คณะอนุกรรมการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมสภากทม. ติดตามแผนงาน ร.ร. ฝึกวิชาชีพ บ่อนไก่

พุธ ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๐๗ ๑๗:๒๖
กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--กทม.
นายเอก จึงเลิศศิริ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ประธานคณะอนุกรรมการ การพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม พร้อมคณะอนุกรรมการ เดินทางไปรับฟังแนวทางการดำเนินงานพร้อมปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียน ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (บ่อนไก่) พื้นที่เขตปทุมวัน โดยมีนายอนันต์ ราชาเดช ผู้อำนวยการโรงเรียน และเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาสังคม เข้าร่วมประชุมชี้แจง
โรงเรียนฝึกวิชาชีพกรุงเทพมหานคร (บ่อนไก่) ได้กำหนดนโยบายและทิศทางในการพัฒนาโรงเรียนฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้ง 4 ด้าน อาทิ การพัฒนาด้านอาคารสถานที่ การพัฒนาด้านหลักสูตร การพัฒนาด้านการเรียนการสอน และพัฒนาด้านบุคลากรและองค์กร และได้เพิ่มการพัฒนาขึ้นอีก 2 ด้าน คือ การพัฒนาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและมวลชนในเชิงบูรณาการ และพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์โรงเรียน
สำหรับปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียนฝึกวิชาชีพ (บ่อนไก่) ที่อนุกรรมการฯ ได้รับทราบคือ จากการที่กรุงเทพมหานครมีนโยบายในการจัดทัศนียภาพบริเวณสวนลุมพินีให้เป็นระเบียบ จึงจำเป็นต้องย้ายศูนย์ฝึกวิชาชีพ (ลุมพินี) มารวมที่เดียวกับโรงเรียนฝึกวิชาชีพ (บ่อนไก่) ด้วยสถานที่มีพื้นที่จำกัดคับแคบ อีกเกิดปัญหาทั้งทางด้านกายภาพ ทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อม ขยะที่มากขึ้น การจราจร สถานที่จอดรถไม่เพียงพอ การจัดกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้รับความสะดวก เกิดปัญหาเสียงดังจากเครื่องขยายเสียงที่เปิดใช้ในการประชาสัมพันธ์ไม่เป็นเวลา ทำให้เกิดปัญหาการร้องเรียนบ่อยๆ และเกิดความเข้าใจผิด ในการร้องทุกข์ พื้นอาคารชั้นเรียนและห้องน้ำ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถดูแลความสะอาด เนื่องจากมีปริมาณนักศึกษาหรือนักเรียนจำนวนมากเกิดกำหนด ซึ่งทางคณะอนุกรรมการฯจะประสานทางผู้เกี่ยวข้องและผลักดันเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาสภากรุงเทพมหานครต่อไป
ประธานอนุกรรมการฯ กล่าวว่า โรงเรียนฝึกวิชาชีพ (บ่อนไก่) มีปัญหาหลายด้านที่เห็นสมควรรับการแก้ไข โดยปัญหาส่วนใหญ่ ที่พบคือ อาคารสถานที่คับแคบแออัด พร้อมกับปัญหาซ้ำซ้อนในด้านหลักสูตรการเรียนวิชาชีพ เพราะมีศูนย์ฝึกอบรมร่วมกัน อีกทั้งมีการทับซ้อน 3 รูปแบบ คือ วิทยาลัยชุมชน โรงเรียนฝึกวิชาชีพ และศูนย์ฝึกอาชีพ ทำให้เกิดปัญหาเป็นอย่างมากในการจัดระเบียบ ทำให้ประชาชนผู้เข้าสับสน ทั้งนี้ในที่ประชุมทางอนุกรรมการฯ ได้เสนอให้รวบรวมทั้งหมดเข้าด้วยกัน รวมถึงการพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการปรับขยายพื้นที่และจัดระเบียบบริเวณโรงเรียนให้เพียงพอต่อหลักสูตรวิชาชีพและรองรับความต้องการของประชาชน อีกทั้งเพิ่มหลักสูตรการศึกษาเทียบเท่า ปวช . หรือถ้าเป็นไปได้ถึงขั้นอนุปริญญา ปริญญาตรี เข้าอยู่ในหลักสูตร ซึ่งจะทำให้ประชาชนสนใจมาฝึกวิชาชีพมากขึ้น ไม่เกิดปัญหาการว่างงาน และสามารถที่จะเพิ่มบุคลากรให้รองรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ