ทรูมันนี่ และ แอสเซนด์ บิท เผยมีผู้ใช้ซื้อคาร์บอนเครดิตผ่านแอปทรูมันนี่ เทียบเท่าปลูกต้นไม้แล้ว 100,000 ต้น หลังเปิดให้บริการแค่ 1 เดือน

จันทร์ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๘ ๑๖:๒๕
ชวนผู้สนใจซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนและช่วยโลก ในแบบง่าย ๆ โปร่งใส และยั่งยืน ผ่านแอปทรูมันนี่
ทรูมันนี่ และ แอสเซนด์ บิท เผยมีผู้ใช้ซื้อคาร์บอนเครดิตผ่านแอปทรูมันนี่ เทียบเท่าปลูกต้นไม้แล้ว 100,000 ต้น หลังเปิดให้บริการแค่ 1 เดือน

ทรูมันนี่ หนึ่งในผู้นำด้านแพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยความสำเร็จหลังเปิดให้บริการซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนร่วมกับ บริษัท แอสเซนด์ บิท จำกัด ผู้ให้บริการเทคโนโลยีบล็อกเชน ว่าในช่วงเวลาเพียง 1 เดือนหลังเปิดให้บริการ มีผู้ใช้งานแอปทรูมันนี่ซื้อคอร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นจำนวนแล้วกว่า 1,500 ตันคาร์บอน หรือเทียบเท่ากับใช้ต้นไม้กว่า 100,000 ต้นในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ซึ่งการตอบรับที่ดีดังกล่าวสะท้อนเทรนด์คนรุ่นใหม่ที่มีความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และอยากมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ การซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยคาร์บอนผ่านแอปทรูมันนี่ ได้ถูกออกแบบให้เข้าถึงง่ายและมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนสาธารณะ (Polygon) โดยการซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนในแต่ละครั้งจะถูกแปลงเป็นโทเคนดิจิทัลและบันทึกการรีไทร์คาร์บอน หรือ Carbon Offset ซึ่งหมายถึงการลดผลกระทบจากการปล่อยคาร์บอนฯ ไว้ในรูปแบบ NFT บนบล็อกเชน ผู้ใช้งานสามารถเลือกแพ็กเกจชดเชยคาร์บอนได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ (7, 30 หรือ 90 วัน) โดยระบบจะตัดเงินจากบัญชีทรูมันนี่ เพื่อซื้อและเบิร์นโทเคนคาร์บอนเครดิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล การทำธุรกรรมทั้งหมดจึงรวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีต้นทุนที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าบริการชดเชยคาร์บอนรูปแบบเดิมที่เห็นในประเทศไทยหลายเท่าตัว

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า "ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้คนในปัจจุบันโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การได้เห็นคนไทยหลายหมื่นคนร่วมกันซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนผ่านแอปทรูมันนี่ เป็นสัญญาณที่ดีของการตื่นตัวต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการให้บริการนี้ไม่เพียงแค่อำนวยความสะดวกให้ทุกคนมีส่วนร่วมลดผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศได้อย่างง่าย ๆ แต่ยังแสดงถึงศักยภาพของเทคโนโลยีในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกแบบยั่งยืนใหักับชุมชน"

นายอภินันท์ ดาบเพ็ชร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซนด์ บิท จำกัด และผู้อำนวยการฝ่ายการเติบโตของวอลเล็ทแพลตฟอร์ม บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด กล่าวว่า "แอสเซนด์ บิท มุ่งมั่นที่จะเชื่อมโยงคนไทยเข้าสู่โลกบล็อกเชนสาธารณะ และมอบโอกาสในการเข้าถึงและให้การสนับสนุนทรัพยากรของโลกผ่านการแปลงสินทรัพย์เป็นโทเคน โดยคาร์บอนเครดิตเป็นหนึ่งในตัวอย่างสำคัญที่ทำให้ผู้คนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ และทำให้สังคมเห็นภาพชัดเจนถึงประโยชน์ที่แท้จริงจากการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้านการเงินในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน"

ทั้งนี้ ความสำเร็จในช่วงแรกของบริการดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายบทบาทของเทคโนโลยี และการผนึกกำลังของพาร์ทเนอร์ในระบบนิเวศด้านความยั่งยืน โดย ทรูมันนี่ และ แอสเซนด์ บิท มุ่งหวังที่จะส่งเสริมการรับรู้และการมีส่วนร่วมของคนไทยในทุกระดับ เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอนอย่างแท้จริง และก้าวสู่อนาคตที่สดใสกว่าร่วมกัน

ที่มา: เวเบอร์ แชนด์วิค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๕ โบว์ เมลดา เปิดตัว สวยปัง ขายแปลก พร้อมประมูลตัวคณิกาน้องใหม่!!
๑๗:๐๐ เขตพระนครประสานเจ้าของพื้นที่-ผู้เช่าเร่งหาข้อยุติรื้อย้ายแผงค้าตลาดส่งเสริมการเกษตร
๑๗:๐๐ กทม. กำชับ รฟม. เข้มมาตรการลดผลกระทบโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ล้อมย้ายต้นไม้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
๑๗:๑๗ คุ้ย-ทวีวัฒน์ รุกหนักตลาดหนังสยองขวัญ-เปิด 13 สตูดิโอ ยิ่งใหญ่ ไลน์อัพหนังบิ๊กโปรเจค-ดึงดาราเอลิสต์ร่วมงาน 7 เรื่อง 7
๑๗:๐๗ Zelection Interior บริการอินทีเรียดีไซน์หรู จากเอสบี ดีไซน์สแควร์ ยกระดับงานตกแต่งภายในไปอีกขั้น ด้วยนวัตกรรมจากคอลเลกชันใหม่
๑๗:๔๔ SAM ยกระดับบริการ สายด่วน 1443 ตอบครบจบในเบอร์เดียว
๑๗:๕๒ บางกอกแอร์เวย์สชวนหอเจี๊ยะฉลองรับตรุษจีน เสิร์ฟเมนูมงคล ขนมหัวผักกาดกุ้ง ณ บลูริบบอนคลับเลานจ์ สนามบินสมุย
๑๗:๑๘ พิซซ่า ฮัท เสิร์ฟความฟิน Melts Fever ลดฟินเวอร์ เริ่มต้นเพียง 119 บาท
๑๗:๑๐ อิ่มอร่อยพร้อมรับโชคต้อนรับปี มะเส็ง ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกับแมริออท บอนวอย ในประเทศไทย
๑๖:๐๓ บิ๊กบอส LEO ลั่น!กอดหุ้นแน่น มั่นใจปัจจัยพื้นฐานแกร่ง-อนาคตสดใส ย้ำ! ลุยธุรกิจตามยุทธศาสตร์ LEO Go Green