พัฒน์กลรุกงานปิโตรเคมีปั๊มรายได้ ประเมินตลาดโตสูงมั่นใจศักยภาพธุรกิจ

พฤหัส ๑๖ สิงหาคม ๒๐๐๗ ๑๕:๑๖
กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์
การเมืองกระทบ รายได้พลาดเป้า พัฒน์กลเร่งปรับกลยุทธ์ พร้อมรุกงานปิโตรเคมีเพิ่ม หลังประเมินตลาดมีแนวโน้มเติบโตสูง ลั่นเดินหน้าขยายธุรกิจรองรับงานเพิ่มทั้งในและนอกประเทศ
ดร.ปิยะ จงวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) หรือ PATKL ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทำความเย็นและเครื่องจักรแปรรูปอาหารที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 40 ปี โดยให้บริการด้านวิศวกรรมครบวงจร เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมีเข้ามาแทนที่วัสดุจากธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ในรูปแบบของสินค้าอุปโภคและบริโภค ไม่ว่าจะเป็นแปรงสีฟัน แก้วน้ำ จาน ช้อน ถุงพลาสติก เครื่องสำอางค์ เสื้อผ้า เครื่องไฟฟ้า ยารักษาโรค ฯลฯ ส่งผลให้แต่ละปีจะมีจำนวนโรงงานปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น ทั้งที่สร้างใหม่และขยายโรงงานจากเดิม เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้รองรับกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีเพิ่มขึ้น
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้พัฒน์กลเล็งเห็นโอกาสของการขยายงานด้านนี้ จึงขยายธุรกิจปิโตรเคมีคอลเพิ่มขึ้นโดยตั้งหน่วยงานขายและทีมงานเพื่อจะเข้าไปรองรับอุตสาหกรรมดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของการผลิตอุปกรณ์สำหรับโรงงาน อาทิ ถังความดัน (PRESSURE VESSEL), แทงค์ (STORAGE TANK), ไพพิ่ง(PIPING),หอกลั่น, ถังรับความดัน-แลกเปลี่ยนอุณหภูมิ(HEAT EXCHANGER) ซึ่งทุกอุปกรณ์ล้วนเป็นไปตามคุณภาพมาตรฐานสากลของอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี โดยมีโรงงานรองรับการผลิตถึง 2 จุดด้วยกัน ได้แก่ ที่บางพลี และเพชรบุรี
กรรมการผู้จัดการ PATKL กล่าวด้วยว่า ถึงแม้บริษัทฯในอดีตจะไม่ได้ตั้งหน่วยงานขาย แต่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่จะช่วยสนับสนุนรายได้ให้กับบริษัทถึง 3 % ต่อปี ซึ่งในอนาคตจะเติบโตได้ปีละ 20 - 30% ของรายได้เดิม โดยที่ผ่านมาลูกค้าที่อยู่ในความดูแลมีทั้งหมด 25 รายด้วยกัน อาทิเช่น บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัลอินดัสตรี (TPI) บริษัทไบเยอร์ ไทย จำกัด บริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) (TPC) เป็นต้น
“สิ่งที่ทำให้เราได้รับงานจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง มาจากลูกค้าเชื่อมั่นในประสบการณ์และชื่อเสียงของบริษัทที่มีมากว่า 40 ปี การรับงานแบบครบวงจรสามารถครอบคลุมได้หลายเรื่อง และหลายธุรกิจ จากทีมงานวิศกรมืออาชีพ คุณภาพมาตรฐานของงาน ความตรงต่อเวลา การบริการ ภายใต้ราคาที่สมเหตุสมผล ความสัมพันธ์ของลูกค้าแน่นเฟ้น โดยนำประสบการณ์ความรู้ทำงานที่มีอยู่จากการทำน้ำแข็งและเอทานอลไปใช้ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกัน” ดร.ปิยะกล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 (เมษายน — มิถุนายน 2550) ของ PATKL นั้น ยอมรับพลาดเป้าจากผลกระทบทางการเมืองมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนเพิ่มของลูกค้า เนื่องจากเป็นสินค้าทุนและราคาวัสดุหลักสูงขึ้นกว่าเท่าตัวของงานเอทานอล และเป็นงานแรก ในอุตสาหกรรมดังกล่าว บริษัทฯได้ลงทุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้สามารถเติบโตในการงานด้านพลังงานทดแทนเช่นโรงงานเอทานอล และอยู่ในระหว่างศึกษาไบโอดีเซล จึงคาดว่าในงานต่อๆไปจะมีอนาคตทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งบริษัทฯสามารถเติมโตในอุตสาหกรรมการทำโรงงานปลาทูน่าได้จากแนวทางนี้ อย่างไรก็ดีจากสัญญาณจากรัฐบาลในการลดภาษีรถยนต์ที่ใช้เอทานอล E20 จึงคาดว่าทิศทางด้านพลังงานทดแทนนี้ในระยะยาวยังสดใส ขณะที่ผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2550 บริษัทฯ มีรายได้รวม 2,001 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 14 ล้านบาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ศิริขวัญ ธรรมชัยพิเนต(หยิง PR)
บริษัท มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
โทร. 02-643-1191-2 มือถือ 0-89173-5151
E-mail address : [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ