รมต.พาณิชย์ เปิดการสัมมนา “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ก้าวใหม่ที่ท้าทาย หรือ ความฝันที่ไกลเกินจริง”

ศุกร์ ๒๒ มิถุนายน ๒๐๐๗ ๑๕:๕๔
กรุงเทพฯ--22 มิ.ย.--กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเปิดการสัมมนาและบรรยายพิเศษ เรื่อง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ก้าวใหม่ที่ท้าทาย หรือ ความฝันที่ไกลเกินจริง” วันที่ 20 มิถุนายน 2550 ณ โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทรัลพลาซา กรุงเทพฯ
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีนโยบายเศรษฐกิจการค้าที่ต้องการผลักดันการส่งออกลดการนำเข้า และเอาต่างประเทศมาลงทุน ซึ่งในขณะนี้เราติดใจการลงทุนของต่างชาติ จริงๆ แล้วผลประโยชน์มากน้อยเพียงใดเราก็ไม่ได้วัดแต่คิดว่าเราได้ประโยชน์ เพราะถ้าเราไม่ได้ประโยชน์ไทยเราก็คงไม่มาถึงจุดนี้ได้ ฉะนั้นเรื่องที่เราบอกว่าไม่มีนโยบายเศรษฐกิจการค้าหรือไม่นั้นก็คงจะหมายความว่า เรามีนโยบายที่ชัดแจ้งและทุกคนยอมรับกันหรือเปล่า เพราะถ้าเราไม่มีนโยบายที่ชัดแจ้งไม่มีอะไรที่แน่นอนเราก็ไปอย่างสะเปะสะปะ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไปแบบตามมีตามเกิด
อย่างเช่น กรณีของสหรัฐ ซึ่งเราถูกบีบบังคับตลอดแล้วเราก็เดินตามอย่างสะเปะสะปะและเดินไปตามทางที่ถูกบีบ ซึ่งเราก็รู้ว่าถูกบีบเราถูกบีบอะไรบ้าง และเราก็พัฒนาแนวความคิด นโยบายเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง GSP บ้างจิปาถะ ซึ่งเราระมัดระวังมาก เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ท่านปลัด(นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์) บอกว่าเราเปิดประตูแล้วเอามือยันไว้ ส่วนท่านอธิบดี(น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) ก็บอกว่าเราเจรจาเชิงรุก คือรุกแบบถอยไปยันไปนี้คือสิ่งที่เราทำมาโดยตลอด ใครมาแบบไหนเราก็ไปแบบนั้น เพราะฉะนั้นเราก็ไปแบบค่อยเป็นค่อยไป
นอกเรานี้เราก็เป็นทั้งหมดที่คิดซึ่งคนอื่นเขาจะมองเราว่าไทยกำลังทำอะไรอยู่ แต่เขาก็ไม่สามารถบอกให้ทั้งโลกได้รับรู้ได้ แต่เขาก็ต้องทำเพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของโลก และก็มีการทำมาเรื่อยๆ จนเราเข้าไปเจรจากับประเทศอุรุกวัยเข้าไปเป็นแกะด้วยความจำเป็น เพราะตอนนั้นเราโดนสหภาพยุโรปกีดกันมันสำปะหลัง หลังจากนั้นเราก็เริ่มปรับแผนกับเรื่องนโยบาย และเข้าไปเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2525 หลังจากนั้นก็ได้ปรับแผนและนโยบายให้เข้ากับโลกมากขึ้นตามให้ทันโลก
อีกทั้งกลุ่มเพื่อนบ้านเรามี AFTA ซึ่งเป็นจริงเป็นจัง หลังจากที่เกิดอาเซียนประมาณ 25 ปี สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นด้วยวิวัฒนาการ ซึ่งเราก็เห็นความจำเป็นและรัฐบาลชุดนี้ก็มองในสิ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องทำอย่างเช่นการลงนามทำเขตการค้าเสรีกับไทย — ญี่ปุ่น แม้ว่าจะมีคนบอกว่าเราเป็นรัฐบายอายุสั้นไม่ควรที่จะผูกพันประเทศไทยไว้ แต่เราคิดว่าสิ่งที่เราผูกพันไว้นั้นเป็นสิ่งที่ดีงานสำหรับประเทศ อย่างเช่น JTEPA เป็นการส่งสัญญาณที่ดีให้กับโลกว่า แม้กระทั่งประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 หรือ 3 ของโลก ก็ให้เกียรติประเทศ และก็ลงนามให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจไทย ซึ่งตรงนี้สำคัญมากสำคัญกว่าตลาดที่คุณจะได้ว่ามันใหญ่กว่าตลาดญี่ปุ่น
ทั้งนี้ญี่ปุ่นก็ถามเราว่าเราเตรียมตัวหรือยัง อีก 4 — 5 เดือน ถึงจะมีผลบังคับใช้ ซึ่งเราก็ได้เตรียมตัว แลเตรียมเอกชนทั้งหลายแล้วบ้าง หากถามว่าเรามีทางเลือกอื่นบ้างไหม เรื่องการเปิดเสรีการค้าโลกเป็นกฎกติกาการค้าโลกที่เราจำเป็นต้องมี ถ้าเราไม่มีแล้วประเทศเล็กจะไปใช้อะไร เพราะฉะนั้นองค์การค้าโลกก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่มีทางเลือกอย่างอื่นเลย
การส่งออกของเราเป็น export economy ทุกวันนี้เขาบอกว่าเครื่องยนต์ที่ทำงานอยู่คือ เครื่องยนต์ส่งออก การส่งออกเมื่อเดือนที่แล้วเพิ่มขึ้น 20 % แล้วเมื่อ 6 — 8 เดือนที่ผ่านมาก็มีการเติบโตไม่เกิน 18 % ก็ต้องบอกว่าเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่ง แต่มีคนบอกว่าตอนนี้ทฤษฎีมันกลับข้าง การส่งออกมากไปก็ไม่ดีเงินบาทแข็งขึ้นแต่เราก็ทำอย่างอื่นด้วย นอกจากนี้หากเรื่องการเมืองการเมืองนิ่งขึ้นและความเชื่อมั่นก็จะกลับมา อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งก็ต้องมีแน่นอน เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน ความท้าทายของเราก็คือจะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจของเรายังยืน และเราก็จะต้องขยายอานาเขต ในการทำการค้าขยายไปรอบๆ ประเทศไทย ซึ่งก็คืออาเซียนนั้นเอง
ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยเองก็จะต้องมีการพัฒนาธุรกิจของตนด้วยเพื่อที่จะสามารถแข็งขันกันประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราก็พยายามทำอยู่ อาเซียนในปีนี้จะเข้าปีที่ 40 ปี ซึ่งกำลังจัดจ้าน ทุกอย่างมีแนวคิดหมดมาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่ไม่เคยมีการกระทำที่ทัดเทียม(คิดเก่งแต่ทำช้า) แต่ถามว่ามันมีความจำเป็นไหมคิดว่ามันมีความจำเป็นอย่างเช่นเดียวกับประเทศไทยที่มีความจำเป็น
ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างแน่นอน อาเซียนมี 10 ประเทศ ถ้าไม่นับประเทศไทยเหลือ 9 ประเทศ เป็นประเทศอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ อาเซียนเป็นตลาดใหญ่ ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าเวลาที่ผ่านมานั้นประเทศไทยสามารถจะพัฒนาความสัมพันธ์กับอาเซียนในเชิงสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่เป็นกลางเรียกว่าอยู่จุดกึ่งกลางของอาเซียนในทางของโลจิสติกส์การที่เคลื่อนผ่านไทยไปยังประเทศทางเหนือใต้ ซ้าย หรือขวา ไทยน่าจะเป็นจุดที่อยู่ในชัยภูมิที่ดีที่สุด ซึ่งอาเซียนพยายามที่จะลดภาษีหารค้าระหว่างกันให้เป็น 0 ให้เร็วที่สุด
ส่วนโอกาสที่เป็นประชาคมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับอาเซียนอื่น ๆ ด้วยขณะนี้มีแผน 2015 โดยจะทำให้เป็นอาเซียนเดี่ยวหมายถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุน คนทั้งหลายเหล่านี้ให้เป็นไปอย่างเสรียิ่งขึ้น ซึ่งในระยะเวลาอีก 8 ปีเท่านั้น คิดว่าประเทศไทยน่าเคลื่อนไปได้ตามระบบที่เป็นความตั้งใจของสมาชิกอาเซียน ณ ขณะนี้กำลังมีการจัดทำรัฐธรรมนูญอาเซียนเพื่อที่จะทำให้อาเซียนมีบทบาทที่ผูกพันตามกฎหมายนั้นหมายความว่าทุกประเทศต้องทำไม่ทำไม่ได้ซึ่งจะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความผูกพันกันมากขึ้นจะเกิดความเข้มแข็งมากขึ้น จะมีสถาบันรองรับ
เพราะฉะนั้นคิดว่าประเทศไทยต้องมองความจริงเหล่านี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนแล้วใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด และต้องเริ่มปรับตัวทำให้แข็งแรงพร้อมรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นแล้วมองโอกาสการลงทุนในอาเซียนที่จะมีการแข่งขันการลงทุนที่จะเข้ามาแข่งกับประเทศไทย ขณะนี้ประเทศไทยส่งออกไปอาเซียนเพิ่มขึ้นมาประมาณ 25% ของการส่งออก ซึ่งขึ้นเป็นอันดับ 1 ของประเทศที่มีการค้าขายด้วยกันและเป็นการเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ จาก 7% 8% เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องชัดเจนว่าเราได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่าหนี้อย่างแน่นอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ