กรมอนามัย โชว์ มุ้งสู้ฝุ่น เสนอกรรมาธิการสภา หวังช่วยกลุ่มเสี่ยงลดสูดฝุ่น PM 2.5

ศุกร์ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๘ ๑๑:๕๔
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอ "มุ้งสู้ฝุ่น" แก่คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เพื่อช่วยผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และกลุ่มเสี่ยง 5 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคผิวหนัง โรคเยื่อบุตา โรคหอบหืด และโรคมะเร็งปอด ลดการได้รับสัมผัสฝุ่น PM2.5
กรมอนามัย โชว์ มุ้งสู้ฝุ่น เสนอกรรมาธิการสภา หวังช่วยกลุ่มเสี่ยงลดสูดฝุ่น PM 2.5

วานนี้ (30 มกราคม 2568) แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์ PM2.5 ยังมีแนวโน้มเกินมาตรฐาน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน กรมอนามัย นอกจากการวางแนวทาง มาตรการ กฎหมาย เพื่อดูแลประชาชนในภาพรวมแล้ว การดูแลกลุ่มเสี่ยงก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และผู้ป่วย 5 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคผิวหนัง โรคเยื่อบุตา โรคหอบหืด และโรคมะเร็งปอด หากได้รับสัมผัสฝุ่น PM2.5 ในปริมาณมากและต่อเนื่อง จะทำให้อาการเจ็บป่วยรุนแรงได้ ซึ่งในปี 2567 มีข้อมูลผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กว่า 1,277,386 ราย และเด็ก 0-5 ปี อีกกว่า 309,956 ราย ทั่วประเทศที่เจ็บป่วยและมาเข้ารับการรักษาด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 พื้นที่ที่มีค่าฝุ่นสูง ไม่สามารถทำระบบปิดหรือห้องปลอดฝุ่นได้ "มุ้งสู้ฝุ่น" จึงเป็นแนวทางที่กรมอนามัยนำเสนอ เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะช่วยลดการสัมผัสและลดผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 สามารถ ลดปริมาณ PM2.5 ภายในมุ้งได้ร้อยละ 30 - 75

"ถือเป็นโอกาสดีที่ได้นำเสนอโครงการมุ้งสู้ฝุ่น แก่นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข และคณะกรรมการ สภาผู้แทนราษฎร ณ รัฐสภา เพื่อผลักดันและสนับสนุนโครงการ "มุ้งสู้ฝุ่น" แก่ประชาชน เพื่อลดปริมาณการได้รับฝุ่น PM 2.5 รวมทั้ง อาการหรือการเจ็บป่วย และลดการไปเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ ที่ผ่านมา กรมอนามัยได้สนับสนุน "มุ้งสู้ฝุ่น" ไปแล้วกว่า 1,400 ชุด กระจายใน 35 จังหวัด "มุ้งสู้ฝุ่น" ถือเป็นนวัตกรรมที่มีการพัฒนา และวิจัยโดย ผศ.ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐและคณะ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการประยุกต์ใช้หลักการทำห้องปลอดฝุ่น คือ กันฝุ่น กรองฝุ่น และดันฝุ่น มีการนำไปใช้ในบ้านเรือนที่ไม่สามารถปิดช่องว่าง หรือปิดหน้าต่างให้สนิท กลุ่มเปราะบางที่มีงบประมาณจำกัด โดยเฉพาะผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง อุปกรณ์ในการจัดทำมุ้งสู้ฝุ่น ประกอบด้วย 1) มุ้งผ้าฝ้าย เพราะมุ้งไนล่อนจะมีรูตาข่ายใหญ่กว่าทำให้อากาศสะอาดที่จะเติมเข้าไปรั่วได้ โดยใช้มุ้งผ้าฝ้ายเป็นการสร้างพื้นที่ปิดสำหรับสร้างพื้นที่สะอาด และ 2) เครื่องฟอกอากาศ หรือเครื่องฟอกอากาศ DIY ทำหน้าที่กรองฝุ่นจากภายนอกเข้ามาในมุ้งและดันฝุ่นและอากาศที่ไม่สะอาดออกจากมุ้ง ตามหลักการแรงดันบวก (Positive pressure) ทำให้พื้นที่ในมุ้งมีฝุ่นที่น้อยกว่าภายนอก จากการศึกษาประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้มุ้งผ้าฝ้ายในจังหวัดเชียงใหม่จากการใช้จริงในบ้านเรือนกลุ่มเสี่ยง พบว่า "มุ้งสู้ฝุ่น" มีประสิทธิภาพการลดฝุ่น PM2.5 ลงร้อยละ 36.3 - 75.3 เมื่อนำไปทดลองในพื้นที่ที่แตกต่างกัน และค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 ภายในมุ้งผ้าฝ้ายน้อยกว่า 25 ?g/m3 ซึ่งถือเป็นว่าเป็นประสิทธิภาพที่น่าพึงพอใจ ยอมรับได้" อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ที่มา: กรมอนามัย

กรมอนามัย โชว์ มุ้งสู้ฝุ่น เสนอกรรมาธิการสภา หวังช่วยกลุ่มเสี่ยงลดสูดฝุ่น PM 2.5

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO