ในการนี้ ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ( วว.) ได้นำเสนอผลงาน "สารออกฤทธิ์ทุติยภูมิจากเห็ดหลินจือแดงสำหรับบรรเทาอาการของโรคไต" ในรูปแบบ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราเบต้าไลฟ์ ซึ่ง วว. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ให้แก่ บริษัท โฮปฟูล จำกัด และบริษัทโอดี สไตล์ จำกัด และเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการดังกล่าว โอกาสนี้ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ประธานคณะกรรมการบริหาร หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และอดีตผู้ว่าการ วว. ร่วมเยี่ยมชมนิทรรศการและให้กำลังใจนักวิจัยของ วว. ด้วย
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราเบต้าไลฟ์ วิจัยและพัฒนาโดย นางสาวอุบล ฤกษ์อ่ำ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร วว. เป็นการใช้สารออกฤทธิ์จากสารสกัดที่มี a-keto-analogs คือ cyclo(L-Pro-D-Val), cyclo(L-Pro-L-Val), cyclo(Leu-Pro) และสารในกลุ่ม glucan และ triterpene มาใช้ในการบรรเทาอาการของโรคไตและช่วยบำรุง โดยที่สารในกลุ่ม a-keto-analogs เป็นสารที่ช่วยลดปัญหาการหลั่งโปรตีนของไตได้ อีกทั้งสารสกัดที่ได้ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูอิสระชนิด ROS และยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ACE ที่เป็นสาเหตุของการเกิดความดัน และยับยั้งเอนไซม์ ?-glucosidase and ?-amylase และยังช่วยส่งเสริมตับให้ผลิตอินซูลิน ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยที่ไม่ทำลายเซลล์ไต HK-2 และไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
โดยมีผลการทดสอบจากกระบวนการสกัดสารด้วย 50% เอทาทอล ควบคุม pH 8-9 และความร้อน เพื่อให้สารในกลุ่ม a-keto-analogs aminoacid ละลายออกมาสูง และยังคงมีสารในกลุ่ม glucansและ triterpene ด้วย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราเบต้าไลฟ์ ถือเป็นการใช้สารสกัดจากเห็ดหลินจือ ที่เน้นการนำสารออกฤทธิ์ในกลุ่ม a-keto-analogs aminoacid ซึ่งพบในเห็ดหลินจือแดงมาใช้ประโยชน์ และลดการขับโปรตีน ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของกรวยไตได้
การนำเสนอผลงาน วว. ในเวทีระดับนานาชาติ ณ นครเจนีวา นับเป็นโอกาสที่ดีในการแสดงศักยภาพของนักวิจัย วว. ด้านการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ และสร้างโอกาสที่ดีให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก วว. ในการประชาสัมพันธ์ผลงานให้เป็นที่รู้จักในตลาดระดับสากล โดยภายในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 มีผู้เข้าร่วมงานจากนานาประเทศ ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน มหาวิทยาลัย นักประดิษฐ์ นักวิจัย ผู้ประกอบการ สำนักงานจดทะเบียนสิทธิบัตร หน่วยงานด้านการถ่ายโอนเทคโนโลยีและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงผลงานมากกว่า 1,000 ผลงาน จากกว่า 45 ประเทศทั่วโลก
ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย