สู่ทศวรรษที่ 2 สถาบันไทย-เยอรมัน ชู “ นวัตกรรม ” พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย

พฤหัส ๐๕ เมษายน ๒๐๐๗ ๑๑:๒๔
กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--สถาบันไทย-เยอรมัน
สถาบันไทย-เยอรมัน ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ชู “ นวัตกรรม ” เป็นหัวหอกในการ เพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต ผนึกเครือข่ายพันธมิตรพัฒนาองค์ความรู้ บุคลากร และเทคโนโลยีให้อุตสาหกรรมไทย หวังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเชีย
รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย-เยอรมัน เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ ในการก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 ของสถาบันไทย-เยอรมัน ว่า สถาบันฯ วางตำแหน่งตนเองไว้ในฐานะผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ที่ต้องมีความเป็นเลิศในการพัฒนา การถ่ายทอด และการจัดการในระดับมาตรฐานสากล มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาเพื่อให้บริการในด้านต่างๆมีความสำคัญ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง พร้อมร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในการวางรากฐานที่มั่นคงทั้งด้านการพัฒนาองค์ความรู้ บุคลากร และเทคโนโลยี เพื่อนำพาสถาบันฯ ไปสู่อนาคตของการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชีย โดยเฉพาะในโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต และโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์
“ ในการก้าวสู่ปีที่ 11 สถาบันไทย-เยอรมัน จะชูแนวคิด นวัตกรรม : เครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และผลิตภาพ เพื่อพัฒนา และผลักดันอุตสาหกรรมต่างๆโดยรวมของประเทศ ให้สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมต่างๆของโลกได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า นวัตกรรม เท่านั้น ที่เป็นทางออกของการแข่งขันในโลกปัจจุบัน เนื่องจากต้นทุนในด้านต่างๆของประเทศไทย ที่เคยเป็นข้อได้เปรียบในอดีต ไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบที่จะสามารถนำมาใช้ในการแข่งขันได้อีกแล้ว จึงเป็นพันธกิจของสถาบันฯ โดยตรงในการชี้นำ และพัฒนาออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อนำร่องให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศ ” รศ.ณรงค์ กล่าว
และตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา สถาบันไทย-เยอรมัน ได้มีส่วนอย่างมากในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมไทยในภาพรวม ไปสู่ความยั่งยืน ควบคู่ไปกับแผนงานของการพัฒนาประเทศ และได้ริเริ่มดำเนินพันธกิจสำคัญต่างๆเป็นจำนวนมาก ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยดำเนินงานอยู่ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม และมีคณะกรรมการสถาบันฯ คอยกำกับดูแล
ด้านผลงานรูปธรรมที่สถาบันไทย—เยอรมันพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ กับเครื่องจักรกล และอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ การสร้างเครื่องย่อยทำลายธนบัตรให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย การพัฒนาซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง การพัฒนาช่างแม่พิมพ์ และช่างเทคนิคให้กับบริษัทต่างๆ เป็นต้น ส่วนผลงานที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ เช่น การสานงานของภาครัฐ ในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศในแต่ละช่วง โครงการเพิ่มทักษะเสริมศักยภาพครูฝึก และร่วมร่างมาตรฐานของฝีมือแรงงาน การบูรณาการพันธกิจ และทรัพยากร เพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย โครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ทั้งระบบ และงานสร้างเครื่องจักรกล เป็นต้น
สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมที่ คุณยอดยิ่ง แสนยากุล
ที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์
สถาบันไทย-เยอรมัน
โทรศัพท์ 081 376 3690
E-mail : [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ