นายกรัฐมนตรี เหวิน เจีย เป่า ของจีนเข้าพบประธานกลุ่มพุทธศาสนาโซกะ กัคคาอิ ขณะเดินทางเยือนญี่ปุ่น

อังคาร ๑๗ เมษายน ๒๐๐๗ ๑๐:๐๕
โตเกียว--17 เม.ย.--เกียวโด เจบีเอ็น-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
นายกรัฐมนตรี เหวิน เจีย เป่า แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีโอกาสเข้าพบกับนายไดซากุ อิเคดะ ประธานกิตติมศักดิ์ของกลุ่มพุทธศาสนา โซกะ กัคคาอิ (Soka Gakkai) ที่โรงแรมนิว โอตานิ เป็นเวลา 30 นาที ในช่วงบ่ายของวันที่ 12 เมษายน โดยมีนาย หลี่ จ้าว ซิง รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศจีน และนายหวาง อี้ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมด้วย ในการพบกันครั้งนี้ นายมิโนรุ ฮาราดะ ประธานกลุ่มโซกะ กัคคะ และนายมาซาอากิ มาซากิ ผู้อำนวยการทั่วไป ให้การต้อนรับ
นายกรัฐมนตรี เหวิน ซึ่งมีโอกาสเข้าพบกับนายอิเคดะ เป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2535 ขณะร่วมเดินทางเยือนญี่ปุ่นพร้อมกับประธานาธิบดี เจียง เจ๋อ หมินนั้น ได้แสดงความคิดเห็นว่า เขาเคยอ่านบทสนทนาสองบทที่ผู้นำกลุ่มโซกะ กัคคาอิ ได้เขียนไว้ พร้อมกับยกย่องความพยายามของนายอิเคะดะ ที่จะสนับสนุนความสัมพันธภาพอันดีระหว่างสองประเทศ และได้มอบอักษรพู่กันจีนที่เขาได้ลงมือเขียนเองข้อความว่า "สร้างเส้นทางใหม่สู่อนาคตผ่านทางความเอื้ออารี ผูกมิตรภาพอันดีผ่านทางสันติสุข"
นายกรัฐมนตรี เหวิน กล่าวแสดงความเห็นว่า การเดินทางเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้เป็นการเดินทางที่ยากที่สุดและสำคัญที่สุดสำหรับการเดินทางเยือนต่างประเทศในรอบหลายปีนี้ และรู้สึกประทับใจที่ประชาชนชาวญี่ปุ่นมีความปราถนาดีอย่างจริงใจเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
ขณะเดียวกันนายอิเคดะได้ยกย่องสุนทรพจน์อันโดดเด่นของนายกรัฐมนตรี เหวิน ที่สภาไดเอท โดยสุนทรพจน์ของนายอิเคดะเป็นการประกาศสันติภาพและมิตรภาพระหว่างจีนและญี่ปุ่นที่ยิ่งใหญ่และน่าประทับใจ นอกจากนี้ เขากล่าวว่าเขาระลึกถึงอดีตนายกรัฐมนตรี โจ เอิน ไหล ซึ่งมีความรักต่อเพื่อนมนุษย์เช่นกัน อีกทั้งยังเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างถ่องแท้และมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
หลังจากการพบปะสิ้นสุดลง นายกรัฐมนตรีเหวิน ได้แสดงความคาดหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะมีโอกาสพูดคุยกันมากขึ้นในโอกาสหน้า
นายอิเคดะยึดมั่นในการส่งเสริมความสัมพันธภาพระหว่างญี่ปุ่นและจีนมานานเกือบ 4 ทศวรรษ และได้มีโอกาสเยือนประเทศจีนมากกว่า 10 ครั้ง และในการเดินทางครั้งที่สองของเขาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2517 นั้น เขาได้พบกับอดีตผู้นำจีน โจ เอิน ไหล ก่อนที่อดีตนายกรัฐมนตรีจีนผู้นี้จะเสียชีวิตไม่นาน
นอกจากนี้ นายอิเคดะ ยังเป็นผู้สนับสนุนให้ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและญี่ปุ่นเป็นไปอย่างปกติ โดยเขาเริ่มเสนอเรื่องนี้เมื่อปีพ.ศ. 2511 รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและวัฒนธรรมซึ่งเป็นเสมือนสะพานสันติภาพระหว่างสองฝ่าย เมื่อปีพ.ศ. 2518 มหาวิทยาลัยโซกะ ซึ่งก่อตั้งโดยนายอิเคดะ ได้ต้อนรับนักเรียนแลกเปลี่ยนชาวจีนเป็นครั้งแรกหลังจากที่ความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่นเข้าสู่สภาวะปกติ เขาได้รับปริญญาดุษฏีกิตติมศักดิ์และศาสตราจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาในประเทศจีนกว่า 70 สถาบัน โดยเขาได้รับการยอมรับในเรื่องการอุทิศตนให้กับมิตรภาพและการแลกเปลี่ยนระหว่างจีน-ญี่ปุ่น
กลุ่มโซกะ กัคคาอิ เป็นกลุ่มพุทธศาสนาที่สนับสนุนสันติภาพ วัฒนธรรมและการศึกษาอย่างกระตือรือร้น โดยกลุ่มมีสมาชิกทั่วประเทศญี่ปุ่นราว 10 ล้านคน นายไดซากุ อิเคดะ เป็นประธานของกลุ่มระหว่างพ.ศ.ปี 2503-2522 และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานของ โซกะ กัคคาอิ อินเตอร์เนชั่นแนล และประธานกิตติมศักดิ์ของโซกะ กัคคาอิ
แหล่งข่าว: โซกะ กัคคาอิ อินเตอร์เนชั่นแนล
ติดต่อ: โจแอน แอนเดอร์สัน โซกะ กัคคาอิ อินเตอร์เนชั่นแนล
สำนักงานประชาสัมพันธ์
โทรศัพท์ +81-3-5360-9830
โทรศัพท์เคลื่อนที่ 090-8776-4428
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ