วิทยพัฒน์รุกคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านงานเขียน

อังคาร ๐๓ กรกฎาคม ๒๐๐๗ ๐๙:๔๗
กรุงเทพฯ--3 ก.ค.--วิทยพัฒน์
- เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ล่าสุด ตำราที่ป้องกันการถ่ายเอกสาร
- นำมาใช้เป็นครั้งแรกในวงการผลิตตำราของไทย
- เป้าหมายเพื่อเป็นทางเลือกแก่อาจารย์ผู้เขียนตำราเรียน
สำนักพิมพ์วิทยพัฒน์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตตำราวิชาการระดับอุดมศึกษา เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ นำระบบป้องกันการถ่ายเอกสารมาใช้ในการผลิตตำรา เพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแก่อาจารย์ผู้แต่งตำราเรียน
นายสาธิต อุรุวงศ์วณิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด สำนักพิมพ์ผู้ผลิตตำราวิชาการระดับอุดมศึกษา เปิดเผยว่าสำนักพิมพ์ได้คิดค้นระบบป้องกันตำราจากการทำสำเนาด้วยเครื่องถ่ายเอกสารมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดการพัฒนาได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งได้เริ่มนำระบบป้องกันการถ่ายเอกสารนี้มาใช้กับตำราของสำนักพิมพ์แล้ว นับเป็นครั้งแรกในวงการตำราที่มีการนำเอาระบบป้องกันการถ่ายเอกสารที่ได้ผลมาใช้
ตำราที่ถูกจัดพิมพ์ด้วยระบบป้องกันการถ่ายเอกสารนี้ เมื่อถูกนำไปถ่ายเอกสาร จะทำให้เอกสารที่ได้จากการถ่ายด้วยเครื่องถ่ายเอกสารมีข้อความแจ้งเตือน เช่น “การถ่ายสำเนาเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์“ ปรากฏในตัวสำเนา ซึ่งเป็นทั้งการแจ้งเตือน และจะไปรบกวนการอ่าน โดยข้อความแจ้งเตือนนี้ไม่สามารถลบทิ้งไปได้
“เราได้พัฒนามาเป็นเวลานาน และเพิ่งจะนำมาใช้ในการผลิตตำราในภาคการศึกษานี้ การที่เราพยายามหาเทคนิคการปกป้องต้นฉบับครั้งนี้ก็เพื่อให้อาจารย์ที่เขียนตำราให้เราได้ทราบว่าเรามีความตั้งใจที่จะคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของอาจารย์ผู้เขียนโดยตรง” นายสาธิตกล่าว
ปัจจุบัน ตำราเรียนต่าง ๆ มักถูกนำไปถ่ายสำเนาเพื่อนำไปใช้ แทนที่จะซื้อฉบับจริง ทั้งแบบถ่ายเอกสารบางส่วน และแบบถ่ายเอกสารทั้งเล่ม ทำให้วงการผลิตตำราเรียนไม่สามารถพัฒนาได้เท่าที่ควร เพราะผู้เขียนถูกละเมิด ดังนั้นวิทยพัฒน์หวังว่าด้วยระบบป้องกันการถ่ายเอกสารนี้จะมีส่วนช่วยให้วงการผลิตตำราเรียนสามารถยกระดับการพัฒนา สามารถสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์เขียนตำราดีๆออกมาเผยแพร่ อันนำไปสู่พัฒนาการด้านการศึกษาในภาพรวมได้
นายสาธิตย้ำว่าปัจจุบันตำราเรียนที่ผลิตโดยวิทยพัฒน์นั้นได้รับความนิยมจากอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา นำไปใช้ในการเรียนการสอน ทั้งนี้เพราะคุณภาพของเนื้อหา อ่านเข้าใจได้ง่าย รวมไปถึงความพิถีพิถันในการพัฒนารูปเล่มของวิทยพัฒน์จนเป็นที่ยอมรับของอาจารย์ทั่วประเทศ
นายสาธิตกล่าวอีกว่า เชื่อว่าการพัฒนาตำราที่สามารถป้องกันการถ่ายเอกสารได้ในครั้งนี้นอกจากจะสามารถลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ลงได้แล้วยังน่าจะส่งผลให้อาจารย์ในระดับอุดมศึกษาสนใจที่จะเขียนตำราเพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่มากขึ้น และพร้อมกันนี้ วิทยพัฒน์ยังได้วางแผนขายงาน ปรับกลยุทธ์ และรับบุคลากรเข้ามาร่วมงานเพิ่มเพื่อรองรับแผนดังกล่าว
นายสาธิตกล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดการผลิตตำราเรียนนั้น มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประมาณปีละ 5-10% ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่ไม่สูงมากนัก แต่เป็นตลาดที่มีการเจริญเติบโตทุกปี ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร ยิ่งในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย ตลาดการศึกษาก็ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
ทางด้านนายคำพูน คุณานุกร บรรณาธิการบริหาร กล่าวเพิ่มเติมว่าวิทยพัฒน์ยังได้บุกตลาดขายตรงไปยังตลาดในส่วนภูมิภาค โดยร่วมมือกับบริษัทบัตรกรุงไทยหรือ KTC ในการให้บริการผ่อนชำระโดยปลอดดอกเบี้ยแก่อาจารย์ที่สั่งซื้อตำราเรียนเพื่อบริการแก่นักศึกษา เพราะในระยะที่ผ่านมา อาจารย์หลายท่านนิยมสั่งซื้อตำราจากสำนักพิมพ์ให้แก่นักศึกษาเพราะการสั่งรวมกันทั้งชั้นจะทำให้ได้รับส่วนลด ทำให้นักศึกษาซื้อตำราได้ในราคาประหยัดยิ่งขึ้น แต่ในบางครั้งอาจารย์ก็อาจประสบปัญหารับชำระค่าตำราล่าช้า ทำให้อาจารย์ต้องแบกรับภาระการเงินแทน ซึ่งบริการรับผ่อนชำระโดยปลอดดอกเบี้ยนี้จะอำนวยความสะดวกแก่อาจารย์ในการสั่งซื้อตำราเรียนให้แก่นักศึกษาได้
“ทางเราเองเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเอง โดยอาจารย์สามารถผ่อนชำระตามจำนวนงวดที่บัตรเครดิตกำหนด ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของวงการตำราเช่นกันที่อำนวยความสะดวกแก่อาจารย์และนักศึกษาเช่นนี้” นายคำพูนกล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ วิรัตน์ ตรีรานุรัตน์
ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
โทรศัพท์ 081 682 2575
Email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ