กรุงเทพฯ--29 พ.ค.--อินคริสซ์ เน็ทเวิร์ค เอเจนซี แอนด์ คอนซัลแทนส์
มั่นใจมาตรฐานอาหารส่งผลทั้งผู้ซื้อ-ผู้ขายได้ประโยชน์เกินคาด
นางสาวชนิษฐา จิรนันทภาส Lead Assessor&Food Business Line Manager บริษัท บูโรเวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยภายหลังเป็นวิทยากรในการสัมมนา Food Security มาตรการป้องกันและตอบโต้การก่อการร้ายโดยผ่านทางอาหาร ซึ่งจัดขึ้นในงานแสดงสินค้าอาหาร THAIFEX — World of Food ASIA 2007 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี...ว่า ในปัจจุบันการก่อการร้ายเกิดขึ้นได้ทุกรูปแบบการก่อการร้ายผ่านทางอาหารเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้าม ขณะที่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้นำเข้าสินค้าไทยในแต่ละประเทศต่างวิตกกับปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการด้านอาหารและตัวแทนขายก็มีความวิตกไม่ต่างกัน Food Security จึงเป็นมาตรการป้องกันและตอบโต้การก่อการร้ายเพียงมาตรการเดียวที่จะทำให้ทุกฝ่ายมั่นใจต่อความปลอดภัยในอาหาร ทั้งนี้สำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทยที่จะทำการส่งออกสินค้าอาหารไปยังต่างประเทศ มาตรการนี้ยังเท่ากับการปกป้องมูลค่าการค้ากว่า 6 แสนล้านบาทในปี 2550 ด้วย
“ ตัวเลขอ้างอิงการส่งออกสินค้าหมวดอาหารปี 2550 ส่งออกอาหารโดยรวมจะมีปริมาณ 25.82 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 9.8 % หากคิดเป็นมูลค่าจะประมาณ 6 แสนล้านบาทเศษ เพิ่มขึ้นปี 2549 ซึ่งคาดว่าจะส่งออก 5.5 แสนล้านบาท 10.3 % สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ข้าว กุ้ง ไก่ ทูน่า ผลไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ทุกกลุ่มก็ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี โดยมีอัตราการเติบโตระหว่าง 5-13 % นอกจากนี้ยังมีสินค้าอาหารอื่นๆ ที่ยังอยู่ในระหว่างการเติบโตและคาดว่าในอนาคตจะกลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูง ร่วมทั้งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการของไทยจะต้องเข้าใจความเคลื่อนไหวและความต้องการของคู่ค้า โดยเฉพาะคู่ค้าในตลาดโลกซึ่งจะมีความอ่อนไหวและวิตกในเรื่องของอาหารปลอดภัยสูงมาก ” นางสาวชนิษฐา จิรนันทภาสกล่าว
สำหรับหลักการสำคัญของ Food Security นางสาวชนิษฐา จิรนันทภาสกล่าวว่า จะเน้นไปสู่การสร้างมาตรการป้องกันภัยให้อาหารมีความปลอดภัยสูงสุด เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำมาผลิต ขั้นตอนการนำสู่ขบวนการผลิต ด้านการขนส่ง การล้างทำความสะอาด การจัดการสถานที่ผลิต การจัดการและความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในฝ่ายผลิต การตรวจสอบการผลิต คุณสมบัติของวัตถุดิบ จนไปสู่การวิเคราะห์จุดวิกฤต การทดสอบผลิตภัณฑ์ผลิตเสร็จ รวมทั้งขั้นตอนด้านความปลอดภัยมากมาย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์พร้อมจัดส่งที่มีความปลอดภัย 100 % และที่สำคัญผู้ซื้อปลายทางตรวจสอบได้ โดยหลักการของ Food Security จะถูกแยกย่อยไปสู่มาตรการต่างๆ ตามประเภทและชนิดของอาหารที่ผลิต เช่นการผลิตข้าวจะมีมาตรการป้องกันของ Food Security แบบหนึ่ง ในขณะที่ผลไม้ไทยประเภทที่จัดส่งสด.....ไปยังคู่ค้าสำคัญทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น ก็จะมีมาตรการ Food Security แบบหนึ่ง แต่ทั้งหมดของ Food Security นั้นผู้ประกอบการสามารถจัดทำได้โดยง่าย โดยถูกแยกย่อยให้เข้าใจผ่านหลักการของมาตรฐานต่าง ๆ ไม่ว่า ISO 9001:2000 (Quality) มาตรฐาน ISO 14001:2004 (Environment) มาตรฐาน OHSAS 18001/TIS 18001(Health and Safety) มาตรฐาน ISO 27000 (Information Security) มาตรฐาน SA 8000/TLS 8001 (Social Accountability) และมาตรฐาน Food Hygiene&Safety: EUREPGAP (Euro Retailer Produce Working Group), GMP (Good Manufacture Practice), HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) และ ISO22000:2005 DANAK ACCREDITED ฯลฯ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเรื่อง Food Security สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท บูโรเวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย จำกัด ....นางสาวกนกวรรณ Tel: 02-670-4881 หรือ นางสาวดวงกมล Tel: 02-670-4862 Fax: 02-670-0511 …..ทุกวันในเวลาทำการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
จินตนา ตรีพิชิต และดวงเดือน เยี่ยมญาติ ประชาสัมพันธ์
บริษัท อินคริสซ์ เน็ทเวิร์ค เอเจนซี แอนด์ คอนซัลแทนส์ จำกัด ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
โทร. 02-986-1135, 02-986-1854
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
- พ.ย. ๒๕๖๗ กยท. ยกระดับโรงงาน 6 แห่ง สู่มาตรฐาน ISO 9001:2015 เพิ่มความเชื่อมั่น หนุนชาวสวนยางขายวัตถุดิบได้มากขึ้น
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน รับมอบใบรับระบบ ISO/IEC 27001 และ ISO/IEC 20000
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ฮอลิเดย์ อินน์ สีลม ฉลองใหญ่ ขึ้นแท่นโรงแรมแรกในเอเซีย คว้ารวด 5 มาตรฐานระดับโลก