กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--GTZ
สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน (GTZ) ภายใต้โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจภาครัฐได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารออมสิน (ธอส.) รวมทั้งสถาบันการเงินภาคเอกชนในนามของสมาคมธนาคารไทย ดำเนินโครงการเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Services for Improving Financial Access - SIFA) สำหรับ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน กุ้ง มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ รวมทั้งกระดาษสา โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ปี พศ. 2550 จนถึง ปลายปี พศ. 2551ภายใต้โครงการ SIFA จะมีการดำเนินการโครงการย่อยและบริการในรูปแบบต่างๆที่จะเป็นประโยชน์และเอื้อต่อการเข้าถึงบริการทางการเงิน โดย GTZ จะร่วมมือกับสถาบันการเงินจากภาคเอกชนซึ่งมีสาขาและจุดบริการที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย SMEs ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายผลของโครงการออกสู่ตลาดในวงกว้างมากขึ้น โดยจะนำแนวทางการพัฒนาตลาดบริการ (Service Market Development Approach) ในรูปแบบใหม่ๆ มาใช้ในการออกแบบโครงการย่อย เพื่อลดข้อจำกัดของบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีอยู่ในตลาดการเงินปัจจุบัน โครงการย่อยจะประกอบด้วยบริการในด้านต่างๆ ดังนี้
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินในรูปแบบใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านสินเชื่อและบริการทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ของผู้ประกอบการ SMEs
- การพัฒนาศักยภาพของสถาบันการเงินทั้งด้านแนวความคิด การออกแบบคิดค้นนวัตกรรมทางการเงินที่เหมาะสมเพื่อนำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังขาดแหล่งเงินทุน
- การปรับปรุงกรอบนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตลาดบริหารทางการเงินของ SMEs
มร. เจมส์ โทเมคโค ผู้อำนวยการ กลุ่มงานบริการทางธุรกิจและการเงิน GTZ ประจำประเทศไทย กล่าวว่าโครงการเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการทางการเงิน (SIFA) เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทย-เยอรมัน ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โครงการ SIFA จะเน้นการเข้าถึงบริการทางการเงินเพื่อตอบสนองอุปสงค์หรือความต้องการทางการเงินของ SMEs ทั้งนี้เนื่องจากทางโครงการตระหนักดีว่าผู้ที่ให้บริการทางการเงินหลักแก่ SMEs ในประเทศไทยคือสถาบันการเงินภาคเอกชนหรือธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีการรวมตัวกันผ่านทางสมาคมธนาคารไทย ดังนั้นการร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทย (TBA) จึงจะเป็นการขยายผลให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงบริการทางการเงินได้มากยิ่งขึ้น”
“โครงการฯ จะเน้นการพยายามสร้างความเข้าใจให้สถาบันการเงินภาคเอกชนหันมาสนใจปล่อยสินเชื่อแก่กลุ่ม SMEs ที่ยังขาดแหล่งเงินทุนดังกล่าว และชี้ให้เห็นว่าเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพทางธุรกิจ และสามารถสร้างผลกำไรเชิงพาณิชย์ต่อสถาบันการเงินได้” มร. โทเมคโค กล่าวเสริม
แผนภาพข้างล่างแสดงให้เห็นแนวทางการดำเนินการ และผลที่คาดว่าจะได้รับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยผ่านการปรับปรุงการเข้าถึงบริการทางการเงิน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
ศิริพร ตรีพรไพรัช
ผู้จัดการฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน ประจำประเทศไทย
โทรศัพท์ 02 661 9273 ต่อ 13 โทรสาร 02 661 9281 อีเมล์ [email protected]
- ธ.ค. ๒๕๖๗ กสิกรไทยชวนอาเซียนสร้างมาตรฐานการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกันผลักดันการเกิด ASEAN Taxonomy
- ธ.ค. ๒๔๘๗ ITEL โชว์ศักยภาพดาต้า เซ็นเตอร์ แห่งที่ 2 คว้างานสถาบันการเงินมาครองมูลค่าประมาณ 140 ลบ.หนุนผลงานทั้งปี 61 เติบโตโดดเด่น
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: SME Development Bank ร่วม MOU เครือข่ายศูนย์บ่มเพาะดิจิทัลสตาร์ตอัพ