แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมอนามัยแนะนำวิธีการจัดการซากปรักหักพังของอาคารที่ถล่มอย่างปลอดภัย เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1) สำรวจและประเมินความเสี่ยง โดยสำรวจสภาพโครงสร้างอาคารที่เสียหายอย่างละเอียด เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการถล่มเพิ่มเติม และวางแผนการรื้อถอนอย่างเป็นระบบ 2) คัดแยกประเภทขยะ และ ซากปรักหักพัง โดยคัดแยกขยะทั่วไป ขยะอันตราย และซากวัสดุก่อสร้างออกจากกัน เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี 3) จัดการขยะอันตราย โดยรวบรวมขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ภาชนะบรรจุสารเคมี ไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล และ 4) วิธีกำจัดซากอาคาร โดยดำเนินการฝังกลบในพื้นที่ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือเผาในเตาเผาที่มีระบบควบคุมมลพิษ กรมอนามัยขอความร่วมมือประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากเหตุการณ์ตึกถล่ม ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมอนามัย https://www.anamai.moph.go.th หรือ 1478 สายด่วนกรมอนามัย
ที่มา: กรมอนามัย