สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เผยผลสำรวจฉบับพิเศษประจำปี 2568 ในหัวข้อ 'Content ต่างใจ เพราะวัยต่างกัน'

อังคาร ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๘ ๑๔:๐๑
สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ได้ทำการศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคมานานกว่า 4 ปี และเผยผลการศึกษาทุก ๆ สองเดือน ซึ่งผลการศึกษาสามารถอ้างอิงได้ผ่านผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งประชากรเพศชายและเพศหญิงจำนวน 1,200 คน โดยมีอายุระหว่าง 20-59 ปี จาก 6 ภูมิภาค ทั่วประเทศ โดยมีทั้งการทำแบบสอบถามเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เผยผลสำรวจฉบับพิเศษประจำปี 2568 ในหัวข้อ 'Content ต่างใจ เพราะวัยต่างกัน'

จากการศึกษาแนวโน้มของคนไทยตลอดทั้งปี 2567 จะเห็นได้ว่า ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่เต็มไปด้วยกระแสแฟนด้อม ซึ่งอิทธิพลของแฟนด้อมส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ปรากฏการณ์ไวรัล เช่น "หมูเด้ง" รวมถึงกระแสซีรีส์จีน ซีรีส์วาย และอีกมากมาย สะท้อนให้เห็นถึงพลังของแฟนด้อมที่มีต่อวงการบันเทิง ทำให้เกิดเป็นคอนเทนต์ในแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย จึงเป็นที่มาของผลสำรวจฉบับพิเศษประจำปี 2568 ในหัวข้อ 'Content ต่างใจ เพราะวัยต่างกัน'

ถอดรหัสการเสพความบันเทิงและคอนเทนต์ของคนไทยในแต่ละช่วงวัย:คนไทยเป็นคนรักความบันเทิง เพราะความบันเทิงทำให้คนไทยมีความสุข แต่การเสพความบันเทิงของแต่ละบุคคลและแต่ละช่วงวัยนั้นแตกต่างออกไป มีตั้งแต่ความบันเทิงอย่างละครคลาสสิกไปจนถึงวิดีโอไวรัลบน TikTok ตัวเลือกเหล่านี้ สะท้อนถึงคุณค่าและแรงจูงใจที่แตกต่างกัน

การเข้าใจผู้คนอย่างลึกซึ้งและรอบด้านของชีวิต หรือ Sei-katsu-sha ที่เป็นปรัชญาของฮาคูโฮโด ทำให้เห็นเรารายละเอียดที่น่าสนใจของคนในแต่ละช่วงวัยในประเทศไทย ว่ามีแรงจูงใจในการเสพเนื้อหาความบันเทิงที่แตกต่างกัน คุณพสิษฐ์ นิดฉาย ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮาคูโฮโด (กรุงเทพฯ) จำกัด ได้ให้ข้อมูลเรื่องการเสพความบันเทิงที่มีความหมายต่างกันในแต่ละช่วงวัยนี้ไว้ว่า 'ในช่วงวัย 20 (อายุ 20 - 29 ปี) ให้ความสำคัญกับการเยียวยาความเศร้า หาความรู้สึกสร้างแรงบันดาลใจ และเติมพลังให้กับตัวเอง ขณะที่ช่วงวัย 30 (อายุ 30 - 39 ปี) ใช้เนื้อหาเพื่อรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นกระแสในโลกปัจจุบันและเติมเต็มอารมณ์ไปพร้อมกัน ส่วนช่วงวัย 40 (อายุ 40 - 49 ปี) หันมาเสพเนื้อหาเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากชีวิตที่วุ่นวาย และที่น่าสนใจที่สุดคือ ช่วงวัย 50 (อายุ50 - 59 ปี) มองว่าเนื้อหาเป็นช่องทางในการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและค้นหาความหมายของชีวิต'

คุณพร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮิลล์ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า 'การศึกษาในหัวข้อ 'Content ต่างใจ เพราะวัยต่างกัน' สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน ประเทศไทย ได้ศึกษารายละเอียดจากคำตอบในแบบสอบถาม ซึ่งจำแนกช่วงวัยออกเป็น 4 ช่วงวัย' ดังนี้

  • วัย 20+ : ช่วงเวลา เติมพลังค้นหาตัวเองแบบ No Judge

คนในช่วงอายุ 20 - 29 ปี มักเสพเนื้อหาโรแมนติก (+9) เพื่อหลีกความเป็นจริงและเติมเต็มความรู้สึก โดยมีความสนใจในศิลปะ วัฒนธรรม และนวัตกรรม (+7) รวมถึงเนื้อหาที่ท้าทายและเร้าใจ (+4) ซึ่งสามารถกระตุ้นแรงบันดาลใจและเติมเต็มพลังชีวิตได้

เหตุผลหลักที่ทำให้คนเสพเนื้อหาคือการ "เยียวยาความเศร้า" สูงกว่า (35%) ซึ่งสะท้อนถึงความรู้สึกสับสนและความเหงาในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นผู้ใหญ่ ในขณะเดียวกัน ก็ยังมองหาแรงบันดาลใจและความตื่นเต้น (33%) เพื่อค้นพบตัวตนและเสริมสร้างความมั่นใจในการเดินหน้าต่อไป

ช่วงวัย 20 ปี เป็นช่วงของการสำรวจ ทดลอง และสร้างฝัน เนื้อหาที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ การผจญภัยที่กล้าหาญ เรื่องราวโรแมนติกที่อบอุ่นจึงได้รับความนิยมมากในกลุ่มนี้

  • วัย 30+ เน้นอัพเดตทุกเรื่องฮิต ให้ชีวิตไม่ Disconnect

คนในช่วงอายุ 30 - 39 ปี เป็นช่วงวัยที่มีการเสพความบันเทิงที่หลากหลายและรอบด้านมากที่สุด มีรสนิยมที่หลากหลาย สนใจทั้งเนื้อหาการสำรวจ (+2) อาหารและการทำอาหาร (+3) และศิลปะ วัฒนธรรม และนวัตกรรม (+2)

ช่วงวัยนี้เสพเนื้อหา "เพื่อการอัพเดตเทรนด์" กว่า (32%) และ "เพื่อเยียวยาความเศร้า" (27%) เพราะผู้คนในช่วงวัยนี้จะต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องงาน ครอบครัว และชีวิตส่วนตัว โดยการที่เขาพยายามวิ่งตามสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลา ถูกถาโถมด้วยความรู้สึกที่ต้องรู้เทรนด์ต่าง ๆ ทำให้ในทางกลับกันเขามองหาชีวิตจริง หรืออยากรับรู้ว่าคนอื่นๆก็เหน็ดเหนื่อยอย่างเขาเช่นกัน ทำให้พวกเขาชื่นชอบคอนเทนต์เสียดสีชีวิตประจำวัน เช่น ปัญหาการทำงาน การเลี้ยงลูก และโครงสร้างอำนาจในที่ทำงาน เป็นต้น

  • วัย 40 + มองหาการฮีลใจ คลายกังวล คน Mid-Life

คนในช่วงอายุ 40 - 49 ปี มักให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่สร้างความผ่อนคลายและเติมเต็มความสุขส่วนตัว เช่น อาหารและการทำอาหาร (+3%) และเรื่องราวลี้ลับ (+1%) และสวนทางกับคนในช่วงวัย 20+ เนื่องจากความสนใจในเนื้อหาโรแมนติกลดลง (-7%)

ซึ่งเหตุผลหลักที่เสพเนื้อหาคือ "เพื่อผ่อนคลายความเครียดและความกังวล" (27%) และ "เพื่อสนับสนุนคนที่ชอบหรือสิ่งที่ชอบ" (26%) แม้ว่าพวกเขาจะมีชีวิตที่มั่นคง แต่ก็เผชิญกับความรู้สึกซ้ำซาก จำเจ และขาดความตื่นเต้น ทำให้พวกเขามองหาเนื้อหาที่สนุก ง่ายต่อการรับชม และสร้างแรงบันดาลใจแบบเบา ๆ

  • วัย50+ เติมเต็มชีวิตด้วยเรื่องใหม่ ๆ เชื่อมใจครอบครัว

คนในช่วงอายุ 50 - 59 ปี ให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสังคมและขนบธรรมเนียม เช่น เสียดสีสังคม การเมือง และศาสนา (+2%) ซึ่งในทางกลับกันความสนใจในเนื้อหาผจญภัย (-9%) อาหารและการทำอาหาร (-5%) และโรแมนติก (-4%) ลดลง

เหตุผลที่คนในช่วงวัยนี้ให้ความสนใจเพื่อ "เชื่อมโยงกับชุมชน" (32%) ตามด้วย "เพื่อสนับสนุนคนที่ชอบหรือสิ่งที่ชอบ" (30%) ในขณะที่ "การเยียวยาความเศร้า" ไม่ใช่ประเด็นหลัก (17%) ซึ่งผู้คนในช่วงวัยนี้หลายคนต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของบทบาทในชีวิต เช่น ลูกเติบโตออกจากบ้านไปใช้ชีวิตของตนเอง หรือการเกษียณอายุในการทำงาน ทำให้พวกเขามองหาเนื้อหาที่สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และช่วยให้พวกเขาค้นหาความหมายใหม่ของชีวิต

เมื่ออ้างอิงจากผลสำรวจที่สรุปออกมานั้น คุณดวงแก้ว ไชยสุริวิรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ให้มุมมองและคำแนะนำแก่นักการตลาดและผู้สร้างแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดความดึงดูดใจต่อคนในแต่ละช่วงวัย ดังต่อไปนี้

  • วัย 20+ กับการสร้าง Create-able Entertainment

ช่วงวัย 20+ ปี คือช่วงเวลาแห่งความคิดสร้างสรรค์ ค้นหาตนเอง ทดลองเรียนรู้ และทำอะไรใหม่ ๆ ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ แค่กล้าที่จะเป็นตัวเองในแบบที่ตัวเองต้องการ และแสดงไอเดียใหม่ ๆ ให้โลกได้เห็น แบรนด์ต่าง ๆ สามารถสร้างแคมเปญเพื่อให้คนช่วงวัยนี้มีส่วนร่วมได้ เช่น

  1. The Magic Hour: เปิดพื้นที่ให้วัย 20+ ได้ Co-Create ร่วมคิดและเสนอ Tagline หรือไอเดียแคมเปญใหม่ของแบรนด์ โดยเชื่อมโยงกับเทรนด์ฮิตในช่วงเวลานั้น เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับแคมเปญ
  2. "Out of purpose" Challenge: สนุกไปกับการรีวิวของต่าง ๆ อย่างมีความคิดสร้างสรรค์และไม่ซ้ำใคร! ให้แชร์ไอเดียการใช้สินค้าในแบบใหม่ แบบครีเอทีฟ และคาดไม่ถึง จุดกระแสไอเดียสุดล้ำ จุดประกายเทรนด์ใหม่ และอาจกลายเป็นไลฟ์แฮกที่คาดไม่ถึงสำหรับทุกคน!
  • วัย 30+ connect ชีวิตด้วย Realivant Entertainment

ชีวิตวัย 30+ ปี มักเต็มไปด้วยเรื่องราวและความวุ่นวาย แต่ก็ยังต้องการการเชื่อมต่อที่ 'ไม่ต้องพยายามแต่ยังมีความหมาย' แบรนด์ลองใช้กลยุทธ์เหล่านี้ได้ เช่น

  1. แคมเปญ "Real or Reel": ชวนวัย 30+ ร่วมแชร์โมเมนต์ Unfiltered ของชีวิต แสดงมุมมองของชีวิตจริง ที่มีประโยชน์และเข้าใจต่อผู้คนทั่วไป
  2. "สรุปประเด็น เทรนด์รายสัปดาห์": ช่วยให้ติดตามประเด็นข่าวสารได้ง่ายและรวดเร็วในที่เดียว ช่วยให้ผู้คนในช่วงวัย 30+ ได้อย่างมีคุณค่าในทุกช่วงเวลาของชีวิต
  • วัย 40+ คลายกังวลผ่าน Comfort-Vibe Entertainment

ช่วงวัย 40+ ปี ความบันเทิง คือ การย้อนกลับไปสู่ความทรงจำและการมีส่วนร่วมที่สนุกสนาน สำหรับชาว 40 แบรนด์สามารถเชื่อมต่อผู้คนในช่วงวัยนี้ได้ผ่านแคมเปญต่าง ๆ เช่น

  1. "Thorwback Watch Party": ชวนย้อนยุคกลับไปในช่วงเวลาแห่งความคลาสสิกในช่วงยุค 80s และ 90s ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของความทรงจำและการเชื่อมต่อทางสังคมแบบยุคอนาล็อก
  2. "5 Ingredients, 15 Minutes": ความสนุกท้าทายความคิดสร้างสรรค์และจัดการแข่งขันแบบเบาๆ ฮีลใจ พร้อมกับการผสานความทรงจำและประสบการณ์ที่มีส่วนร่วม จะช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ เข้าถึงผู้คนในช่วงวัยนี้ได้ง่ายขึ้น ทำให้ทุกช่วงเวลาของชีวิตมีความหมายและสนุกคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
  • วัย 50+ เติมเต็มชีวิตด้วยอีกครั้งด้วย Joy Join Entertainment

ความบันเทิงความเติมเต็มความสุข และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ให้กับวัย 50+ ที่กำลังเริ่มต้นการเดินทางใหม่กับชีวิตช่วงวัยหลังเกษียณ ค้นหาจุดมุ่งหมายใหม่ในชีวิตกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ซึ่งแบรนด์สามารถเข้าถึงคนวัยนี้ได้ด้วยแคมเปญตัวอย่าง เช่น

  1. "From Our Time to Yours": แคมเปญนี้จะทำให้วัย 50+ อยู่ในจุดศูนย์กลาง ที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาเก่าในรูปแบบร่วมสมัย การผสมผสานความทรงจำและความเกี่ยวข้องจะทำให้ความบันเทิงเป็นตัวเชื่อมโยงทุกยุคสมัย
  2. การสร้าง "Legacy Moments": ที่ให้วัย 50+ แบ่งปันเรื่องราวชีวิตและประสบการณ์กับคนรุ่นใหม่ ผ่านกิจกรรมออนไลน์หรือเวิร์กช็อปเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นถัดไป

จากผลสำรวจ 'Content ต่างใจ เพราะวัยต่างกัน' ฉบับนี้ ทำให้เห็นว่า ความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ เป็นความสุขที่แตกต่าง ในเส้นทางที่แตกต่างกันของแต่ละช่วงวัย เพื่อให้ความบันเทิงช่วยปลอบประโลมความวุ่นวายในโลกแห่งความจริง เป็นความสุขที่ช่วยแบ่งปันกันได้บนเส้นทางอายุที่แตกต่าง แต่หัวใจไทยเหมือนกัน ท้ายที่สุดนี้ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) จะยังคงมุ่งมั่นศึกษาพฤติกรรมของคนไทย ผ่านหลักปรัญชา Sei-Katsu-Sha ด้วยการเข้าใจผู้คนอย่างลึกซึ้งต่อไป และจะนำเสนอข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยต่อไป

ที่มา: Midas PR

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เผยผลสำรวจฉบับพิเศษประจำปี 2568 ในหัวข้อ 'Content ต่างใจ เพราะวัยต่างกัน'

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ เม.ย. OR จับมือภาครัฐและผู้ประกอบการชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP ผ่านโครงการ 'ไทยเด็ด' มุ่งเสริมแกร่งเศรษฐกิจชุมชนไทยอย่างยั่งยืน
๐๔ เม.ย. เทลสกอร์ จับมือพันธมิตร ขับเคลื่อนโครงการ 'Help You, Help Me' สู่ปีที่ 6 ผสานพลังคอนเทนต์ครีเอเตอร์ สนับสนุนโครงการเพื่อสังคม
๐๔ เม.ย. เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว สนับสนุนภารกิจกู้ภัย มอบอาหารและเครื่องดื่มให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์
๐๔ เม.ย. ร้อนๆแบบนี้ มาหมุนให้ฉ่ำ!!สนุกสุดมันส์ไปกับเครื่องเล่น Water Roller ลูกบอลน้ำมหาสนุก
๐๔ เม.ย. ซัมเมอร์นี้ชวนเช็กอินสมุย แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของชาวเวลเนส ที่ BDMS Wellness Clinic สาขา Celes Samui
๐๔ เม.ย. โซเชียลจับตา ตึกถล่ม-อาฟเตอร์ช็อก ประเด็นร้อนหลังแผ่นดินไหว
๐๔ เม.ย. กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เหียะน้อย พร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
๐๔ เม.ย. GoWabi แพลตฟอร์มจองบริการบิวตี้ครบวงจรอันดับ 1 ในไทยเปิดตัวบริการ GoWabi POS พร้อมประกาศรางวัล GoWabi Top Rated
๐๔ เม.ย. ทีทีบี เชิญชวนเที่ยว พิพิธภัณฑ์ครุฑ สืบสานพลังศรัทธา สรงน้ำ สมเด็จมหาราชทรงครุฑ เสริมพลังบุญรับปีใหม่ไทย
๐๔ เม.ย. บัตรเครดิต ทีทีบี มอบโปรฯ ฟรีอัปเกรด! HUT บุฟเฟต์ อิ่มไม่อั้น จ่ายเพียง 399 บาท