"สาขายอดฮิตที่มีผู้สมัครจำนวนมาก ยังคงเป็นกลุ่มคณะวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า อุตสาหกรรม เครื่องกล และยานยนต์ไฟฟ้า รองลงมาจะเป็น คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์/บัญชี/บธ.บ.บริหารธุรกิจ อย่าง การตลาดและการตลาดดิจิทัล และการจัดการธุรกิจ ตามมาด้วยคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้งสาขาสถาปัตยกรรม สาขาทัศนศิลป์ ก็ได้รับความนิยม และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรสาขาธุรกิจอาหารและโภชนาการ ก็ได้รับความนิยมจากผู้เรียน ซึ่งสาขาทั้งหมดเหล่านี้มทร.ล้านนา ได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมในแต่ละสายงาน รวมถึงการเติมทักษะตามที่ผู้ประกอบการต้องการ" รศ.ดร. อุเทน กล่าว
รักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.ล้านนา กล่าวต่อไปว่า ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทาง มทร.ล้านนา ได้มีการปรับหลักสูตรให้มีความทันสมัย เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและโครงสร้างประชากร โดยขณะนี้หลักสูตรไหนที่ไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ไม่มีผู้เรียนก็จะทำการปิดหลักสูตร และเปิดหลักสูตรใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ พร้อมทั้งจะขยายการลงนามความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาหลักสูตร ผลิตบัณฑิต หรือการพัฒนาทักษะของพนักงานในสถานประกอบการ ภาคเอกชนนั้นๆ มากขึ้น โดย มทร.ล้านนา มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU ) กับภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาหลักสูตร Up Skillคนทำงาน อย่าง ความร่วมมือกับ บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) ลำพูน ในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ ซึ่งขณะนี้เข้าสู่เฟส 2 เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา กับ บริษัทฮานาฯ โดยบริษัทฯ จะเปิดโอกาสให้แก่บุคลากรระดับช่างอุตสาหกรรมมาเรียนเสริมองค์ความรู้ (Up Skill) ทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมือพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และดำเนินโครงการบริจาคเครื่อง Surface Mount Technology ให้กับมทร.ล้านนา เพื่อสร้างเสริมทักษะ และจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาทั้งสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมอุตสาหการ รุ่นใหม่ มีองค์ความรู้และทักษะ ด้าน SMT (Surface Mount Technology)รองรับการขยายตัวและความต้องการกำลังคนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา: แมวกวัก