การประชุมคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

ศุกร์ ๑๐ สิงหาคม ๒๐๐๗ ๑๕:๒๔
กรุงเทพฯ--10 ส.ค.--ท่าอากาศยานไทย
พลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ครั้งที่ 24/2550 ในวันพฤหัสบดีที่ 9 ส.ค.50 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมคณะกรรมการ ทอท. ชั้น 7 โดยมีสาระสรุปดังนี้
การดำเนินงานให้บริการรักษาความปลอดภัยของกลุ่มล๊อกซเล่ย์ — ไอ ซี ที เอส คอนซอร์เตียม
ตามที่ คณะกรรมการ ทอท.ได้มีมติการประชุมครั้งที่ 23/2550 เมื่อวันที่ 26 ก.ค.50 ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างงานให้บริการรักษาความปลอดภัยของกลุ่มล็อกซเล่ย์ — ไอ ซี ที เอส - คอนซอร์เตียม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของคอนซอร์เตียมให้เป็นไปตามสัญญาโดยเคร่งครัด หากเห็นว่าเงื่อนไขข้อใดในสัญญามีข้อความเคลือบคลุมไม่ชัดเจน ให้หารือฝ่ายกฎหมายให้ได้ ข้อยุติโดยเร็ว เพื่อใช้ควบคุมการปฏิบัติงานของคอนซอร์เตียมต่อไป นั้น
คณะกรรมการตรวจการจ้าง ฯ ได้รายงานว่า มีการปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานและปรับปรุงแบบประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้การทำงานและการตรวจสอบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันคณะกรรมการ ทอท.ได้มีการแต่งตั้งผู้แทนจากคณะกรรมการ ทอท.จำนวน 3 คน ประกอบด้วย
นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล เป็นหัวหน้าคณะเจรจา พลอากาศโท อิทธพร ศุภวงศ์ และ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เพื่อไปเจรจากับคอนซอร์เตียมลดระยะเวลาการจ้างงาน จากเดิม 10 ปี เหลือเป็นสัญญาจ้าง 3 ปี และต่อสัญญาครั้งละ 1 ปี จนครบ 5 ปี อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้หากคอนซอร์เตียมปฏิบัติผิดเงื่อนไขสัญญา ทอท.จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันที
ทอท.แจกถุงพลาสติกใสสำหรับใส่ของเหลวขึ้นเครื่องบิน
ตามที่ ทอท.ได้ประกาศใช้มาตรการจำกัดของเหลว เจล สเปรย์ขึ้นเครื่องบินจากท่าอากาศยานในความรับผิดชอบ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.50 นั้น ในช่วงแรกระหว่าง มิ.ย.— ก.ค.50 บริษัทสายการบินต่าง ๆ ได้รับผิดชอบดำเนินการจัดหาถุงพลาสติกใสสำหรับใส่ของเหลวที่จะนำขึ้นเครื่องบินมอบให้กับผู้โดยสาร อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการลดภาระของบริษัทสายการบินและผู้โดยสารที่ต้องการนำของเหลว เจล สเปรย์ขึ้นเครื่องบินในปริมาณที่กำหนด (ขวดละไม่เกิน 100 มิลลิลิตร รวมปริมาณทั้งหมดต้องไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร) ทอท.จึงได้จัดทำถุงพลาสติกใสพิมพ์สัญลักษณ์ AOT ขนาด 20x20 ซม. หนา 0.10 มิลลิเมตร สำหรับใส่ของเหลวที่จะนำขึ้นเครื่องบินมอบให้แก่ผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทอท.คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) ท่าอากาศยานเชียงราย (ทชร.) และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) โดยจะสามารถแจกจ่ายได้ภายใน ส.ค.50
ทอท.เร่งประชาสัมพันธ์เชิงรุก
ทอท.จัดทำแผนประชาสัมพันธ์เชิงรุกระยะสั้น (สิงหาคม - กันยายน 2550) เน้นกลุ่มเป้าหมาย ผู้โดยสาร ผู้ใช้บริการท่าอากาศยาน สื่อมวลชน สาธารณชน พนักงานและลูกจ้าง ทอท. ซึ่งประกอบด้วยแผนการประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร เพื่อให้พนักงาน ทอท.ทราบข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว ตลอดจนเข้าใจนโยบายคณะกรรมการ ทอท. และผู้บริหารระดับสูงเป็นอย่างดี สามารถสื่อสารภายในองค์กรแบบ 2 ทาง (Two-way Communication) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งความเป็นเอกภาพภายในองค์กร และแผนการประชาสัมพันธ์ภายนอกองค์กร นั้น ทอท.จะเร่งเผยแพร่แนวทางการพัฒนาท่าอากาศยาน ข้อมูลการให้บริการภายในท่าอากาศยาน ความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของท่าอากาศยาน รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงาน การดำเนินงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ของ ทอท.ให้กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจการบิน ผู้ใช้บริการท่าอากาศยาน รวมทั้งสาธารณชนได้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างทันท่วงทีและเสมอภาคกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ