สภาหอการค้าฯ เสนอรัฐหามาตรการตอบโต้สหรัฐฯ ไม่ยกเลิก AD กุ้งไทย

จันทร์ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๐๐๕ ๑๐:๑๕
กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
นายสมเกียรติ อนุราษฎร์ ประธานคณะกรรมการธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการธุรกิจประมงฯ ได้มีการจัดประชุมหารือเพื่อระดมความคิดเห็นประเด็นที่คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (ITC) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการประกาศผลการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี AD กุ้งของประเทศไทย และประเทศอินเดีย โดยมีมติ “ไม่ยกเลิก” การเก็บภาษี AD กุ้ง เพื่อนำข้อสรุปเสนอให้กับ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้พิจารณาทบทวนเรื่องการจัดเก็บภาษี AD กุ้งไทย ของสหรัฐอเมริกา
นายสมเกียรติ กล่าวว่า สาเหตุที่สหรัฐฯ ไม่ยกเลิกการเก็บภาษี AD กุ้ง เนื่องจากอุตสาหกรรมกุ้งของประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พายุเฮอริเคนแคทรินา โดยหากมีการยกเลิกภาษี AD กุ้ง จะทำให้เป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกุ้งของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ในปัจจุบันการส่งออกกุ้งของไทยมีปริมาณและอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ต้องการให้ยกเลิกภาษี AD กุ้งของไทย ตามที่ฝ่ายไทยได้อ้างถึงความเสียหายของอุตสาหกรรมกุ้งไทย อันเนี่องมาจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยจากคลื่นสึนามิ เมื่อปลายปี 2547 ที่ผ่านมา
สำหรับข้อสรุปในการจัดประชุมหารือของคณะกรรมการธุรกิจประมงฯ เกี่ยวกับปัญหาการไม่ยกเลิกการจัดเก็บภาษี AD กุ้งไทยของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย
1. ตามที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ยื่นข้อเสนอการยกเลิก AD กุ้งให้แก่ไทย อันเนื่องมาจากผลกระทบภายหลังการเกิดเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย และสหัฐฯ ไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอโดยกล่าวอ้างว่าว่าไทยมีตัวเลขการส่งออกกุ้งเพิ่มขึ้นนั้นได้สร้างความผิดหวังให้แก่เกษตรกรและผู้ส่งออกเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี สาเหตุของการส่งออกกุ้งมีตัวเลขเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นผลผลิตที่เกิดจากลูกกุ้งซึ่งได้รับการอนุบาลก่อนเกิดเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย จึงคาดว่าในอนาคตปริมาณตัวเลขการส่งออกจะมีปริมาณที่ลดลงอย่างแน่นอน
2. จากการเกิดเหตุการณ์พายุแคทรินาในสหรัฐอเมริกา ภาคเอกชนไทยรู้สึกเห็นใจผู้ประสบภัยพิบัติเป็นอย่างมาก แต่เห็นว่ารัฐบาลของสหรัฐอเมริกาควรออกมาตรการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูเกษตรกรของตน โดยหากสหรัฐฯ ยกเลิกการจัดเก็บภาษี AD กุ้งของไทย ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรกุ้งของสหรัฐฯ
แต่อย่างใด และเห็นว่ารัฐบาลของไทยควรพิจารณาหามาตรการตอบโต้ในการปฏิบัติดังกล่าวของสหรัฐฯ ด้วย
3. ให้ยกเลิกการเก็บ Continuous bond จากผู้นำเข้ากุ้งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นการเพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นของผู้ส่งออกกุ้งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้)
4. ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการอุดหนุนสินค้าส่งออก (Export Subsidy) ของตนเป็นปกติอยู่แล้ว (ซึ่งประเทศไทยมิได้มีมาตรการนี้) จึงทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความได้เปรียบในการแข่งขัน
5. ในปัจจุบัน ต้นทุนด้านพลังงานได้ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องฯ ขอให้ภาครัฐบาลได้นำข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณาและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา ในการผลักดันให้มีการยกเลิกการเก็บภาษี AD กุ้งไทยของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
โทร. 02-6221860-76 ต่อ 317-319--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ