"จากกรณีการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด จากรอยเลื่อนสะกาย ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณเมืองมัณฑะเลย์ และได้มีผลกระทบมาจากประเทศไทย เมื่อเดือนมี.ค.2568 ที่ผ่านมา วิทยาเขตของมทร.ล้านนาที่ได้รับผลกระทบจะเป็นพื้นที่เชียงราย และลำปาง ซึ่งขณะนี้ได้มีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์ทั้งในส่วนของภาควิศวกรรมศาสตร์ และภาควิชาที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบและประเมินความเสียหาย พบว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มทร.ล้านนา ลำปาง ได้รับความเสียหายบางส่วน และอาคารบางส่วนของมทร.ล้านนา เชียงรายมีรอยร้าว แต่โครงสร้างของอาคารต่างๆ ไม่ได้รับผลกระทบ และตอนนี้ได้มีการซ่อมรอยร้าว กลับมาใช้งานได้ปกติและไม่มีนักศึกษาหรือบุคลากรได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งได้มีการจัดทำคู่มือเตรียมพร้อมรับมือและข้อปฏิบัติเพื่อให้ปลอดภัยจากภัยแผ่นดินไหวแก่นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย และชาวบ้าน" รศ.วิเชษฐ กล่าวและว่า ทั้งนี้ มทร.ล้านนา ได้มีการมอบหมายให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยจัดทำคู่มือ และวางมาตรฐานป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว รวมถึงการช่วยเหลือชาวบ้าน ชุมชนต่างๆ โดนเน้นการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจ เตรียมพร้อมรับมือกับการเกิดแผ่นดินไหว เพราะต่อให้แผ่นดินไหวอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทย แต่เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้วมักจะเกิดซ้ำ
รศ.วิเชษฐ กล่าวต่อไปว่า คณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์โยธา ได้มีการจัดทำแบบจำลองการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อรับมือกับสถานการณ์การเกิดแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งมีการลงพื้นในวิทยาเขตต่างๆ ทั้งเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง และวิทยาเขตอื่นๆ เพื่อให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการข้อปฎิบัติในการดูแลตัวเองเพื่อให้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว เรื่องของสิ่งปลูกสร้างกับแผ่นดินไหว อาคารสถานที่ และการพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหว ขณะที่คณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยได้มีการศึกษา งานวิจัยโดยมีความร่วมมือกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยรังสิต
"ด้วยเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ทั้งอุทกภัย แผ่นดินไหว หรือโรคระบาดต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจทำให้หลายคนเกิดความตื่นตระหนก หรือกังวล ดังนั้น อยากให้ทุกคนเตรียมพร้อมดูแลตัวเอง ครอบครัว และปฎิบัติตามคู่มือๆ รวมถึงคำแนะนำจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยว และไม่ต้องตื่นตระหนัก หรือวิตกกังวล" รศ.วิเชษฐ กล่าว.
ที่มา: แมวกวัก