สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เผย ผลสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมไทย โลกร้อนมาเป็นอันดับ 1

พฤหัส ๐๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ๑๗:๒๓
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้ทำโพลสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนไทยให้ความสำคัญในปีที่ผ่านมา (2567) พบว่า 3 อันดับแรกที่คนไทยห่วงด้านสิ่งแวดล้อม คือ ปัญหาโลกร้อน รองมาคือปัญหาขยะมูลฝอยที่จัดการไม่ถูกต้อง ปัญหาPM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และประเด็นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ มาเป็นอันดับ 4 ขณะที่ผลสำรวจคนไทยมองว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในทุกประเด็น เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ซึ่งหากไม่ได้รับความร่วมมือในการแก้ไขก็จะส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เผย ผลสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมไทย โลกร้อนมาเป็นอันดับ 1

ดร.วิจารย์ สิมายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI รวบรวมผลสำรวจที่ทางTEI จัดทำขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในประเทศไทยพบว่า อันดับ 1 (20.3 %) คนไทยให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อน ที่ในปีที่2567 ถือเป็นปีแรกที่อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงเกินกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม (ปีศ.ศ. 1900) กว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งหลายคนให้เหตุว่า อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ตามมา เช่น การแปรปรวนสภาพอากาศที่ทำให้เกิดอุทกภัยธรรมชาติในหลายพื้นที่ ภัยแล้งในบางพื้นที่ การสูญเสียระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ผลกระทบต่อแหล่งอาหารการเกษตรและสุขภาพของมนุษย์ และอีกหนึ่งปัญหาที่คนไทยให้ความสำคัญตามมาติดๆ ปัญหาขยะมูลฝอยจัดการไม่ถูกต้องที่มีถึง (19.1%) โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นถึง 28- 29 ล้านตันต่อปี หากการบริหารจัดการขยะไม่ดี ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสุขอนามัย สุขภาพเศรษฐกิจและสังคม อีกด้วย รวมทั้งมองว่าปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมายาวนานยังไม่สามารถจัดการได้อย่างถูกต้อง เพราะประชาชนทั่วไปยังไม่รู้จักการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความสำคัญในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง ดังนั้นควรมีการสร้างความตระหนักรู้ ปลูกฝัง การคัดแยกขยะตั้งแต่เด็ก โดยเริ่มต้นที่สถานศึกษา และชุมชน ในขณะเดียวกัน ภาครัฐโดยเฉพาะท้องถิ่นต้องมีระบบการจัดการที่ดี และควรมีกฎหมายหรือข้อบังคับที่ใช้ชัดเจน ขณะเดียวกันควรสร้างความตระหนักรู้ถึงการคัดแยกขยะว่าจะมีประโยชน์อย่างไรกับตนเอง รวมทั้งการส่งเสริมให้เอกชนลงทุนในการจัดการขยะมูลฝอยครบวงจร

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญเป็นอันดับที่ 3 ในผลสำรวจคือ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว (PM2.5)(13.1%) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ส่วนมากจากมลพิษทางการจราจร ที่มีผู้ใช้ยานพาหะเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการปล่อยควันรถบนท้องถนน และการ เผาในพื้นที่เกษตรในบริเวณชานเมืองและจังหวัดใกล้เคียง ประกอบกับสภาพอุตุนิยมวิทยาที่มีลักษณะอากาศนิ่ง และไม่เอื้ออำนวยต่อการกระจายตัวของอากาศ ซึ่งจากผลสำรวจให้เหตุผลส่วนใหญ่ว่าปัญหา PM2.5 ใน

กรุงเทพมหานครเป็นปัญหาสำคัญ เพราะไม่ได้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่กระทบต่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพคนในเมืองระยะยาว ดังนั้นควรเร่งรัดแก้ไขที่ทำได้เพื่อลดมลพิษทางอากาศที่แหล่งกำเนิดต่างๆ

ขณะที่จากผลสำรวจพบว่า ประเด็นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอันดับที่ 4 (8.2%) โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มองว่าการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพเป็นดัชนีชี้วัดระบบนิเวศที่สำคัญ การสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นหากความหลากหลายทางชีวภาพลดลงก็จะแสดงถึงสมดุลล่มสลาย ที่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพส่งผลกระทบในวงกว้างกับมิติอื่นๆ เช่นความมั่นคงทางอาหารและคุณภาพชีวิต และอีกหนึ่งเหตุผลที่น่าสนใจคือ การขยายพื้นที่เมือง ประกอบกับการจัดการพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมรุกล้ำพื้นที่ป่า หรือพื้นที่รับน้ำตามธรรมชาติส่งผลให้กระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จนทำให้ทรัพยากรในพื้นที่ลดลงและนำมาสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นจึงควรบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสม ควบคุมพื้นที่ ที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ประมง จัดโซนการใช้ประโยชน์ ฯลฯ ให้ชัดเจน

ทั้งนี้ ผลสำรวจที่ทาง TEI ดำเนินการยังได้สำรวจเหตุการณ์และปัญหาสิ่งแวดล้อมใหญ่ๆในปี 2567 ที่คนให้ความสำคัญ พบว่า เรื่องกากแคดเมียม 15,000 ตันในโรงงานสมุทรสาคร ปัญหาฝุ่นPM2.5 ในภาคเหนือ ขยะพลาสติกและขยะพลาสติกในทะเล ที่มาเป็นอันดับ 5 (ประเด็นละ 7.4%) ถัดมาคือ สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงราย (5.3%) ปลาหมอคางดำ เอเลียนสปีชีส์รุกล้ำน้ำน่านไทย (5.7%) พะยูนตายที่จังหวัดตรัง 2.5% และกากสารเคมีและไฟไหม้โรงงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (1.6%)

ดร.วิจารย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมทุกเรื่องเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ดังนั้นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ไม่ใช่เพียงคนหนึ่งคน หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือหน่วยงานภาครัฐเท่านั้นเพราะหากลงมือทำโดยไม่ได้รับความร่วมมือก็ไม่สามารถจัดการและแก้ไขปัญหาได้ พร้อมมีข้อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะภาครัฐควรมีมาตรการจัดการเรื่องต่าง ๆอย่างเข้มงวดและชัดเจน ตามลำดับความสำคัญของปัญหาบนพื้นฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ผลสำรวจในครั้งนี้ทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ดำเนินการสำรวจผ่านทางออนไลน์ ในช่องทางโซเชียลมีเดียของสถาบันและผ่านระบบออนไลน์ต่างๆ แก่ภาคีเครือข่ายที่ดำเนินงานร่วมกันมา

ที่มา: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๒๔ แจกจริง! แบรนด์ซุปไก่สกัดส่งมอบรถเทสล่า มูลค่า 1.649 ล้านบาท ให้ผู้โชคดี ในแคมเปญ ดื่มแบรนด์ สแกนเลขในขวด ปี
๑๓:๕๐ GFC ตอบโจทย์ทุกความปลอดภัยเรื่องอาคาร - ถังแช่แข็งตัวอ่อน เปิดให้บริการสำหรับผู้มีบุตรยากตามปกติครบ 3
๑๓:๕๗ KJL ลุยภาคใต้! จัดใหญ่สัมมนา 'รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR' ที่ภูเก็ต
๑๒:๐๐ แว่นท็อปเจริญ จับมือ กรมกำลังพลทหารบก แนะแนวการศึกษาและอาชีพ สร้างโอกาสแก่ทหารกองประจำการและครอบครัว
๐๒ เม.ย. AnyMind Group คว้ารางวัล Gold ในงาน Martech Innovation Awards 2025
๐๒ เม.ย. โชว์พลังดีไซน์ไทยในงาน STYLE Bangkok 2025 รวมแบรนด์ดาวรุ่งจาก Talent Thai และ Designers' Room ที่คุณไม่ควรพลาด
๐๒ เม.ย. ธนาคารกสิกรไทย จัดสัมมนาใหญ่ K WEALTH Forum: เจาะลึก 5 ปัจจัยเปลี่ยนเกมการลงทุนโลก
๐๒ เม.ย. PSP ปิดดีลทุ่ม 409.5 ลบ. ถือหุ้นใน รีไซเคิล เอ็นจิเนียริ่ง (RE) ปักหมุดธุรกิจสู่ศูนย์กลางรีไซเคิลสารเคมีแห่งภูมิภาค
๐๒ เม.ย. กลุ่มซีไอเอ็มบี เปิดรับสมัครสอบชิงทุน CIMB ASEAN Scholarship 2025 ทุนเรียนต่อปริญญาตรี - ปริญญาโท พร้อมโอกาสร่วมงานกับกลุ่มซีไอเอ็มบี
๐๒ เม.ย. ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค เปิดพิกัดจุดสรงน้ำพระ เสริมสิริมงคลกับเทศกาล สงกรานต์อิ่มบุญ