SME ไทยในคลื่นเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันทางการค้า Funding Societies ชี้โอกาสของ SME ในยุคแห่งความผันผวน

อังคาร ๒๒ เมษายน ๒๕๖๘ ๑๒:๐๐
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกธุรกิจต้องเผชิญกับความผันผวนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โรคระบาดใหญ่ทั่วโลก ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงแนวโน้มการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ล่าสุด มาตรการภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐอเมริกาได้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปยังประเทศคู่ค้าหลายแห่ง โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด
SME ไทยในคลื่นเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันทางการค้า Funding Societies ชี้โอกาสของ SME ในยุคแห่งความผันผวน

ความเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกายังคงมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ โดยในปี 2567 มูลค่าการค้ารวมระหว่างสองประเทศอยู่ที่ประมาณ 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออกจากไทยไปยังสหรัฐฯ ราว 6.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เข้ามายังประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์ และอาจเป็นแรงผลักดันให้รัฐบาลสหรัฐฯ เร่งดำเนินมาตรการเพื่อลดช่องว่างทางการค้า

ในบริบทนี้ นายวิกาส เจน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Funding Societies ประเทศไทย ซึ่งเป็น แพลตฟอร์มการเงินดิจิทัลแบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ให้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SME ที่เน้นการส่งออก

มาตรการภาษีใหม่ที่ประกาศโดยสหรัฐฯ ในอัตราสูงสุดถึง 36% นั้น สูงกว่าที่ภาคธุรกิจเคยคาดการณ์ไว้มาก นายวิกาส กล่าวว่า "ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศชะลอการบังคับใช้เป็นเวลา 90 วัน แต่ SME ไทยจำนวนมากมีเวลาเตรียมตัวน้อย หากคำสั่งซื้อถูกชะลอหรือยกเลิกเพื่อรอดูสถานการณ์ ธุรกิจ SME ที่ไม่มีแผนสำรองอาจเผชิญภาวะเงินฝืดเคืองทันที โดยเฉพาะสินค้าที่เน้นการส่งออก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์เกษตร โลหะ ยางพารา และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกเกิดการหดตัวลงอย่างมีนัยยะ"

นอกจากผลกระทบโดยตรงจากมาตรการภาษีนำเข้าแล้ว สิ่งที่น่าจับตามองไม่แพ้กันคือแนวโน้มที่สถาบันการเงินจะปรับเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อให้เข้มงวดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ส่งผลให้แม้แต่ผู้ประกอบการ SME ที่มีศักยภาพก็อาจเผชิญความยากลำบากในการเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างทันท่วงที เพิ่มแรงกดดันต่อการดำเนินธุรกิจในช่วงเวลาที่ความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการอยู่รอด

ภายใต้เงื่อนไขเช่นนี้ สถานการณ์กลับเปิดทางให้ผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน เข้าสู่ตลาดไทยด้วยการระบายสินค้าคงคลังจำนวนมากในราคาต่ำลงผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลให้การแข่งขันทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และยังอาจกระทบต่อข้อได้เปรียบด้านราคาและต้นทุนของผู้ประกอบการไทย ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางการตลาดที่ยังค่อนข้างเปิดและเอื้อต่อการเข้าถึง

ขณะเดียวกัน จีนยังเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเร่งขยายการค้าสู่ตลาดระดับภูมิภาคและระดับโลกอย่างแข็งขัน ยิ่งซ้ำเติมแรงกดดันต่อผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถานการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ผู้กำหนดนโยบายจะต้องเตรียมมาตรการสนับสนุนด้านการค้าและการเงินอย่างรอบด้าน เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความท้าทายก็ยังมีโอกาสปรากฏให้เห็น โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีความคล่องตัวและสามารถปรับทิศทางสู่ตลาดภายในประเทศ หรือใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพื่อขยายช่องทางการขายและเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

"ธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการภายในประเทศ เช่น ธุรกิจสุขภาพและwellness อุปกรณ์การแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการหมุนเวียนเร็ว(FMCG) การท่องเที่ยวและการบริการที่พัก การก่อสร้างและบริการซ่อมแซม รวมถึงธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ต่างมีศักยภาพในการเติบโตที่ได้รับการสนับสนุนจากกำลังซื้อภายในประเทศ ขณะเดียวกัน SME ที่เคยพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ควรพิจารณาขยายการตลาดไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น ยุโรป อินเดีย ตะวันออกกลาง หรือประเทศในเอเชียอื่นๆ"

"SME ไทยต้องสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ประสบปัญหาสภาพคล่อง ขณะเดียวกัน ต้องเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับปรุงสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว" วิกาส กล่าวเสริม

การเปลี่ยนแปลงในการแข่งขันสร้างโอกาสใหม่ให้กับผู้ปล่อยสินเชื่อดิจิทัลและกลุ่มนอนแบงค์ ที่มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี AI และโมเดลวิเคราะห์ความเสี่ยงทางเครดิตที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้สามารถตัดสินใจปล่อยสินเชื่อได้อย่างรวดเร็วและตรงกับศักยภาพของแต่ละธุรกิจ ในขณะที่ SME ต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

นายวิกาส แสดงความมั่นใจว่า ผู้ปล่อยสินเชื่อดิจิทัลและกลุ่ม Non-Bank เช่น Funding Societies จะมีบทบาทสำคัญในการปิดช่องว่างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับ SME ที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งแต่ไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนในช่วงเวลาที่ความเสี่ยงสูง และสถาบันการเงิน มักลดการปล่อยสินเชื่อเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ Funding Societies ใช้เทคโนโลยี AI และโมเดลการประเมินเครดิตสมัยใหม่ที่ประเมินธุรกิจตามผลการดำเนินงานจริงและศักยภาพการเติบโต ซึ่งทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างรวดเร็วและยืดหยุ่น และเปิดโอกาสให้ SME ที่อาจถูกมองข้ามได้รับการสนับสนุนทางการเงิน นอกจากนี้ บริษัทยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินหลากหลายที่ออกแบบเฉพาะสำหรับลูกค้า B2B เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องและการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง

"เรามองว่า SME คือรากฐานของเศรษฐกิจ หากพวกเขารอด พวกเขาจะเติบโต และเมื่อพวกเขาเติบโต เศรษฐกิจก็จะมั่นคงในระยะยาว" นายวิกาสกล่าวทิ้งท้าย

Funding Societies มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเติบโตของ SME ไทยไม่เพียงแต่ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อ แต่ยังช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงโอกาสสำคัญในเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงเวลาท้าทาย บริษัทยังคงมุ่งเน้นในการให้บริการผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในระยะยาวในหลากหลายภาคธุรกิจ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม https://fundingsocieties.co.th

*ในประเทศไทย Funding Societies ดำเนินธุรกิจ 2 ส่วนที่ต่างกันคือ FS Siam Co., Ltd. ได้รับความเห็นชอบการระดมทุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ FS Capital Co., Ltd. เชี่ยวชาญในการให้กู้ยืมโดยตรงแก่ธุรกิจขนาดเล็ก โครงสร้างนี้ช่วยให้ Funding Societies สามารถตอบสนองความต้องการทางการเงินที่หลากหลายภายในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: Funding Societies Thailand

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๓ ทรูมันนี่ และ แอสเซนด์ บิท จับมือ วรุณา สนับสนุนป่าไม้ไทยสู่ความยั่งยืน ร่วมเดินหน้าโครงการนำร่องคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้
๑๔:๒๓ กลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทย เปิดตัว ออร์บิกซ์ กรุ๊ป ให้บริการที่ครอบคลุมทั้งระบบนิเวศสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสินทรัพย์ดิจิทัลในงานฟินเทคระดับโลก Money20/20
๑๔:๓๑ แรบบิทแคชส่งแคมเปญ กระเป๋าเงินทุนออนไลน์ กระเป๋าเงินทุนที่เข้าใจหัวใจ คนค้าขาย พร้อมเคียงข้างพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ให้ฝันไปต่อได้ทุกวัน
๑๔:๒๕ ฮั่วเซ่งเฮงผนึกกำลังไปรษณีย์ไทย ต่อยอดธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับฮั่วเซ่งเฮง ช้อปออนไลน์
๑๔:๒๘ CKPower สานต่อ โครงการหิ่งห้อย ปีที่ 8 เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ส่งมอบอาคารห้องสมุดประหยัดพลังงาน
๑๓:๕๖ Trinket ปฏิวัติวงการ Merch หรือสินค้าของเหล่าศิลปิน เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่สุดล้ำ Hyper-Personalized Merch แบบ limited edition
๑๓:๔๔ สวารอฟสกี้ เนรมิตความซุกซนของมินเนียนผ่านประกายคริสตัล
๑๒:๔๖ GREEN MARKET ตลาดกรีนของเมืองหัวหินมาแว้ว
๑๒:๒๔ วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด ใบเตย เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย
๑๒:๔๘ กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือเกษตรเขต 2 พร้อมเกษตรจังหวัด 8 จังหวัด ประชุมขับเคลื่อนสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ภาคตะวันตก เพิ่มรายได้เกษตรกร 3 เท่าใน 4