กรุงเทพฯ--14 มิ.ย.--นิวส์ เพอร์เฟค คอมมิวนิเคชั่น
บทความพิเศษ “ กู้ชาติด้วยศูนย์ค้าส่งสินค้านานาชาติ ” (ภาค 2 )
ตอน ศูนย์ค้าส่งอุปกรณ์ที่ใช้ในร้านอาหาร และโรงแรมนานาชาติ
โดย ดร.วิลเลี่ยม วู
ในสภาวะปัจจุบัน ผู้ผลิตไทยกำลังถูกภัยคุกคามรอบด้าน ทั้งจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนการจัดจำหน่าย ต้นทุนของการขนส่ง ภัยจาก ซัพพลายเออร์ ที่ขยายมาทำตลาดแข่งกับผู้ผลิต ภัยจากลูกค้าที่พยายามจะแย่งงานของผู้ผลิต หรือ การรุกคืบทำเฮ้าส์ แบรนด์ ( House brand ) แทนยี่ห้อของเรา และภัยจากคู่แข่งต้นทุนต่ำ จากประเทศจีน และ อินเดีย เป็นต้น
ด้วยปัญหาดังกล่าวข้างต้น ประเทศไทย จึงต้องหาทางออกเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ในการทำธุรกิจ โดยอาศัยจุดเด่นที่ไทยเป็น ผู้ส่งออกอาหารอันดับ 3 ของโลก ส่วนหนึ่งของลูกค้ากลุ่มนี้ คือ กลุ่มร้านอาหาร และโรงแรม ซึ่งเป็นลูกค้ารายย่อยของวงจรอุตสาหกรรมอาหาร ของใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องครัว และของตกแต่งต่างๆ เป็นต้น แต่ลูกค้ากลุ่มนี้ ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้ผลิตเท่าไหร่ เนื่องจากซื้อน้อย เพราะไม่สามารถซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นจำนวนมากๆ จากผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง โดยลักษณะของธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในยุคสมัยนี้ แต่มีการจัดซื้อจัดหาที่ยุ่งยาก คือ จะซื้อคละกันหลายๆอย่างในคราวเดียวกัน ( Mixed Variety ) ซึ่งเป็นอุปสรรคของทั้งฝ่ายจัดซื้อของร้านอาหาร และ โรงแรม ที่จะต้องติดต่อ และรวบรวมจากผู้ผลิตหลายๆราย ทำให้ทำงานลำบาก แนวคิดการรวมกลุ่ม ( Cluster ) จึงเป็นแนวคิดที่ใช้จุดแข็ง ของประเทศไทย คือ อาหาร การท่องเที่ยว และสุขภาพ ( ร้านอาหาร โรงแรม สปา โรงพยาบาล ) ซึ่งมีทั้ง ความหลากหลาย และความประณีต ( Variety & Refinement ) มารวมในจุดเดียวกัน เป็น One Stop Shopping ซึ่งจะลดภาระของผู้ซื้อได้อย่างมาก
แนวคิด Global Reach, Local Link ที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้คิดไว้เป็นแนวคิดที่ดี การทำ Restaurant Supplies Cluster เพื่อสร้างอุตสาหกรรมใหม่นั้น จึงเป็นแนวทางการตลาดเฉพาะของโลก การรวมพลังเลือกสรรผู้ผลิตที่มีความโดดเด่นมารวมตัวกัน เปรียบเสมือนนำเพชรในโคลนตมมาเจียรนัย อย่างเช่น ผู้ผลิตรายย่อยอย่าง OTOP และ SME ที่มีฝีไม้ลายมือในการผลิตสินค้า ที่มีคุณภาพ มีความประณีต แต่ขาดคนสนับสนุนด้านการตลาด และที่เจ้าของแนวคิดนี้ขอเพิ่มเติม คือ การนำจุดแข็ง ของผลิตภัณฑ์ในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่เจริญกว่าเรา มาเสริมเพิ่มความน่าสนใจ ในแนวทางของการเป็นพันธมิตรธุรกิจ
สูตรความสำเร็จในการแข่งขัน กับเวทีโลกของไทย คือ Global Niche, Local Mixed, Region Link คือ นำสัดส่วน 40% ของผู้ผลิตสินค้าชั้นนำ โดยเฉพาะสินค้าที่แสดงวัฒนธรรม ที่เข้มแข็งอย่าง อาหารญี่ปุ่น อาหารเกาหลี และอาหารจีน มาร่วมในงานด้วย นอกจากพันธมิตรจะนำสินค้าที่โดดเด่น และขายดีทั่วโลกมาแสดงในศูนย์แสดงสินค้าค้าส่งถาวรของเราแล้ว ยังจะนำกลุ่มลูกค้าร้านอาหาร และโรงแรมชั้นนำเข้ามาด้วย
ซึ่งบริษัทฯได้เล็งเห็นว่า ร้านอาหารไทย ของเราก็นำเอาข้อดีเหล่านี้มาพัฒนาเอกลักษณ์ในการรับประทานอาหารไทยเช่นกัน ลูกค้าฝรั่งคนหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารญี่ปุ่น และไทยในต่างประเทศเคยถามผมว่า จริงๆแล้ว ต้มยำกุ้ง ต้องใส่ภาชนะอะไร เพราะร้านอาหารไทยทุกร้าน ใส่ต้มยำกุ้งในภาชนะที่ต่างกัน แม้แต่ประเทศไทยเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระผมจึงได้ทำโครงการผลิตภัณฑ์ใหม่ในการพัฒนาชามที่จะให้ใส่ต้มยำกุ้งให้ร้านอาหารทั่วโลกอยู่
ขณะนี้บริษัทฯได้ทำเลที่ดีมากๆมาแล้ว อยู่ในย่าน วิภาวดีรังสิต ซึ่งจากประสบการณ์ทำงานมาร่วม 20 ปี ในวงการอาหาร ของใช้บนโต๊ะอาหาร และ เครื่องครัว บริษัทฯเล็งเห็นว่า หากท่านมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ บริษัทฯ อยากเรียนเชิญให้เข้ามาร่วมแสดงสินค้าในศูนย์ค้าส่งอุปกรณ์ที่ใช้ในร้านอาหาร และโรงแรม กับเรา เพียงท่าน กรุณากรอกข้อมูล แจ้งความประสงค์เบื้องต้นให้เราทราบถึงความสนใจโครงการของท่านแก่เรา โดยยังไม่มีข้อผูกมัด และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากมีผู้สนใจจะลงทุนร่วมกับเรา ที่จะสร้างศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่ 100,000 ตรม. ในอนาคตแก่เรา และต้องการความมั่นใจในแนวร่วม เพื่อให้โครงการนี้เป็นรูปธรรมขึ้น
อนึ่ง หากโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง และก่อเกิดเป็นรูปธรรมได้สำเร็จ บริษัทฯ จะจัดส่งข้อมูล ให้ท่านทราบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนังสือ Directory Catalog ซึ่งรวบรวม ผลิตภัณฑ์ของ Suppliers ทุกท่านที่จะมาร่วมโครงการในอนาคต และ CD รายชื่อลูกค้า กลุ่มร้านอาหาร และโรงแรม ทั่วโลก รวม 10 ล้านกว่ารายชื่อ ให้กับทุกท่านในโอกาสต่อไป
ข้อมูลผู้เขียน : ดร.วิลเลี่ยม วู ประธานบริหาร กลุ่ม บริษัท กุศมัย กรุ๊ป ผู้นำอุตสาหกรรม Otop ,
SME ที่เกี่ยวข้องกับ อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้บนโต๊ะอาหาร บรรจุภัณฑ์เครื่องจักร เครื่องครัว ด้านอาหาร และ เครื่องดื่ม สนใจสามารถติดต่อผ่าน
Website ได้ที่ http://www.kusamai.com หรือ E-mail : [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net