กทม. แจงกรณีขายสายไฟเก่าโรงเรียน สั่งเข้มงวดควบคุมทรัพย์สิน-การใช้งบประมาณ ป้องกันทุจริต

จันทร์ ๐๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ๑๖:๐๙
นายศักดิ์ชัย ใสสุข ผู้อำนวยการเขตมีนบุรี กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตการเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟเก่าของโรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์ มีการนำของเก่าที่รื้อออกไปขายและนำรายได้เข้าบัญชีส่วนตัวว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า สำนักงานเขตฯ ได้ทำสัญญาจ้างการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ดำเนินการรื้อถอนสายไฟเก่าและอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมติดตั้งสายไฟและอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 67 กำหนดเวลาแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย. 67 โดย กฟน. ได้ส่งมอบงานเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 67 และคณะกรรมการตรวจรับได้ตรวจรับเรียบร้อยแล้ว ซึ่ง กฟน. ได้แจ้งว่าเศษวัสดุอุปกรณ์ที่รื้อออกไม่สามารถใช้กับระบบไฟฟ้าที่ปรับปรุงใหม่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ จึงได้นำเศษวัสดุอุปกรณ์ไปจำหน่ายให้ร้านรับซื้อของเก่า 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 28,198 บาท โดยเงินที่ได้จากการขายวัสดุดังกล่าว ได้มอบให้กรรมการที่มีหน้าที่ดูแลเบิกจ่ายเงินของโรงเรียนเก็บในตู้นิรภัยของโรงเรียนและบันทึกเป็นรายรับของโรงเรียน
กทม. แจงกรณีขายสายไฟเก่าโรงเรียน สั่งเข้มงวดควบคุมทรัพย์สิน-การใช้งบประมาณ ป้องกันทุจริต

ทั้งนี้ สำนักงานเขตฯ ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ ถือปฏิบัติตามระเบียบเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. 2555 พร้อมนำเงินจำนวนดังกล่าวฝากเข้าบัญชีเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป รวมทั้งได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและเพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบความโปร่งใสการดำเนินงานและการใช้งบประมาณต่างๆ ในโรงเรียนสังกัด กทม. เพื่อป้องกันการทุจริตของครูและบุคลากรทางการศึกษา

นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา (สนศ.) กทม. กล่าวว่า กทม. มีมาตรการกำกับดูแลกระบวนการใช้งบประมาณของสถานศึกษาในสังกัดให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะหัวหน้าหน่วยงานได้มีคำสั่งมอบอำนาจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างให้ผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติราชการแทนในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท โดยได้กำชับให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของ กทม. และเป็นไปตามหลักความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และตรวจสอบได้ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (มาตรา 8) รวมทั้งกำชับให้ทุกหน่วยงานเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนต่างๆ อย่างครบถ้วนทุกช่องทาง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) และระบบเผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของ กทม. (e-GP BMA) ทันทีที่หน่วยงานดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละขั้นตอน

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการควบคุมรักษาทรัพย์สินสถานศึกษาในสังกัด กทม. ซึ่งกำหนดให้ทุกส่วนราชการจัดทำทะเบียนควบคุมพัสดุอย่างเคร่งครัด โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี และคณะกรรมการควบคุมรักษาทรัพย์สินของสถานศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบและรายงานทรัพย์สินของสถานศึกษาให้ถูกต้องตรงตามทะเบียน เพื่อป้องกันการทุจริตอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของทางราชการ

ที่มา: กรุงเทพมหานคร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๗ KEX รับรางวัลThailand's Top Corporate Brand 2024 องค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์สูงสุด หมวดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์
๑๗:๑๙ UMI ส่งกระเบื้อง ANTI-SLIP HONED เอาใจลูกค้าได้เลือกใช้งานทั้งภายในและภายนอก
๑๗:๕๑ ซินเน็ค (ประเทศไทย) จับมือ Lexmark International รุกตลาดโซลูชันการพิมพ์
๑๗:๐๐ CIBA DPU ประกาศผล ประกวดโมเดลธุรกิจและสร้างแบรนด์ธุรกิจฯ ครั้งที่ 1 ทีมจาก ว.บริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ คว้าแชมป์ไปครอง รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
๑๗:๐๐ Jubilee x POP MART เมื่อความหรูหราและความน่ารักโคจรมาพบกันเป็นครั้งแรกของโลก!
๑๗:๐๓ แอร์เอเชีย เสริมทัพ สุวรรณภูมิ บินตรงสู่อีสาน อุดรธานีและขอนแก่น! ชูจุดเด่นบินตรงเวลาสะดวกเลือกได้ 2 สนามบินทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ
๑๖:๐๙ ปอร์เช่ มาคันน์ พร้อมแล้วสำหรับทุกการเดินทาง: ขยายเครือข่ายชาร์จทั่วไทย พร้อมฟีเจอร์ใหม่เพื่อประสบการณ์เหนือระดับ
๑๖:๐๐ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ได้รับรางวัล Thailand's Top Corporate Brands 2567
๑๖:๐๓ OR - กรมสรรพสามิต - จุฬาฯ ร่วมผนึกกำลังขับเคลื่อนการรับรู้ภาษีคาร์บอนและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้บริโภคแต่อย่างใด
๑๖:๑๘ กรุงไทย ติดอับดับ 50 องค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานมากที่สุด 2 ปีซ้อน มุ่งพัฒนาบุคลากรสู่โลกดิจิทัล