เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ฟ้องกรมวิชาการเกษตรเพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร

พุธ ๐๖ มิถุนายน ๒๐๐๗ ๑๐:๕๖
กรุงเทพฯ--6 มิ.ย.--เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
นายสิทธิโชค เดชภิบาล ทนายความผู้รับผิดชอบคดีกล้ายาง เปิดเผยว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด จะดำเนินการยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเพื่อขอให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้บริษัทฯ ส่งมอบต้นยางชำถุงจำนวน 16.14 ล้านต้นแก่เกษตรกร เพื่อรักษาประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรที่เตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกยางและรอกล้ายางชำถุงอยู่ ขณะที่กล้ายางชำถุงของบริษัทก็มีความพร้อมและรอการส่งมอบแล้ว แต่กรมวิชาการเกษตรกลับทำการยกเลิกโครงการฯ ก่อนครบกำหนดขยายระยะเวลาส่งมอบ ทำให้ความเสียหายตกอยู่กับเกษตรกร ซึ่งไม่เป็นการยุติธรรม
“การยื่นฟ้องกรมวิชาการเกษตรในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อรักษาสิทธิในการส่งมอบยางพาราชำถุงจำนวน 16.14 ล้านต้นให้ทันตามกำหนดที่กรมฯได้ขยายเวลาไว้ให้ ตามหนังสือเลขที่ 0911/5330 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2549 เพื่อไม่ให้เกษตรกรกว่า 20,000 รายในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้องได้รับความเสียหาย ซึ่งผมถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบต่อองค์กร จึงต้องตัดสินใจดำเนินการดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัทฯ ก็มียางชำถุงครบตามจำนวน 16.14 ล้านต้น พร้อมส่งมอบภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ตามที่กรมฯ ยืดระยะเวลาให้ ซึ่งถือเป็นช่วงที่ฝนตกชุกเหมาะสมกับการปลูกยางพารา โดยหากช้าไปกว่านี้เกษตรกรอาจได้รับกล้ายางชำถุงในปลายฤดูฝน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะประสบภาวะแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายได้ ” นายสิทธิโชค กล่าว
อนึ่ง รัฐบาลได้จัดให้มี โครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่ระยะที่ 1 โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นคู่สัญญาและได้เลือกให้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด (ซีพีเอส.) เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิตต้นยางชำถุงจำนวน 90 ล้านต้นเพื่อใช้ในโครงการฯ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 จากนั้นคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายก็ร่วมมือกันด้วยดีมาตลอดระยะเวลาการส่งมอบในปี 2547-2548-2549
หากแต่ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา เกิดความแปรปรวนทางธรรมชาติ ได้แก่ ภัยแล้ง พายุ และน้ำท่วม โดยเฉพาะในปี 2549 มีพายุฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายให้กับโรงเรือนเพาะชำ ส่งผลกระทบต่อการผลิตต้นยางชำถุงของบริษัทฯ รวมทั้งเกษตรกรเองก็เกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย จึงไม่สามารถมารับต้นยางชำถุงได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นเหตุสุดวิสัย จึงทำให้บริษัทฯไม่สามารถส่งมอบต้นยางชำถุงได้ครบ 90 ล้านต้นตามจำนวนที่ระบุในสัญญา
ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ส่งหนังสือลงวันที่ 29 สิงหาคม 2549 เลขที่ CPS 053/2549 ถึงกรมวิชาการเกษตร เพื่อขออนุญาตขยายเวลาส่งมอบในส่วนที่เหลืออันเนื่องจากเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งทางกรมวิชาการเกษตรได้มีหนังสือถึงบริษัทฯ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ให้บริษัทฯส่งมอบส่วนที่เหลือจำนวน 16.14 ล้านต้น ได้ในระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 30 มิถุนายน 2550 เป็นระยะเวลา 2 เดือน
จากหนังสือดังกล่าว บริษัทฯจึงได้ดำเนินการผลิตต้นยางชำถุงมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนกันยายน 2549 เพื่อให้ได้จำนวนครบ 16.14 ล้านต้น และสามารถส่งมอบถึงมือเกษตรกรได้ทันในเวลาที่กำหนด โดยได้มีหนังสือประสานงานกับกรมวิชาการเกษตรมาโดยตลอด แต่ก่อนถึงกำหนดส่งมอบเพียง 10 วัน กรมวิชาการเกษตรก็มีหนังสือลงวันที่ 20 เมษายน 2550 บอกยกเลิกโครงการฯดังกล่าว ทั้งที่ยังไม่หมดเวลาตามที่ได้ขยายไว้ให้กับ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version