการนำดินตะกอนไปใช้ประโยชน์ เช่น อิฐ/อาคารบล็อกประสาน อิฐมอญและเม็ดสีสะท้อนความร้อน อิฐปูพื้น ผลิตภัณฑ์ดินเผาเพื่อการเกษตรและตกแต่งที่อยู่อาศัย เป็นต้น เพื่อเป็นการนำตะกอนดินมาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
- ศนย. เสนอเรื่องการใช้เทคโนโลยีการปาดดินตะกอนที่ปากทางเข้าบ่อพัก เพื่อลดการสะสมตะกอน
- ศนพ. เสนอแนวคิดการทำสารปรับปรุงดินจากกากตะกอนดิน และเสนอให้ประสานกรมชลประทานนำเรือขุดมาบริหารจัดการเพื่อเอากากตะกอนออกจากบ่อพักน้ำ
สำหรับความคาดหวังจากการหารือร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตไฟฟ้าสู่ชุมชนและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย