บทบาทของ AI ในตลาดการเงินและการเทรดระดับโลก
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้ปฏิวัติภาคการเงิน ด้วยการขับเคลื่อนการเทรดแบบ High Frequency Trading ซึ่งใช้อัลกอริทึมในการประเมินความเสี่ยง และวิเคราะห์ตลาดแบบเรียลไทม์ การใช้อัลกอริทึมเทรดที่ขับเคลื่อนด้วย AI ทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาล ค้นหารูปแบบแนวโน้มการซื้อขาย ตลอดจนดำเนินการคำสั่งซื้อขายภายในเสี้ยววินาที ซึ่งช่วยยกระดับประสิทธิภาพตลาด แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างความท้าทายในรูปแบบอื่นๆ ตามมา
จากการเสวนาบนเวที World Economic Forum ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่ากฎระเบียบเกี่ยวกับ AI ที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งด้านการค้าและส่งผลกระทบต่อธุรกรรมข้ามพรมแดน ในขณะที่องค์การการค้าโลก (WTO) กำลังเร่งดำเนินการเพื่อประสานแนวทางกำกับดูแล AI ให้สอดคล้องกันทั่วโลก เพื่อลดความเสี่ยงจากข้อขัดแย้งด้านกฎระเบียบและผลกระทบทางเศรษฐกิจ (World Economic Forum, 2024)
นอกจากนี้ AI ยังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตลาด แม้ว่าเทคโนโลยีอัตโนมัติจะช่วยเสริมสภาพคล่องและลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ แต่ก็ยังมีความกังวลว่า AI อาจสร้างความผันผวนต่อตลาดในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตึงเครียด สอดคล้องกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า แม้ AI จะช่วยให้ตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็อาจส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้นและความความผันผวนรุนแรงขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตึงเครียดเช่นกัน (IMF Blog, 2024)
ท่ามกลางการหารือด้านกฎระเบียบของ AI ที่ดำเนินไป บรรดาผู้มีส่วนร่วมในตลาดรวมถึงโบรกเกอร์ จำเป็นต้องปรับตัวให้สอดรับการแนวทางการกำกับดูแลที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ AI เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางอุตสาหกรรมการเงินยุคใหม่
การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน AI ของไทย
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นชาติที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผ่านการลงทุนในโครงการวิจัย การสนับสนุนสตาร์ทอัพด้าน AI และการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยี (Data Center) โดยในปี 2024 รัฐบาลไทยได้ยกระดับความมุ่งมั่นด้านนวัตกรรม AI ด้วยการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากเพื่อสนับสนุนการวิจัย ผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำและพันธมิตรภาคเอกชนหลายราย
รัฐบาลไทยภายใต้การนำของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตั้งเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจดิจิทัลให้มีสัดส่วน 30% ของ GDP ภายในปี 2030 โดยเน้นบูรณาการ AI เพื่อยกระดับภาคเกษตรกรรมและเพิ่มศักยภาพการส่งออกไปยังจีน (Reuters, 2024) กลยุทธ์นี้ได้รับการสนับสนุนผ่านการลงทุนขนาดใหญ่จากบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก รวมถึง Google ที่ประกาศลงทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36,000 ล้านบาท) ในประเทศไทย โดยเม็ดเงินดังกล่าวจะถูกนำไปใช้สร้างศูนย์ข้อมูลแห่งแรกของ Google ในจังหวัดชลบุรี และขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ของประเทศ (CNBC, 2024)
ขณะที่นโยบาย Thailand 4.0 และโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนา AI โดยเฉพาะในด้านการผลิตระบบอัตโนมัติ (Automation) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) (The Atlas of Urban Tech)
ประเทศไทยกำลังก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางของสตาร์ทอัพด้าน AI ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการบ่มเพาะธุรกิจ (Incubators) และตัวเร่งการเติบโต (Accelerators) ที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในหลากหลายสาขา เช่น ฟินเทค (Fintech) AI ด้านการแพทย์ และหุ่นยนต์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) กำลังเร่งผลักดันการวิจัยและพัฒนา AI อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ (Bangkok Post, 2025) นอกจากนี้ อุทยานเทคโนโลยีและศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ กำลังกลายเป็นจุดหมายสำคัญที่ดึงดูดบริษัท AI ระดับนานาชาติที่ต้องการขยายธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรม AI ประเทศไทยกำลังวางรากฐานเพื่อเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในภูมิภาค
Grok AI: ปฏิวัติระบบวิเคราะห์ตลาด
Grok AI กำลังเปลี่ยนโฉมการซื้อขายด้วย AI โดยใช้เทคนิค Deep Learning ขั้นสูงในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่แบบเรียลไทม์ Grok AI ยังสามารถวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ตรวจจับความผิดปกติ และพยากรณ์แนวโน้มด้วยความแม่นยำที่สูงขึ้น (Finance Alliance, 2025) ในขณะที่ตลาดการเงินพึ่งพาเทคโนโลยีอัตโนมัติมากขึ้น Grok AI กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิธีการซื้อขาย การประเมินความเสี่ยง และการพัฒนากลยุทธ์ทางการเงิน
อย่างไรก็ตาม ระบบโอเพ่นซอร์สของ Grok AI ทำให้เกิดข้อถกเถียงทั้งในแง่ศักยภาพและความเสี่ยง แม้ว่า Grok AI จะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถปรับแต่งโมเดล AI ที่เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะด้านในการซื้อขายได้ แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการกำกับดูแลและจริยธรรมของการใช้ AI ในภาคการเงิน
ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่การบูรณาการ AI อย่างมีความรับผิดชอบ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนากฎเกณฑ์เพื่อรับรองว่าการใช้ AI จะช่วยเสริมเสถียรภาพทางการเงินและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Manushya Foundation, 2024) ด้วยทิศทางเชิงนโยบายที่ชัดเจน ประเทศไทยอาจกลายเป็นหนึ่งในผู้นำด้านกรอบการกำกับดูแล AI ทางการเงินในภูมิภาค
กลยุทธ์ AI ของไทย: สมดุลระหว่างนวัตกรรมและกฎระเบียบ
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการกำกับดูแล AI อย่างเป็นระบบด้วยร่างกฎหมายสำคัญสองฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการที่ใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยกำหนดข้อบังคับที่เข้มงวดสำหรับ AI ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การประเมินคะแนนเครดิตและการพยากรณ์อาชญากรรม พร้อมทั้งกำหนดให้ AI ที่มีความเสี่ยงต่ำต้องมีความโปร่งใส และ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมนวัตกรรม AI ผ่านแซนด์บ็อกซ์ทางกฎหมาย (Regulatory Sandbox) กลไกการแบ่งปันข้อมูล และมาตรฐานการรับรอง (Baker McKenzie, 2023)
นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ได้เน้นย้ำบทบาทสำคัญของ AI ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้า ระหว่างการกล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน Federation of Thai Industries Expo (FTI) ขณะเดียวกันสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) กำลังพัฒนา AI Roadmap สำหรับภาคการผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างต่อเนื่อง (The Nation, 2025)
ประเทศไทยยังตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม AI ในระดับภูมิภาค โดยทำงานร่วมกับ UNESCO เพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาสร้างหลักจริยธรรมในการใช้ AI ขณะเดียวกัน รัฐบาลกำลังขออนุมัติกรอบการกำกับดูแล AI สำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้ AI เพื่อแก้ปัญหาด้านการเงิน ตามข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) (Bangkok Post, 2024) ด้วยแนวทางเชิงรุกนี้ ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน AI อย่างสมดุล ทั้งในแง่ของการพัฒนาเทคโนโลยีและการกำกับดูแลเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
มุมมองของ EBC Financial Group ต่อ AI ในการซื้อขายและอุตสาหกรรมการเงิน
EBC Financial Group ตระหนักถึงศักยภาพของ AI ในการเปลี่ยนแปลงการซื้อขายทางการเงิน ในฐานะเครื่องมือที่ช่วยให้การดำเนินการซื้อขายรวดเร็วขึ้น การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
เดวิด บาร์เร็ตต์ (David Barrett) ซีอีโอของ EBC Financial Group (UK) Ltd. ได้กล่าวถึงบทบาทของ AI ว่า "ภาคเทคโนโลยีกำลังเร่งแข่งขันในยุค AI ด้วยการลงทุนอย่างหนักในศูนย์ข้อมูล บุคลากร และเทคโนโลยีชิปขั้นสูง" พร้อมเน้นย้ำว่า AI ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการนำไปใช้ในตลาดการเงิน ซึ่งเป็นช่วงของการเติบโตมากกว่าการพลิกโฉมแบบฉับพลัน EBC Financial Group เชื่อว่าด้วยการพัฒนา AI อย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมการเงินจะสามารถปรับตัวและสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการให้บริการลูกค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก
ผลกระทบของ AI ต่อเทคโนโลยี การเงิน และโบรกเกอร์
นอกเหนือจากการซื้อขายหลักทรัพย์แล้ว AI ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อบริการทางการเงินและการดำเนินงานของโบรกเกอร์ โดยเฉพาะในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า การตรวจจับการทุจริต และการติดตามการปฏิบัติตามกฎระเบียบแบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ท่ามกลางกรอบนโยบาย AI ของไทยที่กำลังพัฒนา ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับสถาบันการเงินและภาคธุรกิจในการสร้างนวัตกรรม ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมและกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูล ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ และความโปร่งใสของอัลกอริทึม เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ด้วยแนวทางการพัฒนา AI ที่ชัดเจนและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ประเทศไทยกำลังก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นสำคัญในเวที AI ระดับโลก ในขณะที่ข้อกำหนดด้านกฎระเบียบมีความชัดเจนขึ้น บรรดาโบรกเกอร์ทางการเงิน รวมถึง EBC Financial Group จะได้รับประโยชน์จากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจาก AI พร้อมกับรักษามาตรฐานการกำกับดูแลที่แข็งแกร่ง
กลยุทธ์และโอกาสต่อ AI ของไทยในอนาคต
ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะใช้โอกาสการพัฒนาด้าน AI สู่การขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในภูมิภาค ผ่านการสร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมและกรอบระเบียบข้อบังคับ ประเทศไทยกำลังสร้างสภาพแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็รับรองการใช้ AI อย่างรับผิดชอบ การมุ่งสู่อนาคตของ AI ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยสามารถใช้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในหลายอุตสาหกรรม พร้อมสร้างความเชื่อมั่นในด้านการกำกับดูแลและความโปร่งใสในการใช้งาน AI อย่างยั่งยืน
เกี่ยวกับ EBC Financial Group
EBC Financial Group (EBC) ก่อตั้งขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ EBC เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา และได้เข้าร่วมโครงการ United to Beat Malaria แคมเปญของมูลนิธิองค์การสหประชาชาติ มุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพด้านสุขภาพของประชากรทั่วโลก โดยเริ่มกิจกรรมร่วมกันตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2024 EBC ยังให้สนับสนุนซีรีส์การมอบความรู้แก่สาธารณะเกี่ยวกับ What Economists Really Do นำโดยภาควิชาเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Oxford เพื่อทำให้เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมในปัจจุบัน
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.weforum.org/stories/2024/10/ai-regulation-international-trade-what-know-this-month/
https://www.imf.org/en/Blogs/Articles/2024/10/15/artificial-intelligence-can-make-markets-more-efficient-and-more-volatile
https://www.reuters.com/world/asia-pacific/thailand-pursue-new-policies-boost-protect-digital-economy-2024-11-08/
https://www.cnbc.com/2024/09/30/google-to-invest-1-billion-in-thailand-data-center-and-ai-push.html
https://atlasofurbantech.org/cases/tha-chonburi-eec/#:~:text=Overview,become%20a%20world%2Dleading%20one.
https://www.bangkokpost.com/business/general/2968236/nstda-gets-set-for-20th-annual-gathering
http://financealliance.io/how-to-use-grok-3-in-finance-and-fp-a/
https://www.trust.org/wp-content/uploads/2024/12/AI-Study-Report_Rev4_2024_11_05.pdf
https://insightplus.bakermckenzie.com/bm/attachment_dw.action?attkey=FRbANEucS95NMLRN47z%2BeeOgEFCt8EGQJsWJiCH2WAWuU9AaVDeFguGeARDEncDx&nav=FRbANEucS95NMLRN47z%2BeeOgEFCt8EGQbuwypnpZjc4%3D&attdocparam=pB7HEsg%2FZ312Bk8OIuOIH1c%2BY4beLEAe9Q37ImwtvME%3D&fromContentView=1
https://www.nationthailand.com/business/manufacturing/40046247
https://www.bangkokpost.com/business/general/2909302/thailand-in-drive-to-promote-ai-ethics