ดร.คงกระพัน กล่าวว่า "นับเป็นความภาคภูมิใจยิ่งของ ปตท. ที่ได้รับรางวัลแห่งเกียรติยศในวันนี้ สะท้อนศักยภาพการบริหารธุรกิจแบบยั่งยืนในทุกมิติ ตามวิสัยทัศน์ "ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน" โดยมีภารกิจหลักในการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก"
ในครั้งนี้ ปตท. ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น จำนวน 6 รางวัล ประกอบด้วย
- รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น (เกียรติยศ) มอบให้คณะกรรมการ ปตท. ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ภายใต้การกำกับดูแลที่ดี มีธรรมาภิบาลและโปร่งใส พร้อมบูรณาการความยั่งยืนเข้าไปในการดำเนินธุรกิจ
- รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น (เกียรติยศ) โดย ปตท. ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (Operational Excellence) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ และสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน (Strengthen Core Business) พร้อมพัฒนาบุคลากรและปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัวและสอดคล้องกับกลยุทธ์เพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
- รางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจยั่งยืน จากการที่ ปตท. ดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดยั่งยืนอย่างสมดุลในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การกำกับดูแลที่ดี พร้อมพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย
- รางวัลการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น "โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม"
กลุ่ม ปตท. ได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการบริหารจัดการชุมชนใน 45 พื้นที่ 29 จังหวัด ผ่านการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ Smart Farming ส่งเสริมการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเพาะปลูกอย่างเหมาะสม เช่น โรงเรือนอัจฉริยะและระบบ IoT โซลาร์เซลล์ลอยน้ำ Smart Marketing ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยสามารถพัฒนาสินค้าได้ 45 รายการ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ Community-Based Tourism ส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งมีชุมชนที่สามารถพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว มีทักษะในการบริหารจัดการธุรกิจ และช่องทางการตลาดได้ด้วยตนเองถึง 6 พื้นที่ - รางวัลความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีเด่น ด้านความคิดสร้างสรรค์ "โครงการนวัตกรรมท่อนาโน
คาร์บอนจากก๊าซธรรมชาติ ของเสียไฮโดรคาร์บอน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" ท่อคาร์บอนระดับ
นาโนเมตร (Carbon nanotubes; CNTs) มีคุณสมบัติเด่นที่นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี มีความแข็งแรงแต่น้ำหนักเบา และสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ซึ่งการผลิตวัสดุ CNTs เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของ Conductive materials, Polymer composite materials, EV value chain และ Smart electronic ที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้านนวัตกรรมให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน และส่งออกไปทั่วโลกได้ในอนาคต - รางวัลความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีเด่น ด้านนวัตกรรม "โครงการยีสต์ทนร้อนที่มีความสามารถ
ในการผลิตเอนไซม์ย่อยแป้งที่ผิวเซลล์ (InnoTherm-380 GA)" เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นภายในประเทศทั้งหมด ซึ่งได้จดอนุสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถพัฒนาให้ยีสต์มีความสามารถผลิตเอนไซม์ย่อยแป้งได้เองที่ผิวเซลล์ ด้วยการใช้โปรตีนฐานยึดเกาะเอนไซม์ชนิดใหม่ของโลก สามารถแข่งขันได้กับยีสต์แห้งทางการค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ลดการนำเข้าและการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมถึงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางชีวภาพของประเทศไทย
"ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ยังคงมุ่งมั่นรักษาเสถียรภาพทางพลังงานให้กับประเทศ ดำเนินธุรกิจบนหลักยั่งยืนอย่างสมดุล รวมทั้งดูแลสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย" ดร.คงกระพัน กล่าวในตอนท้าย
ที่มา: ปตท.