ผู้ผลิตเอทานอล วอนภาครัฐยกเลิก MBTE

อังคาร ๒๗ มีนาคม ๒๐๐๗ ๐๘:๔๒
กรุงเทพฯ--27 มี.ค.--สยาม พีอาร์ คอนซัลแทนท์
โรงงานผู้ผลิตเอทานอล ผนึกกำลังยืนหนังสือวอนภาครัฐ กำหนดนโยบายชัดเจน ยกเลิก MBTE
สมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย และ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด ตัวแทน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือต่อนายปิยบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิตเอทานอลกำลังได้รับความเดือดร้อนปริมาณ เอทานอลค้างอยู่ในสต๊อกกว่า 11.89 ล้านลิตร ซึ่งเป็นผลผลิตจากโรงงานเอทานอลเพียง 6 โรงงานเท่านั้น ซึ่งภาครัฐยังไม่มีมาตรการในการแก้ไขปัญหาอย่างขัดเจนแต่อย่างใด โดยในปัจจุบันมีโรงงานที่ทำการผลิตแล้วทั้งสิ้น 6 โรงงานด้วยกัน กำลังการผลิตรวมประมาณ 855,000 ลิตรต่อวัน ในขณะเดียวกันก็มีโรงงานเอทานอลที่ได้ลงทุนและดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2550 อีกจำนวน 9 โรงงาน ซึ่งมีอัตรากำลังการผลิตรวมกว่า 1.3 ล้านลิตรต่อวัน สรุปภาพรวมในปี 2550 จะมีโรงงานผลิตเอทานอลรวมทั้งสิ้น 15 โรงงาน และจะมีเอทานอลในตลาด ประมาณ 2.1 ล้านลิตรต่อวัน นอกจากนี้ยังมีโรงงานที่ขออนุญาตผลิตเอทานอลอีก 30 โรงงาน”
จากสภาพการณ์ดังกล่าวข้างต้น สมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย สมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย และ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด ตัวแทน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย มีความเห็นว่า รัฐบาลจะต้องให้ความชัดเจนในการดำเนินนโยบายส่งเสริมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และต้องดำเนินการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน ก่อนที่จะเกิดปัญหาบานปลายไปมากกว่านี้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- ขอให้รัฐบาลประกาศยกเลิกการสาร MBTE ซึ่งเป็นส่วนผสมในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ที่ต้องนำ เข้าจากต่างประเทศ และประกาศให้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ทดแทนโดยทันที โดยเร็ว
- รัฐบาลต้องเร่งกำหนดมาตรการส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91ให้รวดเร็วขึ้น ด้วยการสนับสนุนบริษัทน้ำมันให้เพิ่มสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ให้มีทั่วประเทศภายใน 2551
- ขอให้ภาครัฐรับซื้อเอทานอลส่วนเกิน และจัดทำเป็นสต๊อกเอทานอลสำรอง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของโรงงานผู้ผลิตเอทานอล และใช้เป็นกลไกในการสร้างเสถียรภาพด้านปริมาณ และราคาเอทานอลในอนาคต
- ขอให้ภาครัฐกำหนดแนวทางในการพัฒนาเอทานอลให้เป็นพลังงานทดแทน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศอย่างจริงจัง ในกรณีที่มีเอทานอลคงเหลือเกินกว่าปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศในขณะนั้น ให้เพิ่มสัดส่วนการผสมในน้ำมัน ในทางตรงกันข้าม ในกรณีที่มีเอทานอลต่ำกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ ก็ให้ปรับสัดส่วนการผสมในน้ำมันลง ซึ่งเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในประเทศบราซิล
- เนื่องจากเอทานอลเป็นสินค้าที่ถูกควบคุมในฐานะที่เป็นเชื่อเพลิง และสุรา จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาแก้ไขกฎระเบียบให้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว ทั้งนี้เพื่อให้ความคล่องตัวในการประกอบการยิ่งขึ้น
สำหรับวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลนั้น คาดว่าไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน เนื่องจากสามารถวัตถุดิบสามรถผลิตได้จากพืชที่ปลูกในเมืองไทย อาทิ อ้อย มันสัมปะหลัง เป็นต้น ที่สำคัญเอทานอลเป็นพลังงานทดแทนสามารถช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิง จากต่างประเทศได้ปีละหลายล้านบาท และเป็นพลังงานสะอาดที่ช่วยลดมลภาวะพิษ เนื่องจากผลิตจากพืชการเกษตรทดแทน การใช้สารเพิ่มออกเทนในน้ำมันเบนซิน (MBTE) สาเหตุหลักของการเกิดภาวะเรือนกระจก (Green House Effect) และอุตสาหกรรมเอทานอลยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ พัฒนาการเกษตรของประเทศอีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
บุปผา มนต์ทอง 081-859-0265, อลิสา ทองสดเจริญดี 086-690-6989,
บริษัท สยาม พีอาร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด โทร. 0-2693-7835-8 ต่อ 28-30

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ