ธนาคารทหารไทยเป็นองค์กรต้นแบบ ปรับกระบวนการทำงานภายในองค์กรครั้งสำคัญ ตามหลักการ Services-Oriented Architecture (SOA) เพื่อการบริการธุรกรรมทางการเงินแห่งอนาคต

พฤหัส ๑๑ มกราคม ๒๐๐๗ ๑๐:๒๖
กรุงเทพฯ--11 ม.ค.--ไอบีเอ็ม
วันที่ 11 มกราคม 2550 …. ธนาคารทหารไทยเดินหน้ามุ่งสู่การเป็นธนาคารคุณภาพ พัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการดำเนินธุรกิจภายในองค์กรอย่างต่อเนื่องโดยร่วมมือกับไอบีเอ็มประกาศเป็นองค์กรต้นแบบที่ปรับกระบวนการทำงานภายในองค์กรในหลายส่วนบริการธุรกรรมทางการเงินตามหลักการของ Service-Oriented Architecture (SOA) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กร ปรับปรุงคุณภาพ ความรวดเร็วในการให้บริการธุรกรรมทางการเงินให้ฉับไว และการบริหารกำกับดูแลความเสี่ยงตาม Basel II
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจด้านธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ และธุรกิจหลักทรัพย์ ได้แก่ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ วิเทศธนกิจ และธุรกิจอื่นๆ โดยมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าผ่านเครือข่ายสาขารวมทั้งสิ้น 464
สาขา สำนักแลกเปลี่ยน 95 แห่ง รวมทั้ง ให้บริการผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เป็นธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีสินทรัพย์ 736,508 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นธนาคารที่มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นอันดับห้าในระบบธนาคารพาณิชย์ของไทย
นางสาวสายพิน กิตติพรพิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานเทคโนโลยี ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “สืบเนื่องจากวิสัยทัศน์ของธนาคารฯ ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของบริการทั่วทั้งองค์กร ทำให้ธนาคารฯ ตัดสินใจปรับระบบงานหลายระบบ ธนาคารฯ เล็งเห็นว่า SOA เป็นสถาปัตยกรรมไอที ที่สามารถช่วยให้การพัฒนาระบบสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และคุ้มค่าต่อการลงทุน ท่ามกลางความกดดันจากสภาวการณ์การแข่งขันสูงในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารและมีกฎระเบียบควบคุมของทางการที่เข้มงวดมากขึ้น ธนาคารฯ จึงไว้วางใจเลือกไอบีเอ็มในฐานะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ด้าน SOA ชั้นนำของโลก ที่มีผู้เชี่ยวชาญและมีการลงทุนในด้านการวิจัยพัฒนาเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีด้าน SOA มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารฯ มีความมั่นใจต่อเสถียรภาพในการนำมาใช้งานธุรกิจของธนาคาร”
ก่อนหน้าการปรับกระบวนการทำงานภายในครั้งสำคัญนี้ ธนาคารฯ บริหารจัดการงานหลากหลาย อาทิ ระบบ Core Banking, Branch System, Electronic Banking, Trade Finance, Treasury, Data Warehouse และระบบย่อยอื่นๆ อีกมากมายเกือบร้อยแอพพลิเคชั่น ซึ่งต่างประมวลผลอยู่บนระบบคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการหลากหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Mainframe, UNIX, Tandem และ Windows ขณะเดียวกัน หลายกระบวนการทำงานของแผนกงานต่างๆ ยังจะต้องทำงานเชื่อมโยงข้ามกันไปมา ทำให้ระบบต่างๆ มีการทำงานเชื่อมโยงข้ามระบบและแพลตฟอร์ม ส่งผลให้การจัดการระบบไอทีเพื่อมารองรับแผนงานทางธุรกิจของธนาคารฯ ประสบกับความยุ่งยากซับซ้อนในการพัฒนาหรือเพิ่มขยายระบบ หรือหากธุรกิจต้องการปรับเปลี่ยนหรือเติมความต้องการใหม่ๆ ก็ทำให้สายงานเทคโนโลยีต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยนนาน ซึ่งบางครั้ง อาจไม่ทันกับความต้องการทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การปรับกระบวนการทำงานตามหลักการของ Service-Oriented Architecture (SOA) ครั้งนี้ ธนาคารฯ เลือกใช้ IBM
WebSphere เป็นมิดเดิลแวร์หลัก ในการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมาตรฐานเปิดตามแบบ SOA สำหรับหลายส่วนงาน อาทิ
- ระบบ Cash Management ที่ต้องมีการพัฒนาในส่วนของการเชื่อมต่อกับระบบหลังบ้านหลายระบบงาน ที่ประมวลผลอยู่บนหลากหลายแพลตฟอร์ม
- ระบบ ROSCs (Report on the Observance of Standards and Codes) ที่ต้องพัฒนาให้แล้วเสร็จทันตามกำหนดเวลาของทางการ ปปง.
- บริการโอนเงินข้ามธนาคารผ่านเคาน์เตอร์สาขา (Inter-bank Transfer via Teller) ที่ใช้เวลาในการพัฒนาเพียง 1 เดือน ซึ่งสามารถให้บริการได้ทันต่อความต้องการของธุรกิจ เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ธนาคารฯ ได้ทำการพัฒนาและปรับปรุง ตัดลดขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจต่างๆ ควบคู่กันไปด้วย (Business Process Improvement) โดยการจัดทำระบบเชื่อมโยงระบบอย่างเป็นบูรณาการ หรือ Straight Thru Process ในส่วนงานสินเชื่อ (Unsecured Loan) ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง โดยระบบจะทำการดึงข้อมูลที่ได้ผ่านการอนุมัติแล้วจากระบบ Credit Scoring เพื่อบันทึกข้อมูลลูกค้า เปิดบัญชีเงินกู้ ไปจนถึงการโอนเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากในระบบคอร์แบงค์กิ้งให้โดยอัตโนมัติแบบออนไลน์เสร็จเรียบร้อยในขั้นตอนเดียว ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินการรวดเร็วกว่าเดิมมากกว่า 50% มีความถูกต้อง ลดภาระงานและลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน ( Operational Risk ) ตามข้อกำหนด Basel II รวมทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลงได้
การปรับกระบวนการทำงานและระบบไอทีตามหลักการ SOA ช่วยให้ธนาคารฯ สามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ หรือปรับปรุงแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานอยู่เดิม สามารถทำงานเชื่อมต่อกันกับระบบเดิมที่มีอยู่หลากหลายเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านแพลตฟอร์ม ภาษาในการพัฒนาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ หรือแม้กระทั่งประเภทของเครื่อง นอกจากนี้ การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบน IBM WebSphere Solution ตามหลักการของ SOA สามารถนำ Service เดิมที่พัฒนาใช้งานอยู่แล้วกลับมาใช้กับระบบงานใหม่ (Reusability) ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาใหม่ทุกครั้ง ทำให้ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว มีความถูกต้องและมีความปลอดภัยสูง
นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ขณะที่องค์กรธุรกิจและภาครัฐ รวมถึงชุมชนมาตรฐานเปิดและองค์กรไอทีมาตรฐานสากลทั่วโลกกำลังตื่นตัวและตระหนักว่า SOA กำลังทวีบทบาทความสำคัญในโลกธุรกิจและอุตสาหกรรมไอทีทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ไอบีเอ็มมีความยินดีที่ธนาคารทหารไทยได้เริ่มเป็นองค์กรต้นแบบในประเทศไทยและในระดับภูมิภาคอาเซียนในการเริ่มปรับขั้นตอนภายในขององค์กรและระบบไอทีไปตามหลักการของ SOA ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมและช่วยให้ธนาคารทหารไทยบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจในอนาคต”
เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
คุณกุลวดี โอฬารพันธุ์สกุล โทร 02-273-4013 อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ