"โดนัลด์ ทรัมป์จะใช้นโยบายภาษีเป็นเครื่องมือต่อรองกับประเทศอื่นในด้านต่างๆ เช่น เรื่องความมั่นคง การค้าที่ไม่เป็นธรรม การเปิดตลาดต่างประเทศให้สินค้าสหรัฐฯ หรือความร่วมมือเรื่องผู้อพยพ นโยบายเหล่านี้อาจดีต่อสหรัฐฯ แต่สร้างความปั่นป่วนให้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะครึ่งปีแรก เนื่องจากลำดับของนโยบายที่ทรัมป์จะเริ่มนำมาใช้ก่อน และระดับมูลค่าของสินทรัพย์ซึ่งตั้งต้นอยู่ในระดับที่สูงในปัจจุบัน" ดร.พิพัฒน์กล่าว
สำหรับประเทศไทยปีนี้ การท่องเที่ยว ภาคบริการ และนโยบายการคลังยังคงเป็นเครื่องจักรสำคัญ แต่เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากปีก่อน จากปัญหาเรื่องความสามารถในการแข่งขัน และแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อภาคธนาคาร นอกจากนี้ นโยบายการค้าของรัฐบาลทรัมป์เป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมในเจรจารับมือ ส่วนดอกเบี้ยนโยบายของไทยคาดว่าน่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในปีนี้ เนื่องระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่สูงกว่าระดับเงินเฟ้อค่อนข้างมาก และภาวะทางการเงินที่อยู่ในภาวะตึงตัว
ด้านนายทวีศักดิ์ เผ่าพัลลภ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ให้คำแนะนำถึงกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกว่า สินทรัพย์เสี่ยงจะให้ผลตอบแทนโดดเด่นไม่เท่าเดิมในสถานการณ์ที่ดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงและผ่านพ้นช่วงที่ดีที่สุดของหุ้นไปแล้ว ควรเน้นจัดพอร์ตแบบ Prudent Asset Allocation หรือการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่หลากหลายแบบรอบคอบตามระดับความเสี่ยง เพื่อช่วยประคองให้ผ่านความผันผวน
ในส่วนของหุ้นเมื่อคาดการณ์ผลตอบแทนในช่วง 5 ปีข้างหน้า หุ้นโลกน่าสนใจกว่าหุ้นไทย จึงแนะนำให้ลดการถือครองหุ้นไทย ส่วนตลาดหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งน่าจะหลุดออกจากภาวะเงินฝืดได้อย่างยั่งยืน และมีการปฏิรูปบรรษัทภิบาล หุ้นกลุ่มการเงิน ซึ่งได้ประโยชน์จากค่าธรรมเนียมและการผ่อนคลายกฎระเบียบ โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนที่เน้นการเข้าซื้อสินทรัพย์ในช่วงที่ราคาปรับตัวลดลงชั่วคราวจากแนวโน้มหลัก (Buy on dip) รวมถึงกระจายลงทุนในหุ้น S&P500 Equal Weighted
นอกจากนี้ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีระยะเวลา 3-5 ปี เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากให้อัตราผลตอบแทนที่สูงและช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตในภาวะที่ตลาดกลับมากังวลกับเศรษฐกิจ
ในส่วนของตราสารหนี้คุณภาพสูงของไทยที่มีอันดับเครดิต A- ขึ้นไป ยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนในภาวะที่ดอกเบี้ยน่าจะลดลงเพิ่มเติม แต่สำหรับตราสารหนี้ที่มีอันดับ BBB+ ลงมานักลงทุนต้องเลือกลงทุนอย่างระมัดระวัง (Selective)
สำหรับงานสัมมนา KKP Year Ahead เป็นงานที่รวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกและทิศทางการลงทุน ตลอดจนให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่มีคุณภาพและการกระจายการลงทุน เพื่อการปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ให้ลูกค้านักลงทุนสามารถรับมือกับความท้าทายและคว้าโอกาสในตลาดการเงินได้อย่างมั่นใจ สนใจรับข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนของ KKP สามารถติดตามได้ที่ Facebook: Kiatnakin Phatra และ EDGE Invest
ที่มา: กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร