TCELS พร้อมปันข้อมูลยีนเสี่ยงเกิดPTSDกับทั่วโลก

พุธ ๒๘ มีนาคม ๒๐๐๗ ๑๑:๐๗
กรุงเทพฯ--28 มี.ค.--TCELS
TCELS ส่งยีน PTSD ตรวจญี่ปุ่น 1 มิ.ย.นี้ คาดปลายปีเสร็จสามารถวิเคราะห์ได้ใครเสี่ยงเป็นโรค และหาวิธีป้องกันได้ตั้งแต่ยังไม่ป่วย พร้อมปันข้อมูลในฐานะที่มีกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมากสุดกับนานาประเทศ หลังพบโรคดังกล่าวเป็นปัญหาทั่วโลก จากเหตุภัยธรรมชาติ และภาวะสงคราม
นายกำจร พลางกูร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ป่วยจากโรคผู้ที่มีอาการเครียดหลังเกิดเหตุวิกฤต หรือ PTSD (Post Traumatic Stress Disorder) เป็นจำนวนมากจากเหตุภัยพิบัติอันเกิดจากภัยธรรมชาติ และจากเหตุการณ์ความไม่สงบในหลายพื้นที่รวมถึงกรุงเทพมหาคร และไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่ประสบปัญหา ขณะนี้ทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับโรคดังกล่าว อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ที่พบว่า ทหารที่ไปรบประเทศอิรักมีอาการ PTSD เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสำคัญและเร่งหาทางป้องกันตั้งแต่ยังไม่ป่วย
“นับเป็นความโชคดีของประเทศไทยที่สามารถเก็บยีนของผู้ป่วย PTSD และเครือญาติ จากเหตุคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา ได้จำนวนกว่า 3,000 ตัวอย่าง ซึ่งมีปริมาณเพียงพอต่อการวิเคราะห์เพื่อยืนยันผลว่ายีนมีผลต่อการเกิดโรคนี้หรือไม่ โดยในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ นักวิจัยจากประเทศไทยซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก TCELS จะส่งยีนดังกล่าวเพื่อส่งตรวจที่สถาบันพันธุกรรมมนุษย์แห่งประเทศญี่ปุ่น คาดว่าประมาณปลายปีนี้จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่ายีนมีผลต่อการเกิดโรคหรือไม่ ซึ่งหากทำได้นอกจากจะเป็นความสำเร็จของชาวเอเชียแล้วยังถือเป็นผลสำเร็จของคนทั่วโลกด้วย” นายกำจร กล่าวว่าและว่า หากทั่วโลกที่มีประชากรมีอาการ PTSD ประเทศไทยสามารถแบ่งปันข้อมูลเพื่อประโยชน์ต่อการวิเคราะห์และสามารถหาทางป้องกันได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ จิตแพทย์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีส่วนในการสำรวจผลกระทบด้านจิตใจและปัจจัยทางพันธุกรรมของการเกิดภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสึนามิ กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาตนและทีมงานเดินทางไปพบผู้ป่วย PTSD ณ พื้นที่จังหวัดพังงา พบว่าแม้เหตุการณ์ TSUNAMI จะผ่านมากว่า 2 ปีแล้วก็ตามแต่ผู้ป่วยบางรายยังมีอาการซึมเศร้าอยู่ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง ซึ่งไม่แต่เฉพาะเหตุการณสึนามิเท่านั้น เหตุการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ที่ประเทศไทยประสบอยู่ก็มีความเสี่ยงจะทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นการดีที่ญี่ปุ่นจะร่วมมือกับประเทศไทยวิเคราะห์ยีนเพื่อหาความสัมพันธ์ของการเกิดโรค และสามารถหาทางป้องกันได้ตั้งแต่ยังไม่ป่วย โดยให้ความรู้และดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อพบว่าคนในครอบครัว มีปัจจัยเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคดังกล่าว หรืออาจจะเยียวยาด้วยวิธีการพัฒนายาใหม่ให้ตรงโรค
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO