ปลูกพืชเทคโนชีวภาพวันนี้ช่วยลดภาวะเรือนกระจกอันเนื่องมาจาก CO2 ที่ถูกปลดปล่อยซึ่งเท่ากับลดจำนวนรถยนต์ 3.6 ล้านคัน ใน 1 ปี

พฤหัส ๑๙ กรกฎาคม ๒๐๐๗ ๑๑:๕๑
กรุงเทพฯ--19 ก.ค.--สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์
ปี 2549 เป็นปีแรกของทศวรรษที่สอง (เริ่มตั้งแต่ปี 2549-2558) ของการผลิตพืชเทคโนชีวภาพในเชิงการค้า พื้นที่ปลูกพืชเทคโนชีวภาพยังคงมีอัตราการขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเลข 2 หลัก โดยมีอัตราเพิ่ม 13% หรือเพิ่มขึ้น 12 ล้านเฮกตาร์ (75 ล้านไร่) รวมเป็นพื้นที่ปลูกทั้งหมด 102 ล้านเฮกตาร์ (637.5 ล้านไร่)
ตั้งแต่มีการปลูกพืชเทคโนชีวภาพเป็นการค้า พืชเทคโนชีวภาพสร้างปรากฏการณ์หลายอย่าง โดยในปี 2549 เป็นครั้งแรกที่จํานวนเกษตรกรที่ปลูกพืชเทคโนชีวภาพมีสูงกว่า 10 ล้านครอบครัว (10.3 ล้านครอบครัว) ใน 22 ประเทศทั่วโลก พื้นที่ปลูกสะสมระหว่างปี 2539-2549 เท่ากับ 577 ล้านเฮกตาร์ หรือประมาณ 3,600 ล้านไร่ เท่ากับพื้นที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศจีน คิดเป็นการเพิ่มที่สูงมากถึง 60 เท่า นับได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้านพืชที่มีอัตราการนําไปประยุกต์ใช้ได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์
อัตราการยอมรับที่สูงเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพอใจของเกษตรกรต่อผลิตภัณฑ์เทคโนชีวภาพที่ให้ประโยชน์ในหลายรูปแบบ เช่น ความสะดวกและทางเลือกในการบริหาร จัดการระบบปลูกพืช ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต หรือมีผลตอบแทนต่อเฮกตาร์สูงขึ้น ประโยชน์ต่อสุขอนามัยและสังคม และสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นเนื่องลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกําจัดศัตรูพืช ส่งผลให้เกิดการผลิตแบบเกษตรยั่งยืน อัตราการยอมรับพืชเทคโนชีวภาพอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึง แนวทางการพัฒนาที่มั่นคงและต่อเนื่องสําหรับเกษตรกรรายใหญ่รายย่อย ผู้บริโภค และสังคมของประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกําลังพัฒนา
การศึกษาผลกระทบของพืชเทคโนชีวภาพในระดับโลกเป็นครั้งแรกที่พิมพ์ใน “ISAAA Briefs (36) GM Crops: The First Ten Years — Global Socio-Economic and Environmental Impacts” โดย เกรแฮม บรูคส์ และปีเตอร์ บาร์ฟุท นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ทำการสำรวจผลกระทบของพืชเทคโนชีวภาพระหว่างปี 2539-2548 พบว่า เกษตรกรได้รับประโยชน์ทั้งในทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ
ประโยชน์สุทธิด้านเศรษฐกิจของโลกที่เกษตรกรผู้ปลูกพืชเทคโนชีวภาพได้รับในปี 2548 ประมาณ 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และผลประโยชน์สะสมระหว่างปี 2539-2548 อยู่ที่ 27 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 931,500 ล้านบาท (13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สําหรับประเทศกําลังพัฒนา และ 14 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สําหรับประเทศอุตสาหกรรม) ซึ่งได้มาจากการลดปริมาณสะสมของสารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ โทร 0-2940-5264

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ