คปภ. ออกแนวปฏิบัติใหม่ ! คุมเข้มความเสี่ยงประกันภัยต่อ ยกระดับการบริหารจัดการสร้างเสถียรภาพให้บริษัทประกันวินาศภัย

ศุกร์ ๐๔ เมษายน ๒๕๖๘ ๑๑:๐๗
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ออกประกาศแนวปฏิบัติที่ดี ในการควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2568 เพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ ที่บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำเนินการในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการประกันภัยต่อให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ที่บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำเนินการในการทำกิจกรรมด้านการประกันภัยต่อ เพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัย มีการบริหารการประกันภัยต่อและการควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อที่ดี มีการปฏิบัติอย่างรอบคอบและครอบคลุม ตามประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๖๖
คปภ. ออกแนวปฏิบัติใหม่ ! คุมเข้มความเสี่ยงประกันภัยต่อ ยกระดับการบริหารจัดการสร้างเสถียรภาพให้บริษัทประกันวินาศภัย

นายอาภากร ปานเลิศ รองเลขาธิการ ด้านกำกับธุรกิจประกันภัย สำนักงาน คปภ. เปิดเผยว่า แนวปฏิบัติดังกล่าวมุ่งเน้นให้บริษัทประกันวินาศภัยมีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมและรอบคอบ โดยแบ่งออกเป็น 2 เรื่องหลักสำคัญ ได้แก่

  1. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อ บริษัทต้องควบคุมความเสี่ยงสำคัญให้ครบถ้วน ไม่เพียงแต่เฉพาะความเสี่ยง ด้านเครดิต ด้านการปฏิบัติการ ด้านการกระจุกตัว ด้านสภาพคล่อง เท่านั้น แต่ต้องรวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการ ทำประกันภัยต่อไม่เพียงพอ หรือความเสี่ยงที่เกิดใหม่จนส่งผลกระทบต่อเงินกองทุนของบริษัทด้วย
  2. การรายงานกรอบการบริหารการประกันภัยต่อของบริษัท บริษัทต้องกำหนดนโยบายประกันต่อโดยต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ความสามารถในการทำกำไร ฐานะเงินกองทุน ในการบริหารความเสี่ยง บริษัทต้องกำหนดความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ระดับความเสี่ยงสูงสุดที่ยอมรับได้ (risk tolerance) ขีดจำกัดในการรับเสี่ยงภัยไว้เอง (retention limits) ที่ชัดเจน ในการจัดทำแผนการประกันภัยต่อ บริษัทต้องประเมินความเสียหายสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นได้ (Probable Maximum Loss : PML) กำหนดระดับการรับเสี่ยงภัยไว้เองสูงสุดต่อเหตุการณ์ (Maximum Event Retention : MER) มาตรการป้องกันและแผนรองรับ สำหรับดำเนินการให้กลับมาอยู่ภายใต้สภาวะปกติตามระดับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ ในการพิจารณาคัดเลือกผู้รับประกันภัยต่อและการใช้บริการนายหน้าประกันภัยต่อ บริษัทต้องคำนึงถึงความมั่นคงทางการเงินและความรู้ความเชี่ยวชาญด้วย นอกจากนี้ บริษัทต้องมีกระบวนการติดตามผล ตรวจสอบและทบทวนการบริหารการประกันภัยต่ออย่างสม่ำเสมอ โดยผู้บริหารมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ทบทวนแนวทางการบริหารการประกันภัยต่อเป็นประจำทุกปี และจัดส่งรายงานต่อสำนักงาน คปภ. ภายใน 90 วันหลังจากรอบวันที่รอบระยะเวลลาสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญาที่เป็นรอบหลักมีผลใช้บังคับ

"แนวปฏิบัติใหม่นี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย และส่งเสริมความมั่นคงของ ภาคธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทประกันวินาศภัยสามารถใช้การประกันภัยต่อเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับแนวทางการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวม (Enterprise Risk Management : ERM) เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบประกันภัยโดยรวมต่อไป" รองเลขาธิการ ด้านกำกับธุรกิจประกันภัยกล่าวในตอนท้าย

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๐๑ วช. ขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่ 'ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5' มุ่งลดฝุ่นพิษภาคเหนืออย่างยั่งยืน
๑๘:๐๘ TKS จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2568 ไฟเขียวจ่ายปันผลอีก 0.33 บ./หุ้น
๑๘:๔๙ STECH จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 แจกปันผลเป็นเงินสดหุ้นละ 0.034 บาท
๑๘:๒๒ SGP จัดประชุมผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติเคาะปันผลครึ่งปีหลัง 0.20 บาท/หุ้น
๑๘:๐๖ ผู้ถือหุ้น FLOYD พร้อมใจเห็นชอบ ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.08 บาท/หุ้น
๑๘:๑๑ TEKA จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 พร้อมไฟเขียวจ่ายปันผล 0.155 บาท
๑๘:๒๓ BRR จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นเคาะจ่ายปันผล 0.50 บาท/หุ้น
๑๘:๓๘ กลุ่มเหล็กรุ่นใหม่ เข้าพบ 'เอกนัฏ' ประสานเสียงให้กำลังใจ ดันยกเลิกเหล็ก IF กันเหล็กนำเข้าไร้มาตรฐาน
๑๘:๑๘ ดั๊บเบิ้ล เอ จับมือ เอเชีย เอรา วัน และกรมป่าไม้ จัดกิจกรรมรักษ์โลก สร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
๑๗:๒๘ LPH ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห. ไฟเขียวจ่ายปันผลอีก 0.10 บ./หุ้น