นางสาวณิชมน ถกลศรี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายนวัตกรรมธุรกิจ บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า "ผู้บริโภคปัจจุบันมีความต้องการที่หลากหลาย จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัย ตลอดจนปัจจัยทางสังคมและเทคโนโลยี ทั้งด้านความใส่ใจต่อสุขภาพ หรือความต้องการผลิตภัณฑ์เฉพาะบุคคล (Personalization) นีโอในฐานะ Segment Creator ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เราจึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานวิจัยและเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์และวัสดุภัณฑ์ การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและพัฒนากระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิธีการจัดการขยะ (Waste Management) ที่มีประสิทธิภาพ โดยนำวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรหรืออุตสาหกรรมมาเพิ่มมูลค่าให้ได้ประโยชน์สูงสุด พร้อมยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาและนักวิจัยได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงในภาคอุตสาหกรรม"
"ความร่วมมือครั้งนี้จึงเป็นอีกก้าวสำคัญของนีโอ ซึ่งตอกย้ำกลยุทธ์ 'Innovation-led Premiumization' ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อขยายเซกเมนต์ใหม่ ๆ โดยเชื่อมโยงงานวิจัยสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าออกผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่น้อยกว่า 100 SKUs ในแต่ละปี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทุกช่วงวัยและทุกไลฟ์สไตล์ สู่เป้าหมายในการเป็น FMCG ที่ช่วยยกระดับการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นในทุกวันให้กับผู้บริโภค (Uplift the Essentials for Everyday Betterment) ควบคู่กับแนวทางดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับหลัก ESG เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน" นางสาวณิชมน กล่าวเพิ่มเติม
ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า "ความร่วมมือกับ นีโอในครั้งนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก โดยเฉพาะในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยได้ส่งเสริมและผลักดันงานวิจัยที่มีประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์และสังคม เป้าหมายคือการเป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยไทยที่มีคุณภาพงานวิจัยโดดเด่นและเข้าสู่กลุ่มอันดับ 1001-1200 ของโลกในปี 2570 ความร่วมมือนี้ไม่เพียงขับเคลื่อนเป้าหมายมหาวิทยาลัย แต่ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาและคณาจารย์ร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเพื่อเสริมทักษะการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้สู่ระดับสากล ทั้งนี้จากที่นีโอได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่ยั่งยืน ทางมหาวิทยาลัยจึงได้มอบรางวัล " Excellence in Sustainable Research Collaboration Award" (รางวัลความเป็นเลิศด้านความร่วมมือในการวิจัยอย่างยั่งยืน) ให้แก่นีโอซึ่งเป็นบริษัทเอกชนแห่งแรกที่ทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มอบรางวัลนี้ให้"
ที่มา: โอกิลวี่