เจแปน ไพรซ์ ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลประจำปี 2568

พุธ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๘ ๑๔:๔๖
มูลนิธิเจแปน ไพรซ์

มูลนิธิเจแปน ไพรซ์ (Japan Prize Foundation) ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลเจแปน ไพรซ์ ประจำปี 2568 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา โดย ศ.รัสเซล ดีน ดูปุยส์ (Russell Dean Dupuis) จากสหรัฐอเมริกา ได้รับรางวัลเจแปน ไพรซ์ สาขาวิทยาศาสตร์วัสดุและการผลิต และ ศ. การ์ลอส เอ็ม ดัวร์เต (Carlos M. Duarte) จากสเปน ได้รับรางวัลเจแปน ไพรซ์ สาขาการผลิตทางชีวภาพ นิเวศวิทยา/สิ่งแวดล้อม

- สาขาที่มอบรางวัล: วิทยาศาสตร์วัสดุและการผลิต

ศ.รัสเซล ดีน ดูปุยส์

รูปภาพ: https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000319/202501152911/_prw_PI1fl_tS7bGu5Q.jpg

- สาขาที่มอบรางวัล: การผลิตทางชีวภาพ นิเวศวิทยา/สิ่งแวดล้อม

ศ. การ์ลอส เอ็ม ดัวร์เต

รูปภาพ: https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000319/202501152911/_prw_PI2fl_75vq5Xm9.jpg

สำหรับรางวัลเจแปน ไพรซ์ ประจำปีนี้ ศ.ดูปุยส์ได้รับการยกย่องจากผลงานอันโดดเด่น ในการพัฒนาเทคโนโลยีสะสมไอสารเคมีโลหะอินทรีย์ สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ออปโตอิเล็กทรอนิกส์จากสารกึ่งตัวนำแบบผสม รวมถึงการบุกเบิกที่นำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ในสเกลใหญ่ ส่วน ศ.ดัวร์เตได้รับการยกย่องจากการอุทิศตนในการศึกษาระบบนิเวศทางทะเลภายใต้สภาพโลกที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยบุกเบิกด้านบลูคาร์บอน (Blue Carbon)

สำหรับรางวัลเจแปน ไพรซ์ ปี 2568 ทางมูลนิธิฯ ได้ขอให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่มีชื่อเสียงประมาณ 15,500 คนทั่วโลก ร่วมเสนอชื่อนักวิจัยที่ทำงานอยู่ในสาขาประจำปีนี้ โดยได้รับการเสนอชื่อ 149 รายในสาขาวิทยาศาสตร์วัสดุและการผลิต และได้รับการเสนอชื่อ 72 รายในสาขาการผลิตทางชีวภาพ นิเวศวิทยา/สิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ชนะประจำปีนี้ได้รับเลือกจากผู้ชิงรางวัลรวม 221 ราย

เกี่ยวกับเจแปน ไพรซ์

เจแปน ไพรซ์ (Japan Prize) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2524 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความปรารถนาของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องการสร้างสรรค์รางวัลระดับนานาชาติเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วโลก และด้วยการสนับสนุนจากผู้บริจาคมากมาย ในที่สุดมูลนิธิเจแปน ไพรซ์ ก็ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะรัฐมนตรีในปี 2526

เจแปน ไพรซ์ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จอย่างสร้างสรรค์และน่าทึ่ง ซึ่งช่วยสร้างความก้าวหน้าให้กับสาขาของตนเอง ตลอดจนสร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อการส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองเพื่อมวลมนุษยชาติ โดยนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขาล้วนมีสิทธิ์ได้รับรางวัล ซึ่งในแต่ละปีจะมีการมอบรางวัลสองสาขาโดยพิจารณาจากแนวโน้มการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยหลักการแล้วจะมีผู้ชนะรางวัลสาขาละหนึ่งคน ซึ่งจะได้รับประกาศนียบัตร เหรียญรางวัล และเงินรางวัล นอกจากนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินี หัวหน้าฝ่ายปกครองของรัฐบาลทั้งสามฝ่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวแทนจากหลากหลายภาคส่วนของสังคม ได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลในแต่ละครั้งด้วย

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์หลักอย่างเป็นทางการ: https://www.japanprize.jp/en/index.html

ที่มา: มูลนิธิเจแปน ไพรซ์



ที่มา:  เกียวโด เจบีเอ็น/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม