"สำหรับ กรณีเกิดแผ่นดินไหวและเกิดการถล่มของการก่อสร้างอาคารสูง รวมถึงคอนโดมิเนียมหลายแห่งเกิดการสั่นไหวรุนแรงและได้รับความเสียหายนั้น มีโอกาสและความเป็นไปได้สูงที่ผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่กำลังคิดจะมีที่อยู่อาศัยใหม่ จากเดิมอาจสนใจจะเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในเมือง แต่เมื่อประสบกับสถานการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ก็เกิดความวิตกกังวล และเปลี่ยนใจหันมาเลือกที่อยู่อาศัยแนวราบแทน แน่นอนว่า "รับสร้างบ้าน" เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคเช่นกัน โดยเฉพาะการเลือกสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเองหรือของพ่อแม่ที่มีอยู่แล้วในต่างจังหวัด ด้วยเพราะการทำงานในปัจจุบันของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่สามารถทำงานที่ใดก็ได้ สังเกตจากข่าวผู้ประสบภัยประชาชนจำนวนไม่น้อยนั่งทำงานอยู่บนคอนโดมิเนียมที่พักอาศัยของตัวเอง อย่างไรก็ดีความตกใจหรือกังวลนี้อาจเป็นแค่ระยะสั้น ๆ ในช่วง 1-2 ปี เมื่อเวลาผ่านไปความวิตกกังวลก็คงคลายลงและกลับสู่ภาวะปกติ"
ในส่วนของภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านไตรมาสแรก พบว่าบรรดาผู้ประกอบการรายใหญ่-รายเล็กต่างออกมาจัดกิจกรรมการตลาดและแข่งขันกันอย่างคึกคัก ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์หลากหลายรูปแบบที่จัดโปรโมชัน ลด แจก แถม หวังกระตุ้นกำลังซื้อและการตัดสินใจของผู้บริโภค แต่กลับพบว่าความต้องการสร้างบ้านของผู้บริโภคไม่คึกคักเท่าที่ควร เพราะส่วนใหญ่ยังคงชะลอการตัดสินใจสร้างบ้านออกไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้สถานการณ์การแข่งขันในไตรมาส 2 นี้มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะตลาดรับสร้างบ้านพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งมีผู้ประกอบการรับสร้างบ้านรายใหญ่-รายเล็กแข่งขันกันอยู่จำนวนมาก นายนิรัญกล่าว
ที่มา: พีดี เฮ้าส์ อินเตอร์เนชั่นแนล