สปส.แจงลูกจ้างตกงานอย่าห่วง พร้อมช่วยเหลือตามสิทธิว่างงาน

พุธ ๑๘ กรกฎาคม ๒๐๐๗ ๑๐:๕๑
กรุงเทพฯ--18 ก.ค.--สปส.
ประธานบอร์ดประกันสังคม แจงกรณีผู้ประกันตน ถูกเลิกจ้างและลาออกจากงาน อย่าห่วง สปส.พร้อมช่วยเหลือตามสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน
นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรีปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานกรรมการประกันสังคม กล่าวว่าผู้ประกันตนที่ได้รับความคุ้มครองในกรณีว่างงานนั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน
เมื่อผู้ประกันตนว่างงานไม่ว่าจะเป็นการลาออก สิ้นสุดสัญญาจ้างหรือถูกเลิกจ้าง ควรรีบไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ เพื่อขอรับเงินทดแทนตามสิทธิที่ผู้ประกันตนพึงจะได้รับจากสำนักงานประกันสังคมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นจากการเป็นลูกจ้างเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ครบถ้วน ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานล่าช้าเกินกว่า 30 วัน เงินทดแทนที่จะได้รับจะลดส่วนลงตามวันเวลาที่มายื่นขึ้นทะเบียนฯ ในกรณีที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 180 วัน ส่วนกรณีที่ลาออกโดยสมัครใจหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 90 วัน
ทั้งนี้นายจุฑาธวัช ฯ ย้ำว่า ในกรณีที่ นายจ้างหักเงินสมทบลูกจ้างแล้วไม่นำส่ง ผู้ประกันตนยังคงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่ง มาตรา 47 กำหนดว่า ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้นายจ้างหักค่าจ้างของผู้ประกันตนตามจำนวนที่จะต้องนำส่งเป็นเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน และเมื่อนายจ้างได้ดำเนินการดังกล่าวแล้วให้ถือว่าผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันที่นายจ้างหักค่าจ้าง
นอกจากนั้น ในกรณีที่นายจ้างมิได้หักเงินค่าจ้างของผู้ประกันตน เพื่อส่งเป็นเงินสมทบ หรือหักไว้แล้วแต่ยังไม่ครบจำนวนและไม่นำส่ง ให้นายจ้างรับผิดใช้เงินที่ต้องส่งเป็นเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนเต็มจำนวน และต้องจ่ายเงินเพิ่มในเงินจำนวนนี้และในกรณีเช่นว่านี้ สิทธิที่ผู้ประกันตนพึงจะได้รับคงมีเสมือนหนึ่งผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบแล้วและสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการติดตามให้นายจ้างชำระเงินสมทบให้ถูกต้อง ครบถ้วนต่อไป
ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิ.ย.50 เงินกองทุนประกันสังคม กรณีว่างงานมีจำนวนมากพอที่จะดูแลผู้ประกันตน หากผู้ประกันตนต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วน กระทรวงแรงงาน 1506 และดูรายละเอียดได้ที่ www.sso.go.th
…………………………………
ศูนย์สารนิเทศ สายด่วน 1506 / www.sso.go.th
สปส.แจงกองทุนแสนล้านบริหารจัดการอย่างไร
ประธานบอร์ดประกันสังคม แจงเงินกองทุน 4.5 แสนล้านดูแลสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนถึง 7 กรณี โดยเฉพาะกองทุนสงเคราะห์ชราภาพเงินก้อนใหญ่กว่า 3.6 แสนล้าน ต้องบริหารจัดการให้ดีเพื่อจ่ายให้เป็นบำนาญให้แก่ผู้ประกันตนในปี 57
นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานบอร์ดประกันสังคม กล่าวว่า“จากที่มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีเงินกว่าแสนล้านที่ช่วยดูแลลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง นั้น ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า ขณะนี้เงินกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 มีอยู่ 456,052 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 28,809 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาสที่ 1 (ณ 31 มี.ค.50) และมีความมั่นใจว่ากองทุนจะมีความมั่นคงต่อไป”
“เงินจำนวนนี้เป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 363,667 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวนกว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศที่สำนักงานประกันสังคมสะสมไว้เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพ โดยจะเริ่มมีการจ่ายในปี พ.ศ. 2557 เป็นปีแรก ที่เหลือเป็นเงินกองทุนที่ดูแล 4 กรณี (เจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพและ คลอดบุตร) จำนวน 67,619 ล้านบาท และ เป็นเงินกองทุนกรณีว่างงานจำนวน 24,766 ล้านบาทเงินกว่า 4.5 แสนล้านบาท นี้ สปส.นำไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกผลมากขึ้น โดยแบ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ร้อยละ 82 และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้รับผลตอบแทนมาก ร้อยละ 18” ทั้งนี้ ที่ปรากฏเป็นข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ว่ากองทุนประกันสังคมแสนล้านช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างนั้น คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงข้างต้น
นายจุฑาธวัช ฯ กล่าวต่อไปว่า“กรณีที่นายจ้างปิดกิจการ ทุกหน่วยงานในกระทรวงแรงงานก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในทันทีที่นายจ้างปิดกิจการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะเข้าไปตรวจสอบว่านายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแก่ลูกจ้างหรือไม่ และหลังจากนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของสำนักงานประกันสังคมในการตรวจสอบว่านายจ้างแจ้งปิดกิจการหรือไม่ หากลูกจ้าง ถูกเลิกจ้าง สปส.จะให้ความความคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน ใน 4 กรณี และหากลูกจ้างส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนออกจากงานก็จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ส่วนการลาออกโดยสมัครใจจะได้รับประโยชน์ทดแทนระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน และ ในขณะเดียวกัน กรมการจัดหางาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จะช่วยเหลือให้ผู้ถูกเลิกจ้างได้งานทำหรือฝึกอาชีพต่อไป”
…………………………………
ศูนย์สารนิเทศ สายด่วน 1506 / www.sso.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version