ซีพีเอฟเปิดบ้านต้อนรับคณะเยี่ยมชม และคณะตรวจประเมินเครื่องหมาย “ฮาลาล”

พุธ ๐๖ มิถุนายน ๒๐๐๗ ๑๖:๔๐
กรุงเทพฯ--6 มิ.ย.--ซีพีเอฟ
เช้าวันนี้ ( 6 มิถุนายน 2550 ) มร.จัสเซ็ม โมฮัมเหม็ด บิน ดาวิช (Mr.Jassem Mohammed Bin Darwish) เลขาธิการสภาเทศบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ หรือ ยูเออี (Secretary General, General Secretariat of Municipalities and Delegation, United Arab Emirates) และคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และนักวิชาการจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้เข้าเยี่ยมชมระบบการรับรองเครื่องหมายมาตรฐานฮาลาล (HALAL) ณ โรงงานชำแหละและแปรรูปเนื้อไก่มีนบุรีของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โดยมี นายศุภชัย อังศุภากร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และ นายณฤกษ์ มางเขียว รองกรรมการผู้จัดการ ให้การต้อนรับ
และในช่วงบ่ายมีคณะกรรมการเข้าตรวจประเมินการรับรองเครื่องหมายมาตรฐานฮาลาล ซึ่งการตรวจประเมินของยูเออีในครั้งนี้เป็นครั้งแรก หลังจากที่ยูเออีได้เพิ่มระเบียบการตรวจสอบมาตรฐานการผลิตให้เป็นไปตามหลักการของศาสนาอิสลามอีก 1 ขั้นตอน คือการเพิ่มตำแหน่ง “ฮาลาล ซูเปอร์ไวเซอร์” ในแต่ละโรงงานเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบดังกล่าว โดยคาดว่าระเบียบข้อนี้ จะถูกนำไปใช้ในประเทศตะวันออกกลางอื่นๆ ด้วย
เลขาธิการสภาเทศบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ เปิดเผยว่า การเดินทางมาของคณะครั้งนี้ไม่เฉพาะเรื่องของการตรวจมาตรฐานฮาลาล แต่เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์กับประเทศไทย
คุณศุภชัย กล่าวว่า หลังจากที่คณะได้ชมวีดีทัศน์ก็แสดงความพอใจในระบบการเลี้ยงไก่ของซีพีเอฟที่มีการควบคุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงการแปรรูปเป็นอาหารปรุงสุก ซึ่งโรงงานมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานตามหลักศาสนาอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นการเชือดไก่โดยมุสลิม หรือการแปรรูปเนื้อไก่โดยใช้วัตถุดิบที่ไม่มีของต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม สามารถสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานการให้การรับรองเครื่องหมายฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (The Central Islamic Committee of Thailand) ด้วย
ปกติแล้ว ตลาดของยูเออีมีการนำเข้าสินค้าไก่ประมาณ 150,000 ตัน จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะส่งออกไปยังยูเออี เพื่อเป็นประตูส่งออกอาหาร ฮาลาลไปในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งในส่วนของซีพีเอฟ แต่เดิมมีการส่งออกสินค้าไก่ไปอยู่แล้วทั้งไก่สด และไก่ปรุงสุก รวมประมาณ 3,000 ตัน ก่อนจะระงับไปเมื่อปี 2548 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงระบบการรับรองด้านฮาลาล แต่บริษัทมั่นใจในมาตรฐานที่ทำอยู่ โดยพร้อมส่งออกทันทีที่ได้รับการอนุมัติ ปัจจุบันบริษัทมีการส่งออกสินค้าไก่ปรุงสุกไปอยู่แล้ว โดยปีนี้คาดว่าจะมียอดส่งออกรวม 100,000 ตัน หรือเติบโตจากปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 14,000-15,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ โรงชำแหละและแปรรูปเนื้อไก่มีนบุรี ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เป็นโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อไก่ และส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศมุสลิม จึงได้รับเลือกให้เป็นโรงงานตัวแทนของประเทศไทยในการตรวจประเมินระบบการรับรองเครื่องหมาย “ฮาลาล” ดังกล่าว โรงงานแห่งนี้ ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2521 บนพื้นที่ 49 ไร่ ของถนนสุวินทวงศ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพ มีจำนวนพนักงานทั้งหมด 2,500 คน และกว่า 60% เป็นมุสลิม มีปริมาณการผลิตไก่ 200,000 ตัวต่อวัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
สำนักสารนิเทศ ซีพีเอฟ
0-2625-7344-5, 0-2631-0641, 0-2638-2713

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๐๔ มูลนิธิสัมมาชีพมอบรางวัล 'เกรียงไกร' ประธาน ส.อ.ท.บุคคลต้นแบบสัมมาชีพ ปี'67เตรียมจัดงานมอบรางวัล 17 ธ.ค.
๑๓:๒๙ Kaspersky ระบุ แรนซัมแวร์ยังโจมตีธุรกิจในอาเซียนต่อเนื่อง ไทยรั้งอันดับสาม
๑๓:๔๔ Maxim เพิ่มความปลอดภัยระหว่างการเดินทางด้วยฟีเจอร์ในแอป
๑๓:๐๐ สคร.12 สงขลา เตือน แอมโมเนียรั่วไหล อุบัติภัยจากโรงงานผลิตน้ำแข็งและห้องเย็น
๑๓:๓๑ MEDEZE ชี้ตัวเลขจัดเก็บ Stem Cell ทั่วโลกเติบโต ยืนยันดำเนินธุรกิจตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
๑๓:๐๔ ทินิดี เทรนดี้ กรุงเทพ ข้าวสาร นำเสนอโปรโมชั่นวันลอยกระทง
๑๓:๕๘ เลขาอารี เปิดการแข่งขัน HAB Thailand หนุนอาชีพด้านสุขภาพและความงาม พัฒนาทักษะแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล
๑๓:๔๕ ETL มั่นใจธุรกิจขนส่งยังสดใส หนุนรายได้ปีนี้โตต่อเนื่อง ยอมรับบาทอ่อนและราคาน้ำมันมาเลฯส่งผลกระทบ Q3
๑๓:๒๙ จุฬาฯ เชิญร่วมงาน กายภาพบำบัด ศาสตร์แห่งการฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต ครบครันความรู้เพื่อสุขภาพคนไทยทุกช่วงวัย
๑๓:๕๖ Sunplay Asia แถลงข่าวแนวคิดที่อยู่อาศัยเพื่อสังคมคุณภาพ: ยกระดับการอยู่อาศัยด้วยแนวคิด Environmental/Rehabilitation Sustainable