แนวทางการแก้ปัญหาเพื่อคนกรุงเทพมหานคร

อังคาร ๑๐ เมษายน ๒๐๐๗ ๑๔:๕๕
กรุงเทพฯ--10 เม.ย.--สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
แนวทางการแก้ปัญหาเพื่อคนกรุงเทพมหานคร โดย ดร.สุพงษ์ ลิ้มธนากุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
1. สภาประชาคม
การมีส่วนร่วมของประชาชน หัวใจของการพัฒนากรุงเทพมหานคร การตั้งสภาประชาคม โดยมีตัวแทนจากสถาบันการศึกษาทุกแห่ง พร้อมทั้งผู้นำนักศึกษา ผู้นำชุมชน เพื่อเป็นคลังสมองสำหรับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของกรุงเทพมหานคร ในทุก ๆ ด้าน ซึ่งสภาประชาคมจะประกอบด้วย ผู้สูงอายุ สตรี เด็กและเยาวชน ชุมชนแออัด และผู้ติดเชื้อเอดส์
2. การแก้ปัญหาด้านกายภาพ
- การจราจร
- ขุดลอกแม่น้ำลำคลองที่ตื้นเขิน เพิ่มเส้นของเรือโดยสาร และมีเรือติดเครื่องปรับอากาศ พร้อมขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ เช่น รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เป็นต้น
- ปฏิรูปรถประจำทาง เนื่องจากรถประจำทางที่ใช้ในปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน เก่าใช้งานมานาน หรือ เรียกได้ว่าแทบหมดสภาพ ความสกปรกที่เกิดจากการไม่ดูแลรักษาความสะอาด และอากาศที่ร้อน อบอ้าว ทำให้ประชาชนไม่อยากจะมาใช้บริการ รถประจำทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องทนร้อนท่ามกลางมลภาวะและการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงและเปลี่ยนระบบรถประจำทางที่ใช้ในปัจจุบัน โดยให้เป็นระบบสัมปทานแทนและใช้รถใหม่ทั้งหมดตามมาตรฐานของ ยูโร ทรี (Euro ? ) สำหรับคนที่มีรายได้น้อยสามารถ ขอ E-card หรือบัตรโดยสารเป็นรายเดือน โดยใช้เงินสนับสนุนจากกรุงเทพมหานคร ในแต่ละปีคนกรุงเทพมหานครต้องสูญเสียเงินหลายหมื่นล้านบาทกับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงโดยเปล่าประโยชน์ เพราะปัญหารถติด การจะผ่าตัดใหญ่กับปัญหาจราจรที่ยืดเยื้อมานานของกรุงเทพมหานคร จะต้อง ทำประชาพิจารณ์ เพื่อขอประชามติว่าประชาชนควรจะมีส่วนร่วมและต้องการมีส่วนร่วมอย่างไร
- Park & Ride กรุงเทพมหานครจะต้องจัดสถานที่จอดรถให้พอเพียง เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ
- การเหลื่อมล้ำของเวลาการทำงาน เพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ ลดปัญหาการจราจรติดขัด
- รถโรงเรียน ควรจะศึกษาแนวทางให้แต่ละโรงเรียนใช้รถโรงเรียน หรือกำหนดจุดหลัก ๆ สำหรับการรับ-ส่ง เพื่อลดปัญหาจราจรติดขัดบริเวณสถานศึกษาต่าง ๆ สถานที่นี้กรุงเทพมหานครจะเป็นผู้จัดโดยให้ใกล้แหล่งโรงเรียน สถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ ให้มากที่สุด
- สร้างทางยกระดับรางรถไฟ เพื่อขจัดปัญหาทางตัดของถนนกับทางรถไฟ
- เพิ่มขบวนรถไฟ จากสถานีต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครออกสู่ชานเมือง เพื่อบริการขนส่งผู้โดยสารออกนอกตัวเมือง
- เพิ่มเส้นทางลัด มากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด
โดยสรุป เราจะต้องพยายามหาทางสนับสนุนให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งมวลชนให้มากที่สุด เพราะปริมาณถนนไม่เพียงพอที่จะรองรับการเพิ่มของจำนวนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ อีกทั้งยังสามารถช่วยชาติบ้านเมืองประหยัดเงินงบประมาณที่ต้องสูญเสียไปกับน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นจำนวนเงินมหาศาล
- คุณภาพชีวิต
- ต้องเพิ่มพื้นที่ที่เป็นสวนสาธารณะให้มากที่สุด เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและ ออกกำลังกายของครอบครัว และ ขอความร่วมมือให้มีการปลูกต้นไม้ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ มากขึ้น เพื่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดีของคนกรุง
- ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ให้มีอาสาสมัคร (Citizen Patrol) ทั้ง 50 เขตปกครองของกรุงเทพมหานคร โดยให้มีชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น ชมรมอาสาจราจร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะปัจจุบันเห็นแต่อัตราแต่ในความเป็นจริงแล้วมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ ไม่เพียงพอ กรุงเทพมหานครต้องจัดจ้างและขอให้หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดระบบรักษาความปลอดภัย และร่วมประสานงาน โดยสร้างสำนึกสาธารณะร่วมกัน และพร้อมจะช่วยเหลือกันในเบื้องต้น ในการรายงานเหตุด่วนเหตุร้ายเข้าเครือข่ายชุมชน
- ความสะอาดของถนนหนทาง จะต้องขอความร่วมมือผู้ค้าหาบเร่แผงลอยหยุดขายของสัปดาห์ละ 1 วัน เพื่อทำความสะอาด และจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่สะอาดถูกสุขลักษณะและเพื่อให้มีพื้นที่เดินเท้า
- คุณภาพอากาศจะต้องดีขึ้น เพราะจะมีการตรวจอย่างเข้มงวดจริงจังกับคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร เช่น ควันดำ ควันขาว จากรถบรรทุก และรถจักรยานยนต์ ตลอดจนควันจากปล่องไฟของสถานประกอบการ เพราะต่อไปกรุงเทพมหานครจะถือนโยบาย Zero tolerance คือ มาตรการไม่ยอมให้มีควันพิษ รวมถึงรถยนต์ รถจักรยานยนตร์ที่มีเสียงดังเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด
- ร่วมมือกับต่างประเทศสร้างเครือข่ายบ้านพี่เมืองน้อง เพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งความรู้ทางด้านดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรม อาหารและแนวทางแก้ไขปัญหาเมืองใหญ่ร่วมกัน
- เปิด / ใช้สถานที่ราชการให้เกิดประโยชน์ อาทิเช่น โรงเรียนที่มีลานกว้างเพื่อเป็นที่ออกกำลังกายของประชาชน หรือ เป็นที่สำหรับการแสดงดนตรี แทนที่จะปิดและห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าเช่นในปัจจุบัน โดยจะจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย
- ขอความร่วมมือจากให้สถานศึกษาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถานอุดมศึกษา ทั้ง 50 เขตปกครองของกรุงเทพมหานคร ให้มาเป็นภาคีเพิ่มเติมเพื่อช่วยดูแลและมีส่วนร่วมในการทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่ ปัญญาชนจากสถาบันการศึกษาเหล่านี้ จะเป็นมันสมองและกำลังสำคัญให้กับทีมผู้บริหารกรุงเทพมหานครเป็นอย่างดี
- จัดให้มีอาสาสมัครกรุงเทพมหานครตามเขตและโรงพยาบาลเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อและช่วยประสานงานหรือดูแลความปลอดภัย
- ขอให้สถานีบริการน้ำมันทุกแห่งทำความสะอาดบริเวณสถานีให้บริการ โดยเฉพาะห้องน้ำ จัดโครงการรณรงค์ และประกวดการรักษาความสะอาดระหว่างสถานีบริการน้ำมันทั่วกรุงเทพมหานคร เพิ่มห้องน้ำสาธารณะในตลาดหรือตามจุดต่าง ๆ สิ่งที่สำคัญและเป็นหัวใจของกรุงเทพมหานครคือ ขอให้ทั้ง 50 เขตปกครองมีสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เป็นกำลังและมันสมองที่สำคัญ ในการแสดงความคิดเห็น ช่วยเหลือติดต่อประสานงาน และระดมความคิดจากปัญญาชนเพื่อร่วมมือร่วมใจแก้ไขปัญหาของคนกรุงเทพมหานคร
- เศรษฐกิจเมือง
- ขอความร่วมมือจากบริษัท ห้างร้าน องค์กรต่าง ๆ ในการว่าจ้างเยาวชนให้มาทำงานในสถานประกอบการ เป็นการหารายได้พิเศษและชี้ให้เยาวชนเห็นคุณค่าของเงินและใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
- สนับสนุนให้วัดเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมประชาชนให้มีทักษะในการประกอบอาชีพมากขึ้น เช่น ตัดผม ตัดเสื้อ ทำเครื่องจักรสาน ทำเครื่องปั้นดินเผา นวดตัว นวดฝ่าเท้า สอนทำอาหาร และสอนภาษาต่างประเทศ อาทิ อังกฤษ จีน ญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานให้พอสามารถ ติดต่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศได้
- ให้สถานศึกษาเป็นพี่เลี้ยงฝึกสอนและอบรม การทำการค้า หรือธุรกิจขนาดย่อม เช่น ทำบัญชี การเงิน การตลาด การขาย ส่งเสริม SME & Micro Enterprise
- สร้างสรรค์สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ของเขต ให้เป็นเอกลักษณ์ของดี 50 เขต
- พัฒนาแหล่ง Shopping Street, Walking Street และสถานที่ท่องเที่ยว
- การศึกษา
- สอนให้เด็กสนใจการค้าและรักการทำธุรกิจตั้งแต่ในโรงเรียน โดยตั้งสหกรณ์หรือธนาคารเด็ก
- บรรจุหลักสูตรสำนึกสาธารณะลงในโปรแกรมการสอนของโรงเรียน เพื่อปลูกฝังให้คนไทยทุกคนมีสำนึกในการ ช่วยกันสอดส่องดูแลและรักษาสาธารณะสมบัติ
- สอนภาษาต่างประเทศ ดนตรี กีฬา อาชีพโดยมีโรงเรียนพี่เลี้ยงที่เข้มแข็งคอยดูแล
- ขอความร่วมมือจากวัด / ศาสนสถาน ช่วยประสานงานและจัดการฝึกสอนวิชาชีพให้ประชาชนฟรี เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างแอร์ ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างเครื่อง ช่างตัดเสื้อ ช่างตัดผม ช่างไฟ เพื่อเพิ่มบทบาทของพระสงฆ์และให้ประชาชนเข้าใกล้ศาสนามากขึ้น
- ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน
- มีหน่วยคุ้มครองบริเวณสะพานลอยคนข้าม โดยอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาจราจร อาสาตำรวจบ้าน และจัดจ้างคนเพิ่มเพื่อออกตระเวนพื้นที่ร่วมกับตำรวจ โดยมีเครือข่ายประชาชนอื่น ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น จส.100 สวพ.91 สนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
- ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินมี Citizen Patrol ทั้งหมดทุกเขตโดยมีชมรมต่างๆ เช่น วิทยุสมัครเล่น อาสาจราจร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยทางกรุงเทพมหานครต้องจัดจ้างและขอให้หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดระบบรักษาความปลอดภัย และ ร่วมประสานงาน โดยสร้างสำนึกสาธารณะร่วมกัน และพร้อมจะช่วยเหลือกันในเบื้องต้น โดยการรายงานเหตุด่วนเหตุร้ายเข้าเครือข่าย เช่น จส.100 หรือ สวพ.91 วิทยุร่วมด้วยช่วยกัน FM96.0
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะต้องรับรู้รับฟังปัญหาและแนวทางการแก้ไข โดยให้โอกาสแก่ประชาชนในทุกมิติของสังคม เพื่อระดมความคิดและความร่วมมืออันจะนำมาซึ่งเป้าหมายของเมืองน่าอยู่ในอนาคต “ BOTTOM UP MANAGEMENT ”
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
โทร.02-3503676

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ