การปฏิรูปโลจิสติกส์ของประเทศไทยเปิดเส้นทางใหม่สู่การเติบโต

จันทร์ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๘ ๑๒:๐๕
ปลดล็อกการเติบโตสำหรับธุรกิจในภูมิทัศน์โลจิสติกส์ที่เปลี่ยนแปลงของประเทศไทยโดย ศศธร ภาสภิญโญ กรรมการผู้จัดการ เฟดเอ็กซ์ ประเทศไทยประเทศไทยกำลังเสริมสร้างบทบาทในฐานะศูนย์กลางการค้าระดับภูมิภาค โดยในปีที่ผ่านมา มูลค่าการค้าข้ามพรมแดนของประเทศพุ่งสูงถึง1.8 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้น 6.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และสูงกว่าเป้าหมายเดิมของรัฐบาลที่ตั้งไว้ 4% ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันการเติบโตนี้คือ นโยบายเชิงรุกด้านการค้าชายแดน และ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคทั้งนี้ ประเทศไทยมีแผนที่จะดำเนินการต่อเนื่องในปี 2568 โดยมีเป้าหมายให้มูลค่าการค้าประจำปีถึง 2 ล้านล้านบาทภายในปี 2570 เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
การปฏิรูปโลจิสติกส์ของประเทศไทยเปิดเส้นทางใหม่สู่การเติบโต

ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังเสริมสร้างศักยภาพในฐานะศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการใช้ประโยชน์จากที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยมหภาคและความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่โอกาสทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 9 จาก 50 ประเทศ ในดัชนีโลจิสติกส์ตลาดเกิดใหม่ปี 2568[1] ซึ่งการพัฒนาที่สำคัญอย่างการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอีคอมเมิร์ซ การเชื่อมต่อการค้าระดับภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะสามารถขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมได้

แนวโน้มเหล่านี้กำลังพลิกโฉมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยอย่างมีนัยสำคัญ การติดตามข้อมูลข่าวสารและการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถค้นพบโอกาสใหม่ ๆ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และก้าวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

การเติบโตของอีคอมเมิร์ซที่เฟื่องฟูกำลังเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านโลจิสติกส์

อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากรายงาน e-Conomy SEA 2024 โดย Google, Bain และ Temasek ระบุว่าประเทศไทยยังคงเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคาดว่ามูลค่าการซื้อขายรวม (Gross Merchandise Value) จะเพิ่มขึ้นจาก 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 เป็น 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573[2] ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความเป็นดิจิทัลสูง ปัจจุบัน 91% ของประชากรไทยใช้อินเทอร์เน็ต และเกือบ 70% นิยมซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซมากกว่าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 55.8%[3].

เมื่อมีผู้บริโภคหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น ความต้องการประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ราบรื่น ตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งซื้อไปจนถึงการจัดส่งขั้นสุดท้าย (Last-mile delivery) จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการจัดส่งที่รวดเร็ว ระบบคืนสินค้าที่สะดวก และเครือข่ายการขนส่งที่ครอบคลุมมากขึ้นกำลังผลักดันให้การเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์กลายเป็นหนึ่งในวาระสำคัญของภาคธุรกิจ เพื่อก้าวให้ทันกับแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไป องค์กรต้องเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ ตั้งแต่ ระบบอัตโนมัติในการจัดการคำสั่งซื้อ การวางแผนเส้นทางขนส่งที่ชาญฉลาด ระบบติดตามพัสดุแบบเรียลไทม์ ไปจนถึงตัวเลือกการจัดส่งที่ยืดหยุ่น ที่ เฟดเอ็กซ์ เราเห็นได้ว่าโซลูชันของเรา เช่น FedEx Ship Manager ที่ทำงานบนระบบคลาวด์ และบริการ FedEx International Connect Plus ช่วยให้ผู้ค้าอีคอมเมิร์ซเพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาประสบการณ์ให้แก่ลูกค้า และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันในตลาดที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว

การเชื่อมต่อการค้าระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งขึ้น เปิดโอกาสใหม่ทางธุรกิจ

การมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของประเทศไทยในการเสริมสร้างการเชื่อมต่อไม่เพียงแต่เสริมสร้างบทบาทในฐานะศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค แต่ยังปลดล็อกโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศอีกด้วย ประเทศกำลังดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น การขยายสนามบิน การพัฒนาท่าเรือใหม่ และโครงการแลนด์บริดจ์ ที่จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมโยงการค้าและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว-ไทย ระยะทาง 873 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศไทยและจีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หนึ่งในโครงการสำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยคือ แผนพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งมุ่งเปลี่ยนแปลงพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง โดยมีการลงทุนที่สำคัญ รวมถึงโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ตลอดจนรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อสนามบินหลักทั้งสามแห่งของประเทศ จะช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อระดับภูมิภาคและเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ โครงการเมืองอัจฉริยะและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลยังช่วยให้ธุรกิจสามารถขยายกิจการข้ามพรมแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เพื่อสนับสนุนความพยายามในการเสริมสร้างศักยภาพด้านโลจิสติกส์ เฟดเอ็กซ์ ได้ขยายศูนย์บริการที่แหลมฉบัง ให้มีขนาด 4,900 ตารางเมตร พร้อมทั้งติดตั้งเทคโนโลยีการจัดการวัสดุและการคัดแยกพัสดุขั้นสูง โดยภายในศูนย์ประกอบด้วยคลังสินค้าขนาด 4,560 ตารางเมตร รองรับโซลูชันการขนส่งหลายรูปแบบ รวมถึงโซลูชันบริการเสริมด้านโลจิสติกส์ (Value-Added Services) การพัฒนาเหล่านี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถและความยืดหยุ่นของบริษัท ในการรองรับความต้องการด้านโลจิสติกส์ที่หลากหลายของธุรกิจในพื้นที่ EEC โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์

Digitalization: ปัจจัยสำคัญใหม่ในการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น

ในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่นเป็นปัจจัยสำคัญในการรับมือกับความท้าทายของห่วงโซ่อุปทาน จากการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคไปจนถึงความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ โซลูชันโลจิสติกส์ที่มีความยืดหยุ่น เชื่อถือได้ และคุ้มค่าต่อการลงทุนจึงมีบทบาทสำคัญ

การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน หรือกระบวนการทำงาน และระบบอัตโนมัติเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับตัวและรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีอย่าง AI, การวิเคราะห์ข้อมูล และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) สามารถเพิ่มความสามารถในการมองเห็นและบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และระบบติดตามแบบเรียลไทม์ยังช่วยให้สามารถคาดการณ์ปัญหา ลดความเสี่ยง รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว

จากข้อมูลของ McKinsey & Company องค์กรที่นำ AI มาใช้ในการบริหารห่วงโซ่อุปทานก่อนคู่แข่ง สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงได้ถึง 15% ปรับการจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 35% และยกระดับการให้บริการได้ถึง 65%[4]นอกจากนี้ เฟดเอ็กซ์ ยังนำข้อมูลมาพัฒนาโซลูชันที่มีนวัตกรรมเพื่อให้ธุรกิจสามารถควบคุมห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น FedEx Surround Monitoring and Intervention ที่ช่วยในการจัดการการจัดส่งแบบเชิงรุกผ่านข้อมูลเรียลไทม์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าและโลจิสติกส์ในภูมิภาค การปรับตัวให้ทันกับการพัฒนาในอุตสาหกรรมนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ แม้ว่าเศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านการค้าจะยังคงเป็นปัจจัยท้าทาย แต่การพัฒนาหลักต่าง ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น กำลังช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของโลจิสติกส์และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ธุรกิจที่สามารถนำเทคโนโลยีและข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุง ลงทุนในห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น และใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานการค้าของประเทศไทยที่กำลังขยายตัว จะสามารถรับมือกับความท้าทายและคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฟดเอ็กซ์ ยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนธุรกิจในประเทศให้เติบโตไปพร้อมกับกลยุทธ์ของประเทศไทยในการเสริมสร้างบทบาทในฐานะศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค

[1] 2025 Emerging Markets Logistics Index

[2] e-Conomy SEA 2024 by Google, Bain, and Temasek

[3] Digital 2025 by Meltwater and We Are Social

[4] Succeeding in the AI supply chain revolution by McKinsey & Company

ที่มา: Vero

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๑๒ สธ. - ภาคีเครือข่าย ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีสุขภาวะที่ดี
๑๖:๓๓ BeNice ปล่อยไอเท็มล่าสุด! รับซัมเมอร์ BeNice Antibac Shower Cream สูตรใหม่ล่าสุด Active Shield พลังการปกป้องขั้นสุด อาบสะอาด สดชื่นตลอดวัน
๑๖:๐๐ กลุ่มเซ็นทรัล เตรียมเปิดตัว 'deCentral' ศูนย์กลางศิลปะใหม่แห่งเอเชีย พร้อมโครงการทุนสนับสนุนการผลิตผลงานศิลปะเพื่อศิลปินไทย
๑๖:๓๐ A5 ยืนยันทุกโครงการปลอดภัย ไร้ผลกระทบแผ่นดินไหว เสริมมาตรการดูแล ยกระดับความปลอดภัย - คุณภาพชีวิตลูกบ้าน
๑๕:๕๐ เป๊ปซี่(R) ประกาศรางวัล สุดยอดร้านอาหารเป๊ปซี่มิตรชวนกินแห่งปี 2025 ครั้งแรก เผยรายชื่อ 60 สุดยอดร้านเด็ดทั่วไทย การันตีความอร่อยโดยมิตรที่รู้จริง ในงาน #GrabThumbsUp Awards
๑๕:๕๙ ดีอี - ไปรษณีย์ไทย หนุนระบบขนส่งคุณภาพ ชวนเกษตรกรใช้บริการ EMS ส่งด่วนผลไม้ พร้อมอัดหลากมาตรการช่วย เสริมศักยภาพการกระจายสินค้าเกษตร
๐๑ เม.ย. วิธีสังเกตยาหมดอายุ มีอะไรบ้าง ยาแบบไหนไม่ควรทานต่อแล้ว
๐๑ เม.ย. ฉลองเทศกาลอีสเตอร์ กับกิจกรรมพิเศษ ตลอดเดือนเมษายนนี้ ที่ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ
๐๑ เม.ย. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชวนผู้ประกอบการไทยสร้างร้านค้าออนไลน์ เสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจแบบยั่งยืน
๐๑ เม.ย. วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition