มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครเปิดหลักสูตร หัวเหว่ย-3คอม เน็ทเวิร์ค อะคาเดมี มอบโอกาสที่ดีเลิศในการศึกษาด้านเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแก่นักศึกษา

พุธ ๐๔ เมษายน ๒๐๐๗ ๑๖:๕๑
กรุงเทพฯ--4 เม.ย.--เพนเนอร์-แมดิสัน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (มทม.) ลงนามบันทึกความร่วมมือกับ หัวเหว่ย-3คอม (H3C) ในการบรรจุหลักสูตร หัวเหว่ย-3คอม เน็ทเวิร์ค อะคาเดมี (H3C Network Academy) ในหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยภายในปีการศึกษานี้ โดยใช้งบประมาณ 6 ล้านบาท สำหรับการจัดหาอุปกรณ์ระบบเครือข่าย มุ่งยกระดับมาตรฐานสูงสุดให้กับเทคโนโลยีเครือข่ายและฝึกอบรมนักศึกษาให้พร้อมเป็นบุคลากรมืออาชีพด้านเทคนิคระบบเครือข่ายที่มีความรู้ความสามารถ
ดร. เผ่าภัค ศิริสุข หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กล่าวถึงความสำคัญที่กำลังเพิ่มขึ้นของโครงข่ายคอมพิวเตอร์ (computer networking) ความต้องการเจ้าหน้าที่เทคนิคที่มีความรู้ความสามารถ นอกจากนั้นยังเล็งเห็นถึงความจำเป็นของการพัฒนาเทคโนโลยีระบบเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
“เราคิดว่า การเรียนการสอนจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อนักศึกษาได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และมีโอกาสได้ทดลองทำงานกับอุปกรณ์ที่มีใช้งานจริงในท้องตลาด เช่น สวิทช์ เราเตอร์ ไฟร์วอลล์ (Firewall)” ดร. เผ่าภัค กล่าว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยฯ มีห้องปฏิบัติการโครงข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีความทันสมัยระดับโลก และมีอุปกรณ์เครือข่ายที่ก้าวล้ำซึ่งพร้อมให้นักศึกษาได้ฝึกใช้งานรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ครบครัน เพื่อให้หลักสูตร การเรียนการสอนมีมาตรฐานสูงสุดและนักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนให้มีความเป็นมืออาชีพ นอกจากนี้ ห้องสมุดระบบคอมพิวเตอร์ยังเก็บรวบรวมหนังสือกว่า 100,000 เล่ม พร้อมสื่อการศึกษาอื่นๆ เช่น วารสาร วีดีทัศน์ ไมโครฟิล์ม และดีวีดีรอม
เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครจึงได้ร่วมมือกับ H3C เนื่องด้วยเชื่อมั่นว่าอุปกรณ์ระบบเครือข่ายของ H3C ได้ถูกใช้งานและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในตลาดและองค์กรเอ็นเตอร์ไพร้ซ์ทั่วไป
“เราได้ใช้งบประมาณเกือบ 6 ล้านบาทในการสร้างห้องปฏิบัติการโครงข่ายคอมพิวเตอร์นี้ อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าอุปกรณ์ระบบเครือข่ายของ H3C จะถูกใช้งานมากขึ้นในอนาคต เราจึงตัดสินใจใช้อุปกรณ์ต่างๆ ของ H3C ในห้องปฏิบัติการของเรา” ดร. เผ่าภัค กล่าวเสริม
H3C มุ่งมั่นในการขยายตลาดในอนาคตอันใกล้จึงมีความต้องการบุคลากรมืออาชีพที่มีประสบการณ์การใช้งานอุปกรณ์ของ H3C โดยตั้งเป้าหมายในการผลิตนักวิศวกรคอมพิวเตอร์จำนวน 200 คนต่อปี ทาง H3C จึงได้จัดหลักสูตรการศึกษาภายใต้ชื่อ หัวเหว่ย-3คอม เน็ทเวิร์ค อะคาเดมี (Huawei-3Com Network Academy) ขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2545 โดยใช้เทคโนโลยีระบบเครือข่ายและชุดผลิตภัณฑ์ชั้นนำของ H3C ในการฝึกอบรมด้วยปรัชญาที่ว่า “ทำงานได้จริง มีความเชี่ยวชาญ และนำไปเป็นอาชีพได้ตามที่สอน” และ H3C ยังฝึกอบรมมืออาชีพด้านเทคนิคโนโลยีระบบเครือข่ายและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีระบบเครือข่าย ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ
ดร. เผ่าภัค ศิริสุข กล่าวว่า “ภาควิชาได้รับการสนับสนุนจาก H3C ในหลายๆ ด้าน เช่น การให้ส่วนลดอุปกรณ์ต่างๆ และวิศวกรจาก H3C จะร่วมทำงานกับคณาจารย์ของภาควิชาเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตลอดเวลา นอกจากนี้ เรายังส่งนักศึกษาไปฝึกงานภาคฤดูร้อนกับ H3C และ H3C จะช่วยแนะนำนักศึกษาผ่านหลักสูตร หัวเหว่ย-3คอม เน็ทเวิร์ค อะคาเดมี ให้กับลูกค้าของ H3C ที่ต้องการรับสมัคร วิศวกรคอมพิวเตอร์”
มหาวิทยาลัยฯ จะเริ่มเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน หัวเหว่ย-3คอม เน็ทเวิร์ค อะคาเดมี อย่างเป็นทางการภายในภาคการศึกษาที่ 1 ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2550 คือในเดือนพฤษภาคม แต่จะเปิดหลักสูตรอย่างไม่เป็นทางการให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคฤดูร้อนก่อน สำหรับนักศึกษา ที่ลงทะเบียนรายวิชา คอมพิวเตอร์เน็ทเวิร์ก จะได้เรียนหลักสูตร หัวเหว่ย-3คอม เน็ทเวิร์ค อะคาเดมี โดยอัตมัติได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรมหลักสูตรจาก H3C (Certificate of H3C Attendance) สำหรับนักศึกษาที่ได้คะแนนดี H3C จะคัดเลือกให้ไปสอบประกาศนีบัตรหลักสูตร HCNA (Huawei-3ComNetwork Academy) หรือ HNCE (Huawei-3Com Certified Network Engineer) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการสอบ
ทางมหาวิทยาลัยเองจะมีการปรับปรุงหลักสูตร หัวเหว่ย-3คอม เน็ทเวิร์ค อะคาเดมี ให้สอดคล้อง กับเวลาในแต่ละเทอม คือ 15 ครั้งต่อภาคการศึกษา ครั้งละ 3 ชั่วโมง โดยจะจัดให้นักศึกษา 1 คน ได้ใช้เครื่องมือและเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุด ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาทุกคนที่เข้าเรียนมีโอกาสในการฝึกปฏิบัติและมีประสบการณ์การใช้งานจริง
เกี่ยวกับหัวเหว่ย-3คอม
หัวเหว่ย-3คอม เป็นหนึ่งในผู้ผลิตชั้นนำในจำนวนเพียงไม่กี่รายที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ IP เน็ทเวิร์ค แบบครบวงจร โดยมีความที่มุ่งมั่นที่จะสร้างมูลค่าสูงสุดแก่ลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลกโดยการจัดหาบริการและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับราคา
หัวเหว่ย-3คอม มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในฮ่องกง และศูนย์การค้นคว้าและวิจัยบนจีนแผ่นดินใหญ่ ที่เมือง ปักกิ่ง ฮางซู และ เสิ่นเจิ้น และในอินเดีย ที่เมืองบังกาลอร์ โดยมีพนักงานทั้งหมดกว่า 4,800 คน ซึ่งครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดเป็นพนักงานในแผนก R&D สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่ www.huawei-3com.com
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (มทม.)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (มทม.) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2533 โดยมุ่งเน้น ในสาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ สัตวแพทย์ และการบริหารธุรกิจ ทางมหาวิทยาลัยมีดาวเทียมขนาดเล็กสำหรับใช้งานเองชื่อว่า ไทพัฒ โดยมีสถานีภาคพื้นดินในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และเป็นดาวเทียมขนาดเล็กดวงแรกที่ผลิตโดยวิศวกรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ซึ่งชื่อ ไทพัฒ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช นอกจากนี้ มทม. มีผลงานการค้นคว้าและวิจัยในหลายสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับระบบ วงจรเซอร์กิต คอมพิวเตอร์ และ โทรคมนาคม มีห้องปฏิบัติการระดับโลกให้นักศึกษาได้ใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย มีห้องสมุดระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหนังสือกว่า 100,000 เล่ม พร้อมสื่อสนับสนุนอื่นๆ เช่น วารสาร วีดีทัศน์ ไมโครฟิล์ม และดีวีดีรอม สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความเป็นเลิศและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพทำให้มหาวิทยาลัยมีมาตรฐานการเรียนการสอนสูงสุดและพร้อมผลิตนักศึกษาที่มีความเป็นมืออาชีพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
คุณพรปวีณ์ กุลมา
ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์
บริษัท เพนเนอร์-แมดิสัน จำกัด
โทร (662) 716 5246 ต่อ 103
แฟกซ์ (662) 716 5250
อีเมล์ [email protected]
คุณณัฐฐิยา ตรีธารทิพย์วงศ์
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด
บริษัท หัวเหว่ย-3คอม (ประเทศไทย) จำกัด (H3C)
โทร: (662) 655 8562 ต่อ 222
แฟกซ์ (662) 655 8579
อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ