สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025

ศุกร์ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๘ ๑๓:๓๙
ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นประธานในพิธีประกาศผลและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในระดับนักเรียน โครงการ GLOBE Student Research Competition (GLOBE SRC) 2025 พร้อมด้วย นางสาวเขมวดี พงศานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สสวท. ร่วมในพิธีและมอบเกียรติบัตรให้ครูและนักเรียนที่เข้าร่วมการประกวดฯ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุม Convention AB โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ
สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท.กล่าวว่าโครงการ GLOBE SRC เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยพัฒนา "วิทยาศาสตร์การเรียนรู้" ซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในพื้นที่ของตนเอง พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงระบบ และการแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับโลก

ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก Ms. Severine Leonardi (คุณเซเวอรีน เลโอนาร์ดี) รองผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจแก่นักเรียนผู้เข้าร่วมงาน พร้อมยืนยันการสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยในด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

งานในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในหมู่นักเรียนไทย ผ่านการทำวิจัย จากบริบทจริงในชุมชน โดยมีการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ การสังเกต การเก็บข้อมูล และการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนทั่วประเทศ

กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงานประกอบด้วยการนำเสนอผลงานวิจัยสิ่งแวดล้อมจากโรงเรียนต่าง ๆ พร้อมคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิจาก สสวท. และด้านวิทยาศาสตร์ นิทรรศการและกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมแบบโปสเตอร์ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งพิธีมอบรางวัล GLOBE SRC 2025 และ GLOBE TSS 2025

สำหรับปีนี้ผลงานวิจัยของนักเรียนที่ได้รับรางวัล โครงการ GLOBE Student Research Competition (GLOBE SRC) ประจำปี 2568 แบ่งเป็น 4 ประเภท โดยได้รับโล่รางวัล พร้อมเกียรติบัตรและเงินรางวัล ดังนี้

รางวัลดีเด่น การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่

ผลงานวิจัย เรื่อง การศึกษาสมบัติของดินในแปลงปลูกผักอีหลืน และแนวทางการจัดการดินเพื่อปลูกผักอีหลืนและพืชทดลองโดยใช้ขี้เถ้าแทนการเผาหน้าดิน จากโรงเรียนบ้านห้วยห้อม มีนักเรียนได้แก่ เด็กหญิงพิชยา พัชรพนา เด็กหญิงยุวดี ไม่มีชื่อสกุล เด็กหญิงดาหลา ไม่มีชื่อสกุล และครูที่ปรึกษา คือ นายวรภพ จินวรรณ นางฉันทนา ศรีศิลป์

ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำและความหลากหลาย ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในบึงหนองบัว อำเภอเมืองอุบลราชธานี จากโรงเรียนนารีนุกูล นักเรียนที่วิจัย เด็กชายภานุพงศ์ วรรณวงษ์ เด็กหญิงณปภัช มิ่งแนน เด็กหญิงทรงพรพรหม ยอดคุณ และครูที่ปรึกษา นางสาวเบญจพร จันทร์จำปา นางสาวสุกัญญา กัญกาญจนะ

ผลงานวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบลักษณะและสมบัติของดินบางประการที่ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพของปลวก ในบริเวณสวนมะพร้าวและสวนปาล์มน้ำมันในตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จาก โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม มีนักเรียน คือ นายธนาพิสุทธิ์ เพทาย นางสาวกัลยกร รัตนมณี นางสาวณัฐรดี ไชยกุล และครูที่ปรึกษา นายณัฐสิทธิ์ อุ่นแก้ว นางสาวธีระรัตน์ อรุณรัตน์

รางวัลระดับประถมศึกษา มีผลงานที่ได้รับรางวัลจำนวน 6 ผลงาน แบ่งเป็น

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเรื่อง การศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในป่าไผ่เพื่อการอนุรักษ์ป่าไผ่ริมแม่น้ำยวม หมู่บ้านห้วยวอก ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ำดิบ จากฝีมือของนักเรียน เด็กหญิงไอริณ ใฝ่ฝากพร เด็กหญิงกัญญาณัฐ วัชรดิสกุล เด็กหญิงธัญชนก บุญยวง ครูที่ปรึกษา นางตวิษา พรรณสุข นางสาวสุภาวรรณ สิงขรไชย

รองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาผลของหญ้าแฝกที่มีต่อคุณสมบัติของดินบริเวณริมชายฝั่งแม่น้ำ ในจังหวัดเชียงใหม่ จากโรงเรียนวารีเชียงใหม่ โดยนักเรียนเด็กชายตั้งมั่น ตั้งมั่นคงเด็กหญิงณปภัช ธนะพัฒน์ เด็กหญิงจุฑารัตน์ แก้วมานวล และ ครูที่ปรึกษา นางสาวรัตนาภรณ์ แหวนเพ็ชร นางสาวกุณฑลี ปันอิ่น

รองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาคุณภาพน้ำและปริมาณแพลงก์ตอนพืช ในช่วงการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณอ่าวทองคำ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จากโรงเรียนปทุมานุกูล ด้วยฝีมือของนักเรียน เด็กหญิงพรรณนวสรวง ดนตรี เด็กหญิงจิรัชญา หมึกดำ เด็กหญิงพิชชาพร เอียดเพ็ง และ ครูที่ปรึกษา นางสาวรัชดา ยุโส๊ะ นายภาคภูมิ สังข์ช่วย

ส่วนรางวัลชมเชย 3 ผลงาน ได้แก่โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ โรงเรียนบ้านแม่ขรี (สวิงประชาสรรค์) จังหวัดพัทลุง และโรงเรียนวัดไม้เสี่ยว จังหวัดนครราชสีมา

รางวัลระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลงานที่ได้รับรางวัลจำนวน 6 ผลงาน แบ่งเป็น

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ผลงานวิจัย เรื่อง การศึกษาสมบัติของดินและสภาพแวดล้อมบางประการที่ส่งผลต่อการเกิดดินสไลด์ เพื่อการเฝ้าระวังในจุดเสี่ยงภัยหมู่บ้านจอมกิตติ ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ของโรงเรียนชุมชนบ้านน้ำดิน จากฝีมือของนักเรียน เด็กหญิงอธิชา ดงเขาเขียวเด็กหญิงศุภสุตา คุณคำ เด็กหญิงดวงฤทัย อมรใฝ่สติ และครูที่ปรึกษา นางสาวนฤนาท วัฒนวงษ์ นางสาวกันต์กมล คุณรัตน์

รองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำทางกายภาพและทางเคมีบางประการกับความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช บริเวณห้วยไผ่กุดหิน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จากโรงเรียนชุมแพศึกษา ด้วยฝีมือของนักเรียน เด็กชายพิชชานนท์ เบี้ยกระโทก เด็กชายปัญญพงษ์ ไตรสรณะศาสตร์ เด็กชายนรุตม์ชัย อักษรเจริญ และครูที่ปรึกษา นายอภิวัฒน์ ศรีกัณหา นายบัญชา เม้าทุ่ง

รองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ของความชื้นในดินต่อการกระจายตัวของปูนา ในฤดูกาลหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี พื้นที่ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน โดยทีมนักเรียน เด็กชายพงศ์พศวัต เหลืองรัตนา เด็กชายพิทยุตม์ ชุมยางสิม เด็กชายภูดิส ถานะ และครูที่ปรึกษา นายราชันย์ ต้นกันยา นายเชิดศักดิ์ ศรีเมือง

ส่วนรางวัลชมเชย 3 ผลงาน ได้แก่ทีมจากโรงเรียนชุมแพศึกษา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัย ตรัง และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ฝ่ายมัธยม โดยได้รับมอบโล่รางวัล พร้อมเกียรติบัตรและ เงินรางวัล

รางวัลระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีผลงานที่ได้รับรางวัลจำนวน 6 ผลงาน ประกอบด้วย

รางวัลชนะเลิศ ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคนิคการปลูกหญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ ในการยึดต้นเพื่อเพิ่มอัตราการรอดและการเจริญเติบโต โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัย ตรัง จากฝีมือของทีมวิจัย นายอับดุลฟัตตะฮ์ อวนข้อง นายปัณณธร วุ่นแก้ว ครูที่ปรึกษา นางสาวอาภาศรี ชุ่มชื่น นางศิริขวัญ หนูพุทธิ

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ผลงานวิจัย เรื่อง การศึกษาคุณภาพดินที่ส่งผลต่อขนาดและน้ำหนักหัว ปริมาณแป้ง และคุณภาพแป้งของต้นเท้ายายม่อม (Tacca leontopetaloides) ในบริเวณหาดราชมงคลตรัง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัย ตรัง ผู้วิจัยประกอบด้วย นางสาวณัฐชยา รุ่งโรจน์อสนีนางสาวญาณิตา แก้วบัวทอง ครูที่ปรึกษา นางสาวหนึ่งฤทัย ชัยมณี นางสาลามิหย๊ะ กิตติบุญญาทิวากร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ผลงานวิจัย เรื่อง การศึกษาคุณภาพดินและน้ำที่ส่งผลต่อคุณภาพส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม บริเวณตำบลควนชะลิก อำเภอหัวไทร และบริเวณบ้านแสงวิมาน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง โดยทีมผู้วิจัยคือ นายชัยณรงค์ มากแก้ว นายณัฐกร สงจีน นางสาวศิริพร คามานันท์ ครูที่ปรึกษา นายณัฐพงศ์ เสนขวัญแก้ว นางพัชรา วัฒพรหม

สำหรับรางวัลชมเชย 3 ผลงานได้แก่ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ โรงเรียนนานาชาติไชรส์เบอรี่ กรุงเทพฯ และโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล

ในปีนี้ยังมีการมอบรางวัล GLOBE Thailand Teacher Shining Star (GLOBE TSS) 2025 แก่ครูผู้มีผลงานโดดเด่นในการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยมีรางวัล 3 ประเภท ได้แก่

ประเภท GLOBE Young Scientist Inspiration ได้แก่ นางศิริขวัญ ทนูพุทธิ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง และ นายชุมพล ชารีแสน โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์

ประเภท Earth System Science Curriculum Implementation ได้แก่ นางขวัญใจ กาญจนศรีแม้ โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง

ประเภท Climate Change Learning Activities ได้แก่ นางบรรณารักษ์ ตัญจพัฒน์กุล โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
สสวท. ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนและครูที่ปรึกษาทุกท่านที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ และทุกโรงเรียนที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด เพื่อส่งเสริมการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในเยาวชนไทย โดยกิจกรรมในครั้งนี้จะจุดประกายแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียน ครู และผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนให้ร่วมกันขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต

ที่มา: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๒ Electronic Nose นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน
๑๗:๐๑ ITEL ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 68 ไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
๑๗:๐๓ สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
๑๗:๕๙ คาเฟ่ แคนทารี ชวนมาลิ้มลองเมนูพิเศษประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 อร่อยครบเครื่องทั้งรีซอตโตต้มยำ เครป
๑๗:๑๗ ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่ออาชีพแก่เยาวชนในจังหวัดภาคใต้
๑๗:๑๑ ซีพีแรม ดีเดย์ เปิดเวที FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก
๑๗:๑๙ ดีไซน์เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง: อาดิดาส ออริจินอลส์ เผยโฉม ADIZERO ARUKU พร้อมพื้นรองเท้าแบบโปรเกรสซีฟ
๑๖:๒๘ พรีโม จับมือ Q-CHANG จัดทัพทีมช่างกว่า 2,000 ทีม! ยกระดับบริการซ่อมห้องชุด ตอกย้ำแนวคิด Primo Happy Maker
๑๖:๓๙ ครั้งแรก กับ Dance (แดนซ์) Glossy Body Hair Perfume Mist น้ำหอม 2-in-1 พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เก๋ไก๋ บุกใจกลางกรุง ชวนสาวๆ
๑๖:๕๓ SCB CIO ชี้ 3 ปัจจัยกระทบตลาดการเงินฉุดสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวน แนะระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ระยะสั้นคุณภาพดี และ