90 ปี วิทยาศาสตร์จุฬาฯ เร่งรัฐบาล ผลักดันพระราชบัญญัติ “วิชาชีพ นักวิทยาศาสตร์” เทียบเท่า แพทย์ วิศวะ

จันทร์ ๒๒ มกราคม ๒๐๐๗ ๑๔:๐๒
กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--สปริง มีเดีย
90 ปี วิทยาศาสตร์จุฬาฯ เร่งรัฐบาล ผลักดันพระราชบัญญัติ “วิชาชีพ นักวิทยาศาสตร์” เทียบเท่า แพทย์ วิศวะ หวังควบคุมคุณภาพนักวิทยาศาสตร์ ให้ปฏิบัติงานบนพื้นฐานของจรรยาบรรณ
ศาสตราจารย์ ดร. เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วยภาควิชาต่างๆ 14 ภาควิชา 60 หลักสูตร และสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ 2.กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 3.กลุ่มวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ 4.กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โดยในแต่ละปีนั้นได้ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีประมาณ 600 คน ระดับมหาบัณฑิต 100 คน และดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 50 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ที่มีความต้องการสูงมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับสาขาที่มีความต้องการมากที่สุดในตลาดคือนักวิทยาศาสตร์ที่ชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ นาโนเทคโนโลยี และนักวิทยาศาสตร์ชีวภาพ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม และนักเคมีที่มีความชำนาญ
อย่างไร ก็ตาม แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญเหล่านี้จะมีความสำคัญกับการพัฒนาประเทศสาขาต่างๆ เป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันหากนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ได้ใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ในทางที่ผิดก็จะส่งผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายที่ไม่ควรเกิดขึ้นในวงการของนักวิทยาศาสตร์ไทยหรือทั่วโลก เพราะนักวิทยาศาสตร์จะต้องใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มากกว่าการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
“หากนักวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด และรับใช้หน่วยงานหรือองค์กรที่ดำเนินการเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติ หรือองค์กรที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมหากนักวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญเข้าไปทำงานและพัฒนาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อประเทศชาติหรือสิ่งแวดล้อมให้กับหน่วย งานเหล่านั้นนอกจากทำให้ประเทศชาติโดยรวมเสียหายยังกระทบต่อวงการนักวิทยาศาสตร์โดยรวมอีกด้วย” ศาสตราจารย์ดร.เปี่ยมศักดิ์ กล่าว
ดังนั้น ในโอกาสที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะครบรอบ 90 ปี ในวันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2550 นี้ ประเด็นที่สำคัญที่ทางคณะจะมีการหยิบยกมาหารือกันคือ การจัดให้มีสัมมนาวิชาการ “วิทยาศาสตร์ต้องเป็นวิชาชีพ” เพื่อเป็นการรับรองนักวิทยาศาสตร์ที่จบออกจากมาสถาบันการศึกษาต่างๆเหมือนกับวิชาชีพแพทย์ วิศวกรรม เหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ซึ่งการรับรองให้วิทยาศาสตร์เป็นวิชาชีพนั้นนอกจากจะทำให้ได้นักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพสู่ตลาดแล้ว ยังเป็นการควบคุมมาตรฐานนักวิทยาศาสตร์ให้ปฏิบัติงานบนพื้นฐานของจรรยาบรรณ เหมือนกับวิชาชีพแพทย์และวิศวกร
สำหรับความคืบหน้าของการผลักดันให้วิทยาศาสตร์เป็นวิชาชีพนั้น ขณะนี้พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์ อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้พระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้า ดังนั้น คณะวิทยาศาตร์ จุฬาลงกรณ์ฯในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองไทย จึงขอเป็นกลไกส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันที่สำคัญให้พระราชบัญญัติดังกล่าวออกมาและ ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณ ชานนท์ เครือด้วง (ปุ๊กปิ๊ก)
โทรศัพท์ 089-0066-800
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม