PwC ชี้ธุรกิจไทยน้อยกว่าครึ่งให้อำนาจฝ่ายปฏิบัติตามกฎระเบียบในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ศุกร์ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๘ ๑๒:๑๘
PwC ประเทศไทย เผยผลสำรวจล่าสุดพบ องค์กรไทยยังละเลยในการให้ความสำคัญกับฝ่ายงานปฏิบัติตามกฎระเบียบของตน โดยน้อยกว่าครึ่งขาดอำนาจในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ขณะที่ผู้บริหารจำนวนมากไม่มีแผนลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อการตรวจสอบด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการตีความข้อบังคับ แนะธุรกิจไทยวางกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ชัดเจน มีผู้นำด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสม และลงทุนเทคโนโลยี เพื่อเอาชนะการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบที่จะยิ่งทวีความซับซ้อนมากขึ้น
PwC ชี้ธุรกิจไทยน้อยกว่าครึ่งให้อำนาจฝ่ายปฏิบัติตามกฎระเบียบในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

นางสาว สินสิริ ทังสมบัติ หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึง "รายงานผลสำรวจการปฏิบัติตามกฎระเบียบทั่วโลกประจำปี 2568 ฉบับประเทศไทย: ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์การปฏิบัติตามกฎระเบียบ" ว่า องค์กรไทยส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญต่อฝ่ายปฏิบัติตามกฎระเบียบ (compliance function) ของตนไม่เพียงพอ โดยมีเพียง 42% ของผู้นำฝ่ายปฏิบัติตามกฎระเบียบของไทยเท่านั้นที่กล่าวว่า พวกเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ขององค์กร เปรียบเทียบกับผู้นำฝ่ายปฏิบัติตามกฎระเบียบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ 51%

"การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกฎระเบียบข้อบังคับ ระบบนิเวศอุตสาหกรรม และความเสี่ยงทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค อีกทั้งความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทำให้การดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดิม ๆ ไม่ยั่งยืนอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารจึงควรต้องผลักดันให้ฝ่ายปฏิบัติตามกฎระเบียบของตนเป็นศูนย์กลางของการสร้างโมเดลการปฏิบัติตามกฎหมายใหม่อย่างแท้จริง ซึ่งการให้อำนาจในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์นั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้บริษัทสามารถมองเห็น ยอมรับ และจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม และยังช่วยปกป้องและสร้างมูลค่าให้กับองค์กรในระยะยาว" นางสาว สินสิริ กล่าว

ทั้งนี้ รายงานฉบับประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของ "รายงานผลสำรวจการปฏิบัติตามกฎระเบียบทั่วโลกประจำปี 2568" ที่ PwC ได้สำรวจผู้บริหารจำนวนทั้งสิ้น 1,802 ราย ซึ่งรวมถึงผู้บริหารจากประเทศไทยจำนวน 36 รายในช่วงระหว่างเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน 2567

นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า 61% วางแผนที่จะให้ฝ่ายปฏิบัติตามกฎระเบียบของตนมีส่วนร่วมในนวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ (business model innovation) ขณะที่ 58% ต้องการให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีการตรวจสอบด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการตีความข้อบังคับ นางสาว สินสิริ กล่าวต่อว่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบของธุรกิจในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นยังคงตามหลังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยรายงานระบุว่า 72% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ใช้เทคโนโลยีในการฝึกอบรมด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (เทียบกับ 81% ในเอเชียแปซิฟิก) ขณะที่ 62% ใช้เทคโนโลยีในการเปิดเผยข้อมูลตามข้อบังคับ (เทียบกับ 71% ในเอเชียแปซิฟิก) และ 57% ใช้เทคโนโลยีในการติดตามประเด็นปัญหา (เทียบกับ 66% ในเอเชียแปซิฟิก) ตามลำดับ

ยิ่งไปกว่านั้น รายงานระบุว่า 41% ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยกล่าวว่า ตนไม่มีแผนลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อการตรวจสอบด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ขณะที่ 35% กล่าวว่า ไม่มีแผนลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อการระบุและตีความข้อบังคับต่าง ๆ โดยนางสาว สินสิริ กล่าวเสริมว่า สาเหตุหลักอาจเนื่องมาจากหน่วยงานการปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศไทยยังคงพึ่งพาดุลยพินิจของบุคลากรในการตรวจสอบและการระบุข้อกฎหมายและการตีความเป็นหลัก "ความลังเลในการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อการดำเนินงานด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบของธุรกิจไทย เมื่อเปรียบเทียบกับในระดับภูมิภาคจะส่งผลต่อความสามารถของประเทศในการจัดการกับความท้าทายด้านกฎระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อบริษัทต้องการพัฒนานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์และการดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ ๆ" นางสาว สินสิริ กล่าว

เมื่อพิจารณาถึงวัฒนธรรมองค์กรด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (compliance culture) ผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทย 44% กล่าวว่า วัฒนธรรมด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรของพวกเขาอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าวให้แข็งแกร่งต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง (75%) การฝึกอบรมและการสื่อสารกับพนักงาน (53%) และการเน้นย้ำถึงความสำคัญของนโยบาย ขั้นตอน และแนวทางปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ชัดเจน (33%)

"เหนือสิ่งอื่นใด การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ไม่ใช่เรื่องของการทำตามกฎเท่านั้น แต่เป็นการตระหนักถึงการทำในสิ่งที่ถูกต้องอย่างเป็นปกติโดยได้ต้องรับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารและมีวัฒนธรรมในการส่งเสริมการปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องและฝังอยู่ในการดำเนินงาน ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงการมีกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ชัดเจน มีการแต่งตั้งผู้นำด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและให้อำนาจทีมงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการลงทุนในเทคโนโลยีที่จำเป็นซึ่งทั้งหมดจะเป็นวิธีที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการกับความท้าทายและความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น" นางสาว สินสิริ กล่าว

ที่มา: PwC Thailand

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๐๐ ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๒:๐๐ กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๑:๒๐ แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๑:๐๐ ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๑:๐๗ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๑:๓๐ EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๑:๓๓ ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๑:๐๙ ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๑:๐๗ DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๑:๓๑ โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก