บุคคลชั้นนำและนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ ร่วมประชุมในกรุงเทพฯ เพื่อเจรจาและเสริมสร้างพันธมิตร

พุธ ๑๔ มีนาคม ๒๐๐๗ ๑๔:๑๔
กรุงเทพฯ--14 มี.ค.--เทิล ควอลิตี้ พีอาร์
อธิการบดี อธิการบดีกิตติคุณ คณบดี ตัวแทนจากทั้ง 7 คณะ/สถาบันการศึกษา และกลุ่มนักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ (WUSTL) จะเข้าร่วมประชุมกับบุคคลชั้นนำของเอเชียและคณะผู้บริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 11-13 มีนาคม 2550 โดย อธิการบดี มาร์ค เอส. ไร้ท์ตั้น กล่าวว่า จุดประสงค์หลักของการมาเยือนครั้งนี้เพื่อติดตามและเจรจาความคืบหน้าในการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเอเชียชั้นนำทั้ง 16 แห่ง ซึ่งรู้จักกันในนามของกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ ( McDonnell International Scholars Academy )
นอกจากนี้ การมาในครั้งนี้ยังมีกำหนดจัดงานสัมมนา โดยคณาจารย์ผู้มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ (WUSTL) ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กฎหมายสากล ธุรกิจ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ศิลปศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งผู้แทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมในการสัมมนาดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน
นับตั้งแต่ปี 2538 มร. ไร้ท์ตั้น ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สถานศึกษาและสถาบันเพื่อการวิจัยที่มีมูลค่ามากถึง 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ US News and World Report ได้จัดอันดับให้ติดอันดับของหนึ่งในสิบสองสถาบันที่ดีที่สุด มร.ไร้ท์ตั้น เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และได้รับรางวัล MacArthur “Genius” Award ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และยังเป็นอดีตประธานที่ประชุมการศึกษาธุรกิจขั้นสูงแห่งสหรัฐอเมริกา ท่านเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานสมาคมมหาวิทยาลัยแห่งอเมริกาในช่วงปี 2547-48 ซึ่งประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยชั้นนำ 62 แห่งในอเมริกาเหนือ
ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันผู้มาเยือนประเทศไทยจะเข้าร่วมประชุมกับสมาชิกของคณะที่ปรึกษานานาชาติสำหรับเอเชียของมหาวิทยาลัย (IACA) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำทางการศึกษาและนักธุรกิจดีเด่นจาก 10 ประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ถึงคุณสุเมธ เจียรวานนท์ ประธานบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในประเทศไทย งานประชุม IACA ในกรุงเทพฯ จะจัดขึ้น ณ โรงแรมเพนนินซูล่า ในวันที่ 11-13 มีนาคม ผู้เข้าร่วมประชุมรวมไปถึงอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
ในขณะที่งานสัมมนาจะจัดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณาจารย์ผู้มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน อาทิ:
- ศ. ดร. สตีเฟ่น เอช. เลอกอมสกี้ นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงงระดับนานาชาติทางด้านกฎหมายการย้ายถิ่นฐาน และเป็นอาจารย์รับเชิญทั้งที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์
- ศ. ดร. พราทิม บิสวาส ประธานสมาคมการศึกษาวิจัยละอองของเหลวในอากาศแห่งสหรัฐอเมริกาและหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเคมีของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
- ศ.นพ. แฟรงค์ ซี.พี. ยิน เป็นนักวิศวะชีวเวชผู้มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นผู้นำของโครงการทางวิศวะเวชศาสตร์ชั้นนำโครงการหนึ่งของอเมริกา ซึ่งก่อตั้งมาเกือบหนึ่งทศวรรษ การไหลเวียนของโลหิตและกลไกการทำงานของเนื้อเยื่ออ่อนเป็นส่วนหนึ่งของหัวข้อการค้นคว้าที่ได้รับการบุกเบิกโดย นพ. ยิน
- ศ. ดร. เชอร์รี่ ไดค์ ผู้อำนวยการห้องทดลองด้านการควบคุมโครงสร้างและวิศวกรรมแผ่นดินไหวของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมเพื่อรับมือแผ่นดินไหวของสิ่งก่อสร้างที่ใช้เทคโนโลยียุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสะพานที่มีช่วงกลางยาว
- ศ. ดร. เจมส์ ที. ลิตเติ้ล ผู้อำนวยการของหลักสูตร EMBA ซึ่งติดอันดับ 1 ในประเทศจีน ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เกิดจากร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยวอชิงตันและมหาวิทยาลัยฟูดาน ณ นครเซี่ยงไฮ้ อีกทั้งท่านยังเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน โปรแกรมยุโรปนานาชาติ
- ศ. ดร. โกแทม เอ็น. ยาดามะ ทูตมหาวิทยาลัยวอชิงตันประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำหรับกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ (McDonnell International Scholars Program) ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับการที่ประชากรผู้ด้อยโอกาสสามารถมีหน้าที่การงานในประเทศกำลังพัฒนาได้อย่างประสบความสำเร็จ
นอกจากนี้ยังมีผู้นำอีกหลายท่านที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยพร้อมกับอธิการบดีมาร์ค เอส. ไร้ท์ตั้น ได้แก่ จอห์น เอฟ. แม็คดอนเนลล์ อดีตประธานกรรมการบริษัทแม็คดอนเนลล์ ดักลาส คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์; วิลเลี่ยม เอช. แดนฟอร์ท อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์; ราล์ฟ เอส. ควอตราโน หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา และศาสตราภิชาน เงินทุน Spencer T. Olin; เอ็ดวาร์ด เอส. มาเซียส รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและคณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านมลภาวะอากาศ; โรเบิร์ต อี. แตช คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์; แมรี่ แซนซาโลน คณบดีสถาบันวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ประยุกต์; มาเฮนดรา อาร์. กุพต้า คณบดีแห่งสถาบันธุรกิจโอลิน; เอ็ดวาร์ด เอฟ. ลอร์เลอร์ คณบดีแห่งสถาบันสังคมสงเคราะห์บราวน์; คาร์มอน โคแลนเจโล่ คณบดีคณะการออกแบบและทัศนศิลป์ แซม ฟ็อกซ์; เจฟฟ์ ไพค์ คณบดีวิทยาลัยศิลปศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัยศิลปศาสตร์; แลร์รี่ เจ. ชาปิโร่ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารกิจการแพทย์และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน; เค็นท์ ดี. ซีเวอรุด คณบดีคณะนิติศาสตร์; เจอรัลด์ เออร์รี่ ผู้อำนวยการศูนย์มนุษยชาติ; และเจมส์ วี. เวิร์ช ผู้อำนวยการกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์
มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ เป็นสถาบันการศึกษาขนาดกลางอิสระของเอกชนที่เน้นทั้งการสอนและการทำวิจัย โดยถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มีผู้รับรางวัลโนเบลจำนวนถึง 22 ท่าน ที่ผ่านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน โดย 9 ท่านในจำนวนนี้ได้ทำส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่เป็นต้นแบบสำคัญในประเด็นต่างๆ ณ ที่แห่งนี้
นักศึกษาปริญญาตรี บุคคลทำงาน และบัณฑิตราว 13,500 คนที่ลงทะเบียบกับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน มาจาก 50 รัฐ และในอีกมากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก มหาวิทยาลัยมีคณาจารย์ 3,098 ท่าน ทำการสอนใน 7 คณะ/สถาบัน ได้แก่ ศิลปศาสตร์ สถาบันธุรกิจโอลิน สถาบันการออกแบบและทัศนศิลป์ แซม ฟ็อกซ์ คณะวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะนิติศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และสถาบันสังคมสงเคราะห์บราวน์
มหาวิทยาลัยฯมีหลักสูตรมากกว่า 90 หลักสูตร และ 1,500 รายวิชาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยระบบการเรียนการสอนมีทั้งแบบดั้งเดิมและสหวิทยาการ พร้อมหลักสูตรวิชาโทและหลักสูตรที่มุ่งหัวข้อความสนใจเฉพาะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฤทัยวรรณ ตันวงษ์วาน
บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2260-5820 ต่อ 114 โทรสาร 0-2260-5847-8 อีเมล์: [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO